ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 3,337

[16.2844429, 98.9325522, ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี
         ซึ่งในปัจจุบัน ประเพณีไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้งก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เนื่องจากประเพณีตำข้าวเหนียวของชาวม้ง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการบอกเล่าที่นิยมทำสืบต่อกันมาตามความเชื่อของคนในชนเผ่าว่า ถ้าทำแล้วจะเกิดสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิต เนื่องจากข้าวเหนียวที่ได้ในประเพณีดังกล่าวจะนำไปไหว้ผีป่า ผีเขาและผีบรรพบุรุษที่ตนเองนับถือ นั้นเอง (Thu Hoa, 2559)

ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นประชากรชาวม้งที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรหรือชนชาวม้งที่อาศัยอยู่ในที่ใดๆ ก็ตาม อาทิ ชาวม้งจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่นิยมทำ “ขนมต้วนหยัว” หรือขนมที่ทำจากการตำข้าวเหนียวจนละเอียดและนำไปปิ้งพร้อมทานกับน้ำผึ้งกลายเป็นขนมหวานเลิศรส ซึ่งรายละเอียดของการทำขนมต้วนหยัวนั้น เหมือนกับประเพณีตำข้าวเหนียวของชาวม้ง เพื่อใช้ในการไหว้บรรพบุรุษ ช่วงเทศกาลปีใหม่นั้นเอง นอกจากชาวม้งในจังหวัดเพชรบูรณ์แล้วนั้น ประเพณี  ตำข้าวเหนียวชาวม้งยังปรากฏในพื้นที่อื่นนอกจากประเทศไทย อาทิ อำเภอเดียนเบียน จังหวัดเดียนเบียน ประเทศเวียดนาม ซึ่งเรียกโจวป่าว่า “ขนมแบ็งใหญ่” นั้นเอง (Thu Hoa, 2557)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตลาดม้ง
         บ้านตลาดม้งเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร อาชีพหลักของประชากรในหมู่บ้านตลาดม้งคือ ปลูกมัน ปลูกข้าวโพด โดยประชากรส่วนมากเป็นชนเผ่าม้งและหมู่บ้านตลาดม้ง มีประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ผู้ศึกษาสนใจศึกษา ค้นคว้า เรื่องประวัติศาสตร์การตำข้าวของชนเผ่าม้ง เพราะอยากทราบว่าประวัติความเป็นมาของการตำข้าว วิธีการทำที่ถูกต้องของชนเผ่าม้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพชนรุ่นหลัง ควรร่วมอนุรักษ์ เนื่องด้วยการตำข้าวของคนในอดีตจนถึงปัจจุบันค่อยๆหายไปทีละอย่างพร้อมกับการจากไปของคนเฒ่า คนแก่ โดยไม่มีการสืบทอดให้คนรุ่นหลัง ทำให้ความรู้ ภูมิปัญญาหายไปตามกาลเวลา (นนทวัฒน์ จิตชัยเจริญกุล, 2561, ธันวาคม 10) 

ประวัติความเป็นมาของการตำข้าว
         การตำข้าวของชนเผ่าม้ง ซึ่งเป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุกๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ประเพณีฉลองปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติ จะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย (เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่างๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้งและหนึ่งในนั้นคือการตำข้าวหรือที่ชาวม้งเรียกว่า “โจวป่า” ซึ่งเป็นการทำขนมเพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ทำการปกปักรักษาครอบครัวมาตลอดปี ขนมโจวป่าทำจากข้าวเหนียวตำอย่างละเอียดและนิ่มเหนียวที่ปั้นเป็นรูปกลมและวางบนใบตอง ขนมโจวป่าเป็นอาหารที่จำเป็นในเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงเวลาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คนทั้งหมู่บ้านจะร่วมกันทำขนมนี้โดยจะนำข้าวเหนียวไปแช่-นึ่ง-ตำ แล้วปั้นเป็นขนม รูปกลม ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องใช้เวลาเป็นวัน “เพื่อให้ขนมโจวป่าหอมและอร่อยก่อนอื่นต้องเลือกข้าวสารให้ดี แช่ไว้ 1 วัน หลังจากนั้นจะนำไปนึ่งประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้สุกนิ่มก่อนตำข้าวเหนียวก็ให้คั่วงาตำก่อน นอกจากนั้นจะเอาไข่แดงที่สุกแล้วบดละเอียดเพื่อใช้ในระหว่างการปั้นขนมไม่ให้ติดมือ ต้องตำข้าวเหนียวตอนร้อนๆจะได้ขนมที่เนียนนิ่มและเหนียวไม่แข็งแห้งหรือมีรอยแตกไม่สวยไม่อร่อย” (สุรศักดิ์ รุ่งคีรี, 2561, ธันวาคม 10) 

ความสำคัญของประเพณีตำข้าวชาวม้ง
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยทั่วไปมักจะจัดงานกันขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกปี ประเพณีตำข้าวเหนียวนี้เกิดขึ้นมาจากการที่ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฏิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฏิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง ฉะนั้นม้งจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเป็นการรักษาให้หายจากโรคเหล่านั้น ซึ่งพิธีกรรมในการรักษาโรคของม้งนั้นมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะรักษาโรคแตกต่างกันออกไป การที่จะทำพิธีกรรม การรักษาได้นั้นต้องดูอาการของผู้ป่วยว่าเป็นเช่นไร แล้วจึงจะเลือกวิธีการรักษา “ดังนั้นการตำข้าวของชนเผ่าม้ง จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกอย่างหนึ่งที่จำทำไว้สำหรับการบูชาบรรพบุรุษ” พิธีเข้ากรรมของม้งนั้นมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษม้งเชื่อกันว่าเคราะห์กรรมมีจริง แต่ม้งนั้นก็จะสามารถหลีกเลี่ยงเคราะห์กรรมนี้ได้โดยการเข้ากรรม
         การเข้ากรรมของชนเผ่าม้ง ก็เหมือนกับการจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปไหนมาไหน ห้ามคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวเข้ามาในบ้าน ห้ามไม่ให้พูดคุยกับคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว ห้ามจับต้องของมีคม ห้ามขับขี่รถทุกชนิดจนกว่าพระอาทิตย์จะตกดิน ถ้าในระหว่างเข้ากรรมอยู่นั้น สมาชิกคนไหนฝ่าฝืนข้อห้าม มักจะเกิดอุบัติเหตุกับคนผู้นั้นหรือบางรายอาจถึงแก่ชีวิต ชนเผ่าม้งจึงถือเรื่องเข้ากรรมกันอย่างเคร่งครัด ถ้าสมาชิกคนใดไม่อยู่บ้าน ออกไปทำงานต่างจังหวัด ที่ไกลๆ คนในบ้านก็จะนำเอาเสื้อผ้าของคนนั้นมามัดไว้ที่เสากลางบ้าน แล้วจะบอกให้คนคนนั้นรับทราบ เพื่อขอหยุดงาน แต่ถ้านายจ้างไม่ให้หยุด คนๆนั้นก็จะเลี่ยงโดยการขอทำอย่างอื่นที่มีอันตรายน้อยที่สุดแทน สำหรับชาวม้งนั้นเชื่อว่า เคราะห์กรรมมีหลายแบบด้วยกันและสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการที่ต่างกันไป เมื่อเจ้าบ้านเกิดอาการไม่สบายใจ หรือฝันเป็นรางร้ายก็จะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดูให้ หากเสี่ยงทายแล้วว่ามีเคราะห์กรรม หมอผีจะเป็นคนบอกเองว่าเราควรแก้ด้วยวิธีการไหนบ้าง
         การเข้ากรรม จะทำพิธีเพื่อสะเดาะเคราะห์ หรืออาจจะปัดเป่าเคราะห์ร้ายให้หลุดพ้นไปจากตัวเองและครอบครัว อีกวิธีหนึ่งส่วนใหญ่ แล้วเจ้าบ้านจะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดู เมื่อหมอผีบอกว่าบ้านไหนมีเคราะห์ หมอผีจะบอกด้วยว่าบ้านนั้นควรจะหยุดอยู่กรรมกี่วัน ส่วนใหญ่ก็จะเข้ากันหนึ่งวัน ถ้าบ้านไหนมีเคราะห์มาก ก็จะเข้ากรรมสองถึงสามวันติดต่อกัน บางครั้งแม้ไม่ได้เสี่ยงทาย แต่หมอผีก็จะมาทักว่าบ้านนั้น บ้านนี่ควรเข้ากรรม บ้านนั้นก็ต้องเข้า หรือบางครั้งหมอผีจะเสียงทายดูแล้วจะบอกว่าวันนี้เดือนนี้ บ้านนี้ต้องเข้ากรรมทั้งตระกูล เช่น ถ้าคนไหนเป็นแซ่ย่าง ถึงวันนั้นทุกคนก็ต้องเข้ากรรมเหมือนกันหมด แต่จะเคร่งไม่เท่ากับการเข้าเป็นครอบครัว นานๆ ครั้งถึงจะมีสักครั้ง ต่างจากการเข้าเป็นครอบครัว เพราะจะเข้าปีละกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะมีเคราะห์กรรมมากหรือน้อย ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเข้าปีละครั้งสองครั้งต่อครอบครัว บางบ้านที่ไม่มีเคราะห์ก็จะไม่เข้ากรรมเลยก็ได้ วิธีการสังเกตว่าม้งมีการเข้ากรรมหรือไม่นั้นสามารถสังเกตได้จากในช่วงเวลานั้นจะมีไม้สานเป็นตาแหลวลักษณะเป็นหกตาเสียบไว้ หรือใบไม้ใบหญ้า ปักไว้ที่หน้าบ้าน และถ้าบ้านไหนเข้ากรรม คนในบ้านนั้นจะไม่ทักทายแขกหรือชักชวนแขกให้เข้าบ้าน บางครั้งเจ้าบ้านจะรีบปิดประตูเพื่อป้องกันไม่ให้แขกเข้าบ้าน    แต่เมื่อตะวันตกดินแล้วบ้านนั้นก็จะสามารถรับแขกได้เหมือนเดิม (เว็บสวัสดีจำกัด มหาชน, บริษัท. 2562) 

อุปกรณ์ในการตำข้าว ชาวม้ง
         อุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวนั้นประกอบไปด้วย 2 ชิ้น
         1. ครกสำหรับตำข้าว
         2. สาก/ไม้สำหรับตำข้าวเหนียว

วัตถุดิบในการตำข้าว
         วัตถุในประเพณีตำข้าวม้ง หรือ โจวป่า วัตถุดิบที่ขาดไม่ได้เลยคือ ข้าวเหนียว เนื่องจากข้าวเหนียวคือวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการประกอบพิธีตำข้าวม้งหรือโจวป่านั้นเอง นอกจากข้าวเหนียวนั้นยังต้องมีไข่แดงต้มและใบตองเพื่อใช้เป็นพาชนะในการห่อ ข้าวตำด้วย
         1. ข้าวเหนียว
         2. ไข่แดงต้ม
         3. ใบตอง

วิธีการตำข้าวเหนียว
         จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้านตลาดม้ง พบว่า กระบวนการวิธีการตำข้าวเหนียวเพื่อใช้ในงานประเพณีนั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อน แต่กลับยังคงรักษา เอกลักษณ์การดำรงชีวิตที่เรียบง่ายของชาวม้งไว้ได้เป็นอย่างดี (คู จันทร, 2562)
         1. นึ่งข้าวเหนียวตามปกติที่เราต้องการ
         2. นำข้าวเหนียวที่นึ่ง (ในขณะที่ยังร้อน เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่ม) ลงในครกที่ใช้ในงานประเพณีตำข้าวเหนียว
         3. ตำข้าวเหนียวในครกด้วยสากหรือไม้สำหรับตำข้าวเหนียวให้ละเอียด (โดยสาก/ไม้และครกนั้นจะต้องเป็นสาก/ไม้และครกที่ใช้สำหรับประเพณีตำข้าวเหนียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ปนกับครกหรือสากที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้)
         4. เมื่อข้าวเหนียวละเอียดแล้ว ชาวม้งจะปั้นข้าวเหนียวให้เป็นก้อนและห่อด้วยใบตองแล้วนำก้อนข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบตองไปไหว้บรรพบุรุษ
         5. เมื่อไหว้บรรพบุรุษเรียบร้อยแล้วจึงนำมาปิ้งเพื่อเก็บไว้บริโภคนานๆ

บทสรุป 
         ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่จัดขึ้นช่วงปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ชาวม้งจะมีข้าวซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรรุ่นแรกใช้เป็นเครื่องเช่นแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ และเป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในชุมชน เนื่องจากประเพณีตำข้าวเหนียวนี้จะตำเพียงปีละครั้งเท่านั้น และเมื่อข้าวเหนียวที่ตำและเซ่นไหว้เสร็จแล้วยังสามารถนำมาห่อใบตองและปิ้งเพื่อเป็นการยืดอายุของอาหารได้อีกด้วย การตำข้าวตามความเชื่อของชนเผ่าม้งหรือที่เรียกว่า ขนมโจวป่า โจวป่า คือ สัญลักษณ์แห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในโลกทำเพื่อไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่คอยปกปักรักษาครอบครัวของตน ซึ่งเมื่อถึงวันฉลองปีใหม่ทุกบ้านจะเตรียมข้าวทำขนมโจวป่าหรือประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เมื่อถึงเวลาตำข้าวเหนียวชาวม้งจะมารวมตัวกันเพื่อช่วยกันตำข้าวเหนียว โดยในการตำข้าวเหนียวนั้นจะชาวม้งจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวเหนียวโดยเฉพาะซึ่งชาวม้งจะถือว่า อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับประเพณีอื่นๆได้ ดังนั้น ใน 1 ปี ชาวม้งจะใช้ครกและสาก/ไม้สำหรับตำข้าวเหนียวเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

คำสำคัญ : ประเพณีตำข้าวเหนียว, ชาวม้ง

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ประเพณีตำข้าวเหนียว_ชาวม้ง_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2115&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2115&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,537

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,014

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,337

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,335

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,522

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญได้แก่ มารยาทการเยี่ยมบ้าน แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 96

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,216

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,057

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,462

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,674