ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,529

[16.2851021, 98.9325625, ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง]

                ปีใหม่เผ่าม้งคลองลานจัดงานประเพณีรื่นเริงโยนลูกช่วง วันที่ 1 ม.ค. ของทุกปีชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริง ที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่งนายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า ประเพณีขึ้นปีใหม่หรือประเพณีฉลองปีใหม่ของชาวม้งคลองลาน เป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุก ๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม สำหรับ ชาวเขาเผ่าม้ง ทั้งชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ จะต้องแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่า ซึ่งต้องเป็นชุดที่ตัดเย็บใหม่ มีการตบแต่งประดับประดาด้วยเครื่องเงิน ที่ทำขึ้นมาจากฝีมือของชาวเขาเอง โดยมีลวดลายจากการคิดและประดิษฐ์โดยช่างที่มีความชำนาญในด้านนี้ นอกจากนั้นยังมีเหรียญเงิน จากเงินตราสกุลต่าง ๆ ที่หาซื้อแลกเปลี่ยนหรือเก็บไว้ นำมาประดับตามเสื้อผ้าที่จะสวมใส่         
                ส่วนกิจกรรมการละเล่นที่บรรดาหนุ่มสาวนิยมเล่นกัน ในเทศกาลปีใหม่ คือการโยนลูกช่วง ซึ่งเป็นการละเล่นที่หนุ่มสาวชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งหน้าตั้งตารอคอยมาหนึ่งปีเต็ม เพราะช่วงเวลานี้หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้เลือกคนที่ถูกใจ ในการที่จะจับคู่โยนลูกช่วงด้วยกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเลือกชายหนุ่มที่พอใจ จากนั้นจะนำลูกช่วงไปให้ เพื่อชวนไปโยนลูกช่วงด้วยกัน ส่วนพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ก็จะมานั่งดูลูกหลานของตนโยนลูกช่วงกัน ซึ่งหนุ่มสาวบางรายในระหว่างที่โยนลูกช่วง ถ้าเกิดพอใจซึ่งกันและกัน หรือรักกัน ก็จะแต่งงานภายหลังสิ้นเทศกาลปีใหม่

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=DB0008&code_type=A001

คำสำคัญ : ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ที่มา : https://www.facebook.com/ChattraPhetchara/posts/349205031929414

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง. สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=156&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=156&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 195

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,217

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,670

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,675

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแล คนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 73

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,537

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 101

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 17,819

ชนเผ่าม้ง : บ้าน

ชนเผ่าม้ง : บ้าน

ม้งจะชอบตั้งบ้านอยู่บนดอยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งม้งบางกลุ่มจะมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ ม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นราบลุ่มเขา และยังมีม้งบางกลุ่มก็ยังคงตั้งรกรากอยู่บนดอย แต่ไม่ลึกเท่าไร การคมนาคมพอที่จะเข้าไปถึงได้ หมู่บ้านม้งจะประกอบด้วยกลุ่มเรือนหลายๆ หย่อมแต่ละหย่อมจะมีบ้านราวๆ 7-8 หลังคาเรือน โดยที่มีเรือนใหญ่ของคนสำคัญอยู่ตรงกลาง ส่วนเรือนที่เป็นเรือนเล็กจะเป็นลูกบ้านหรือลูกหลาน ส่วนแต่ละหย่อมนั้นจะหมายถึงตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติพี่น้องกันนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 291

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,611