ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 3,251

[16.3937889, 98.9529218, ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์]

ดาบรามเพชรรัตน์  อนุสรณ์เจ้ากำแพงเพชร
         พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช)  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
         ในสงครามเก้าทัพนั้น สมรภูมิทางใต้ อย่างหัวเมืองแขกมลายู นั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับหัวเมืองเหนือ โดยเฉพาะรัฐปัตตานี อันเป็นศูนย์กลางอำนาจแห่งหนึ่งในคาบสมุทรมลายู การที่สยามรบชนะยึดเมืองปัตตานีได้ พร้อมชะลอปืนใหญ่อย่างพญาตานี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางการทหารมาไว้ยังกรุงเทพฯ ตามธรรมเนียมการศึกสงครามนั้นก็เหมือนกับที่สยามสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชตีเวียงจันทร์แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนุรีนั่นเอง
          การศึกปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้นมี 3 ครั้ง คือ ศึกใหญ่ในช่วงสงคราม 9 ทัพ ปี พ.ศ. 2328 ศึกปัตตานีครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2334 และศึกปัตตานีครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2351 ซึ่งใน 2 ครั้งหลัง จัดเป็นศึกปราบกบฏ จึงมีคำถามว่า พระยากำแพงเพชรนุช ท่านได้ความดีความชอบจากศึกไหน ??? ซึ่งเราคงต้องสืบค้นกันต่อไป
          ในเอกสารที่บันทึกถึงพระยากำแพงเพชรนุชนั้น มีการกล่าวว่าท่านเป็นก๊กวังหลัง คำว่า ก๊กวังหลัง นั้นตีความหมายได้ค่อนข้างกว้างมาก แต่ไม่น่าจะใช่ขุนนางในกรมพระราชวังหลัง เพราะรัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งหลานขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง ครั้งเมื่อเสร็จศึกสงครามเก้าทัพ และกรมพระราชวังหลังทรงขึ้นไปปราบศึกหัวเมืองเหนือ มิใช่หัวเมืองใต้ อย่างศึกปัตตานี ดังนั้นจึงเหลือเพียงประการเดียว คือพระยากำแพงเพชรนุช ต้องมีความเกี่ยวข้องในระดับเครือญาติ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
#พระยากำแพงเพชรนุช นั้นถึงจะมิได้มีความสำคัญเทียบเท่าเจ้าหัวเมืองเหนืออย่างเชียงใหม่ ลำปาง หรือน่านที่เสมือนเจ้าประเทศราชในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นที่มาของราชสกุล อย่าง ณ เชียงใหม่ ณ ลำปาง หรือ ณ น่าน เป็นต้น
         แต่ตามบันทึกนั้นปรากฏว่าภรรยาของท่านสืบสายโลหิตเจ้าเมืองเชียงแสน และมีเชื้อสายชาวกาวเมืองน่าน ยิ่งเป็นเครื่องช่วยยืนยันถึงโอกาสที่พระยากำแพงเพชรนุช จะเป็นหนึ่งในพระประยูรญาติหรือเป็นเครือญาติที่เกี่ยวพันกับรัชกาลที่ 1 มากยิ่งขึ้นอีกประการหนึ่ง และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลูกหลานของพระยากำแพงเพชรนุช ได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชรกันมาอีกหลายรุ่นเกือบ 100 ปี จึงเปลี่ยนเจ้าเมืองเป็นคนจากสกุลอื่นแทนในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5

คำสำคัญ : ดาบ, พระแสงราชศัสตรา

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1413.0/wap2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์. สืบค้น 17 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1333

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1333&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,371

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,437

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,008

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,215

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,132

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,221

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,486

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 15,060

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,651

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 905