พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้ชม 6,112

[12.5694744, 94.9625749, พระแสงราชศัสตรา]

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

หลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้ถวายพระแสงราชศัสตรา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย(หวล) บุตรพระยากำแพงเพชร (อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำแมืองกำแพงเพชร โดยพระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกําแพงเพชร เป็นผู้รับพระราชทาน นับเป็นความโชคดีของชาวกำแพงเพชร รวมถึงทายาทพระยากำแพงเพชรตลอดจนชาวไทยทุกคนที่ เรื่องราวของพระแสงราชศัสตราองค์นี้มีการบันทึกไว้อย่างดีในพระนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น”ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้

ฯลฯ “ วันที่ ๒๖ หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก ๒ โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของ ให้ผู้ที่มาเลี้ยงดูและรับผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือ เมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง(นาค) ซึ่งเป็นสามีแพง บุตรีพระยากำแพง(นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่มา ๔ คน คือพระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน)พระยากำแพง(น้อย)พระยากำแพง(เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อๆกันมา ครั้งพระยากำแพง(เกิด)ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง(เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง อ้นถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร ยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้เป็นพระแสงสำหรับเมือง ให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ ๙๓ ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉอศก จุลศักราช ๑๑๗๖ ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา ๒ คนคือผึ้ง ซึ่งเป็นภรรยาพระพล(เหลี่ยม) อายุ ๗๓ ปี ลูกคนสุดชื่อ ภู่ เคยไปทำราชการรในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรง์(หรุ่น)อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ ๔๖ ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธ อายุ ๔๔ ปี ฯลฯ

ลักษณะของพระแสงของเมืองกำแพงเพชรองค์นี้ น้อยคนนักที่จะได้เห็นของจริง ลักษณะจะมีความยาว ๘๘.๕ ซ.ม. มีด้ามเป็นเป็นทองคำยาวถึง ๓๙.๕ ซ.ม ตัวฝากทำด้วยไม้เนื้อหอม ไม่ทราบว่าเป็นไม้อะไร แต่คุณสมชาย ตติยวัฒนสิริ นายช่างประณีตศิลป(พิเศษเฉพาะตัว) ผู้อนุรักษ์กล่าวว่าเป็นเนื้อไม้พิเศษเพราะมีน้ำหนักเบามากและมีกลิ่นหอม หุ้มฝักไม้หอมด้วยทองคำ ตัวฝักยาว ๔๙ ซ.ม.

นับเป็นบุญของผู้เขียนที่ได้รับเชิญจากทางจังหวัดกำแพงเพชรให้โอกาสเข้าร่วมตรวจรับพระแสงราชศัสตราที่ได้นำส่งให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การอนุรักษ์ซ่อมพระแสงฯแล้วเสร็จในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเดิมกำหนดให้เสร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อการเฉลิมฉลอง ระหว่างวันที่ ๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ กำหนดการสมโภชจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ ๒๙-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้เขียนและคณะส่วนหนึ่งของกรรมการชมรมทายาทพระยากำแพงเพชร ได้เดินทางไปถึงสำนักช่างสิบหมู่โดยมี นายธนชัย สุวรรณวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ นายธนิตย์ แก้วนิยม หัวหน้ากลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์ พร้อมด้วยนายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ นายช่างประณีศิลป ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น หลังจากนั้นคณะข้าราชการจากจังหวัดฯนำโดย นางสาวจารุวัตย์ ศีลพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายรุ่งชัย แพศย์ศกล คลังจังหวัด นางสาวอัจฉรา อ่อนจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัด นายสมัย เชื้อทอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร และนายมโน กลีบทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเจ้าหน้าที่ติดตามพร้อมทั้งสื่อมวลชน เดินทางมาถึงเข้าร่วมประชุมเพื่อการตรวจสอบ สภานภาพของพระแสงราชศัสตรา
เมื่อคณะทั้งหมดได้มาถึงห้องประชุมแล้ว นายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ ได้รายงานความเป็นมาและผลการบูรณะพระแสงราชศัสตราอย่างละเอียด ตามที่ผู้เขียนได้จัดไว้ในส่วนของการบูรณะพระแสงราชศัสตราฯแล้ว

 สำหรับประวัติความเป็นมาของพระแสงราชศัสตราองค์นี้ มีความแตกต่างจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองอื่น ๆ ดังได้กล่าวว่าเป็น “หนึ่งในสยาม” ด้วยความแตกต่างที่โดดเด่น คือ 
๑ ) มิใช่ดาบที่สร้างไว้เพื่อพระราชทานโดยตรงแต่เป็นถึงดาบประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ โดยจะทรงเหน็บไว้ข้างพระวรกายขณะออกศึกทุกครั้ง เพื่อใช้ฟันหรือแทงในยามที่ข้าศึกเข้ามา ประชิดตัว 
๒ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา หนึ่งเดียวที่มีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาให้เป็นประวัติศาสตร์ที่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา จากพระนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นบันทึกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน
๓ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระมหาราชโดยตรงถึง ๓ พระองค์ คือ
• พระแสงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชทานให้แด่ พระยารามรณรงค์สงคราม ฯ (นุช) 
• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว-พระปิยะมหาราช ทรงรับพระแสงราชศัสตราองค์นี้จาก หลวงพิพิธอภัย (หวล) และทรงพิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้วมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระแสงดาบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจริง และได้พระราชทานพระแสงดาบองค์นี้ คืนให้จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการพระราชพิธีสำหรับเมือง โดยพระยาวชิรปราการ ในขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการเป็นผู้รับพระราชทาน ดังนั้น นับว่าเป็นเพียง ๑ เดียวที่เป็นทั้งพระแสงดาบประจำพระองค์และเป็นพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัด 
• พระมหาราชพระองค์ที่ ๓ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวะภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะซ่อมพระแสงราชศัสตราองค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
ลักษณะของดาบก็ยังมิใช่ดาบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีอีกด้วย ปัจจุบันพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ คลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผวจ. กำแพงเพชร ได้อัญเชิญพระแสงราชศัสตรา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการ และวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ พิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศาลากลาง จ. กำแพงเพชร และในวันที่ ๒๙ ถึง ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ได้ถือโอกาส อันเป็นปีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช จึงจัดให้มีการสมโภชพระแสงราชศัสตราขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีของพระแสงราชศัสตรา ทองคำ สมบัติล้ำค่าองค์นี้อย่างใกล้ชิด 

คำสำคัญ : พระแสงราชศัสตรา

ที่มา : https://www.facebook.com/193823697384574/posts/531644820269125/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระแสงราชศัสตรา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1133&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1133&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,517

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,603

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,486

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,852

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,835

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 959

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,879

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,653

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,579

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,433