กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,770

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์]

           การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก 
           การสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมายตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีรกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพล ลงไปสร้างเมืองละโว้ได้ 19 ปี เมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1011 พรรษา จุลศักราชได้ 10 ปีระกาสัมฤทธิศก แล้วพระยากาฬวรรณดิศราช ให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง แลขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ แลเมืองอเส เมืองโกสัมพี แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว จากพงศาวดารเหนือ และประวัติเมืองตาก ทำให้เราสามารถประมวลได้ว่าเมืองโกสัมพีนคร น่าจะสร้างราว พ.ศ. 1011 โดยพระยากาฬวรรณดิศ เจ้าเมืองตาก ได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นสี่เมือง มีนครโกสัมพีด้วย หลังจากนั้นได้ทิ้งเมืองตากให้ร้าง และเสด็จไปสร้างเมืองละโว้ และครองละโว้ พระราชธิดาคือนางจามเทวี ได้เสด็จตามลำน้ำปิง ทำสงครามกับเจ้าชายแห่งโกสัมพี เป็นศึกแห่งความรัก และเจ้าชายโกสัมพี สิ้นพระชนม์ที่วังเจ้า พระนางได้บูรณะ เมืองตากขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วจึงเสด็จไปครองเมืองหริกุญชัย (ลำพูน)  
          เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่าเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหินในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นเมืองโกสัมพี ในยุคทวาราวดี และ กลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศกัราช 1800 และร้างมานาน กว่า 700 ปี เมื่อไปสำรวจ จึงไม่พบ สิ่งก่อสร้างใดๆ เลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ อาจจะเป็นหลักเมืองของเมืองโกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบันยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูปวงรีคล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดินและคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมีคลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษา                     
          ปัจจุบันสภาพเมืองโกสัมพี จึงรกร้างขาดผู้ดูแล ครั้งในอดีตเคยเป็นป่าช้า ประจำตำบล โกสัมพี มีเรื่องเล่าที่พิสดารมากมาย จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เช่นเล่าว่าเป็นเมืองลับแล เมืองอาถรรพณ์ ทำให้น่าสนใจยิ่งนัก นครโกสัมพีเป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่สมควรได้รับการขุดแต่ง และหาหลักฐานให้กระจ่าง ผู้คนอายุต่ำกว่าหกสิบปี ในบริเวณเมืองเก่าโกสัมพีนี้ ต่างไม่ทราบประวัตินครโกสัมพีแล้ว นับว่าเป็นเรื่องเศร้านัก ฝากกรมศิลปากร ได้มาศึกษานครโกสัมพีอีกครั้ง ก่อนที่หลักฐานทั้งหมดจะหายไป
          เมืองรอ หลักฐานตามพงศาวดารเหนือมีในความว่า พระมหาพุทธสาครเป็นเชื้อสายมา ได้เสวยราชสมบัติอยู่ริม เกาะหนองโสน ที่วัดเดิมกันมีพระมหาเถร ไสยลายองค์หนึ่งเป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพได้พระบรมธาตุ 650 พระองค์ กับพระศรีมหาโพธิสองต้น จากเมืองลังกาได้พาพระมหาสาครไปเมืองสาวัตถี ถ่ายเอาอย่างวัดเชตวนาราม มาสร้างไว้ต่อเมืองรอ แขวงบางทานนอก เมืองกำแพงเพชร ชื่อวัดสังฆคณาวาศ แล้วเอาพระศรีมหาโพธิใส่อ่างทองคำมาปลูกไว้ริมหนองนา กะเล นอกวัดเสมาปากน้ำแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย 36 พระองค์ จึงให้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาโพธิ  แสดงว่า เรื่องเมืองรอ มีเค้าความจริงอยู่ เราจึงลงมือสำรวจเมืองรอ โดยมีแผนที่วังลอ ของเทศบาลตำบลพรานกระต่ายเป็นแผนที่นำทางมีอาจารย์นิรันดร์ กระต่ายทองและคณะ ประกอบด้วย นายเสน่ห์ หมีพรพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้านวังลอ นายปั่ง ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายสว่าง สร้อยพะยอม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางปิ่น กระต่ายทอง ผู้อาศัยวังลอมาช้า โดยนัดกันที่บ้านอาจารย์ นิรันดร์ กระต่ายทอง วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 น. หลังจากประชุมหาข้อมูลกันประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือสำรวจ โดยการนไของผู้นำทางข้างต้นและมีผู้ติดตามไปอีกเกือบ 20 คน สำหรับสายน้ำวังรอ ซึ่งมีความน่าจะเป็นคูเมืองรอในอดีต ปัจจุบันได้ถมทำถนนไปกว่าร้อยละ 80 เปิดเป็นแนวคูเมืองให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ภายในเขตเมืองรอที่คณะของเราค้นหาเต็มไปด้วยเตาถลุงเหล็ก อย่างมากมาย อาจเป็นเพราะว่าเมืองรอนี้น่าจะสร้างราวปีพุทธศักราช 1600 มีพระมหากษัตริย์ ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ คือ พระมหาพุทธสาคร ที่นำพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานในเมืองรอ ตามข้อความจากพงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์ในสมัยอโยธยา เริ่มตั้งแต่จุลศกัราช 501 ตรงกับพ.ศ. 1682 มีรายพระนามดังต่อไปนี้ 
          1. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ ์ปฐมกษัตริย์
          2. พระเจ้าอินทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
          3. พระเจ้าจันทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์
          4. พระร่วง โอรสพระจันทราชา    
          5. พระเจ้าลือ อนุชาพระเจ้าร่วง
          6. พระมหาพุทธสาคร เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น 
          7. พระยาโคตรบอง โอรสพระมหาพุทธสาคร 
          8. พระยาแกรก พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่ 
          9. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
         10. พระยาธรรมิกราช โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง   
          เราไปพบวัดที่อาจเชื่อได้ว่า คือ วัดสังฆคณาวาศ ในเมืองรอปัจจุบันมีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดร้างมีหลักฐานอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญที่วัดโพธาราม มีต้นโพธ์ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นต้นโพธ์ที่พระมหาพุทธสาคร เจ้าแห่งเมืองบางพาน นำมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองรอ แห่งนี้อาจจะเป็นไปได้ จากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาที่น คณะของเรามาชมเมืองรอแห่งนี้ 
          เมื่อถามว่า วังลอแห่งนี้ ใช่เมืองรอ ในอดีตหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ต้อง ค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป เมื่อมีหลักฐานแน่นอน เราจึงฟันธง ได้ว่าวังลอในปัจจุบัน คือ เมืองรอในอดีต ขอบคุณประชาชนชาววังลอ ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้อย่างดียิ่ง เราเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของเมืองรอ ว่าคือ วังลอ ในปัจจุบันที่เทศบาลตำบลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาจเป็นการเริ่มต้นสำรวจอย่างจริงจังต่อไป

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1289

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,838

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,396

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,785

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,418

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,645

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,423

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,250

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,424

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 934

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,532