กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 3,569

[16.3937891, 98.9529695, กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี]

         ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
         ผู้เขียนได้สืบค้นถึงกษัตริย์ที่มีความสำคัญเข้ามาครอบครองเมืองต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี ตามหลักฐานพบว่ามีกษัตริย์เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรแล้ว 3  พระองค ์(ที่จริงแล้วควรมีมากกว่านี้) ได้แก่ พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน พระเจ้าสุริยราชา และพระเจ้าจันทราชา  
         1. พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน ผู้สถาปนาเมืองกำแพงเพชร พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน จากตำนานเมืองเชียงแสน ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 105-107 และจากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับเดียวกัน หน้า 489-491 กล่าวข้อความที่ตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหม (ซึ่งเคยไล่ปราบขอมจากเมืองโยนกถึงเมืองกำแพงเพชร) และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเมืองไชยปราการ (ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณ อยู่ระหว่างเชียงรายกับแม่น้ำโขง) ครอบครองเมืองไชยปราการได้ 11 พรรษา ถูกกองทัพของพม่าจาก เมืองสเทิมเข้ามารุกราน ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ พระเจ้าไชยศิริทรงให้โหรตรวจดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาด พระเจ้าไชยศิริทรงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการแล้วหลบหนีออกมาพร้อม กับทหารและ ครอบครัวราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 1 ค่ำ จุลศกัราช 366  (พ.ศ. 1547) ปีมะเส็ง มาถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วพักพลได้ 3 คืน พอถึงวันอังคาร เดือน 9 แรม 4 ค่า จุลศกัราช 366 (พ.ศ.1547) ปีมะเส็ง ได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชรและมีพระนามว่า “พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน”   จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าพระเจ้าไชยศิริเชียงแสนสร้างเมืองไตรตรึงษ์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมือง หลังจากที่สถาปนาเมืองกำแพงเพชรแล้ว
          2. พระเจ้าสุริยราชา พระอัยกา (ปู่) ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ พระเจ้าสุริยราชา จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 177  กล่าวว่า ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริวงษ์ ได้เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 536 (พ.ศ. 1717)  มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าศิริสุทาราชเทวีมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจันทกุมาร ครองราชย์เมืองกำแพงเพชรได้ 28 พรรษาสิ้นพระชนม์เมื่อจุลศกัราช 564 (พ.ศ.1745)
          นอกจากนี้แล้ว เรื่อง ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณของกรมศิลปากร ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” หนา้ 180 ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุริยราชาที่ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครพิจิตรนั้น เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” เล่มเดียวกันนี้ ผู้เขียนได้ตรวจชื่อเมืองที่หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้พบในหน้า 11 มีหลายชื่อ ได้แก่ พิจิตปราการ วิเชียรปราการ ในหนา้ 180 เรียกว่า พระนครพิจิต และพระนครวิเชียรปราการ จากข้อความที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร ได้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ขึ้นครองราชย์เมื่อจุลศักราช 536 (พ.ศ. 1717) ครองราชย์ได้ 28 พรรษา ก็สิ้นพระชนม์เมื่อ จุลศกัราช 564 (พ.ศ. 1745)
         3. พระเจา้จนัทราชา พระชนก(พ่อ)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 177-181 เป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 570 (พ.ศ. 1751) ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทรงท่องเที่ยวไปพร้อมทหาร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านแห่งหนึ่ง  สาวงามนั้นไม่ยอมที่จะไปอยู่กับพระเจ้าจันทราชาในวัง จึงต้องจากกัน ต่อมาสาวนั้นตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาเป็นชายแล้วทิ้งไว้ในป่าอ้อย ตายายเจ้าของไร่อ้อยมาพบได้นไปเลี้ยงไว้ เมื่อมีอายรุาว 15 ปี  มีรูปร่างที่สง่างาม และมีอานุภาพมาก จะออกปากสั่งสิ่งใดนั้นย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น ตาและยายมีความรักบุตรบุญธรรมเป็นอย่างมาก และได้ตั้งชื่อว่า “พระร่วง”            
           พระเจ้าจันทราชาทรงทราบ จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตายาย พร้อมทั้งพระร่วงเข้าเฝ้า ตายายทั้งสองจึงกราบบังคมทูลให้ทราบความตามเหตุผลที่ได้กุมารนั้นมา พระเจ้าจันทราชาทรงฟังดังนั้นทรงเชื่อแน่ว่าเป็นโอรสของพระองค์เองที่ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านที่ผ่านมา จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสในพระราชวัง
            พระเจ้าจันทราชาได้ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปอยู่สุโขทัย ในช่วงนั้นขอมแผ่ขยายอำนาจมาถึงกรุงสุโขทัย พระเจ้าจันทราชาทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส (พระร่วง) ยกกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพเขมร ฝ่ายกองทัพเขมรสู้ไม่ได้จึงต้องยกทัพถอยกลับไป
           พระเจ้าจันทราชาได้สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อพ.ศ. 1781 จากหนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า 180  ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทราชาอย่างสั้นๆ ไว้ว่า “พระมหากษัติย์ท์ี่สร้างพระนครวิเชียรปราการ (คือเมืองกำแพงเพชร) เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชร”  “พระมหากษัตริย์สร้างพระนครสวรรคโลก พระมเหสีเป็นนาค พระราชโอรสคือพระร่วง”       
            จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า พระเจ้าจันทราชาเป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ก่อนขึ้นครองราชย์ เมืองกำแพงเพชร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้าน (มักเรียกว่านางนาค) แล้วมีบุตรชายชื่อพระร่วง  พระเจ้าจันทราชาเชื่อว่าเป็นโอรสของพระองศ์จึงนำไปอยุ่ในวัง หลังจากขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรแล้ว ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปสุโขทัย ได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ด้วย

คำสำคัญ : กษัตริย์เมืองกำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1288

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1288&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,197

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,138

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,399

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,629

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,237

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,740

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,071

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 947

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,569

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,708