กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 4,674
[16.3937891, 98.9529695, กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี]
ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
ผู้เขียนได้สืบค้นถึงกษัตริย์ที่มีความสำคัญเข้ามาครอบครองเมืองต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี ตามหลักฐานพบว่ามีกษัตริย์เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรแล้ว 3 พระองค ์(ที่จริงแล้วควรมีมากกว่านี้) ได้แก่ พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน พระเจ้าสุริยราชา และพระเจ้าจันทราชา
1. พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน ผู้สถาปนาเมืองกำแพงเพชร พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน จากตำนานเมืองเชียงแสน ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 105-107 และจากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับเดียวกัน หน้า 489-491 กล่าวข้อความที่ตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหม (ซึ่งเคยไล่ปราบขอมจากเมืองโยนกถึงเมืองกำแพงเพชร) และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเมืองไชยปราการ (ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณ อยู่ระหว่างเชียงรายกับแม่น้ำโขง) ครอบครองเมืองไชยปราการได้ 11 พรรษา ถูกกองทัพของพม่าจาก เมืองสเทิมเข้ามารุกราน ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ พระเจ้าไชยศิริทรงให้โหรตรวจดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาด พระเจ้าไชยศิริทรงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการแล้วหลบหนีออกมาพร้อม กับทหารและ ครอบครัวราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 1 ค่ำ จุลศกัราช 366 (พ.ศ. 1547) ปีมะเส็ง มาถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วพักพลได้ 3 คืน พอถึงวันอังคาร เดือน 9 แรม 4 ค่า จุลศกัราช 366 (พ.ศ.1547) ปีมะเส็ง ได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชรและมีพระนามว่า “พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน” จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าพระเจ้าไชยศิริเชียงแสนสร้างเมืองไตรตรึงษ์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมือง หลังจากที่สถาปนาเมืองกำแพงเพชรแล้ว
2. พระเจ้าสุริยราชา พระอัยกา (ปู่) ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ พระเจ้าสุริยราชา จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 177 กล่าวว่า ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริวงษ์ ได้เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 536 (พ.ศ. 1717) มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าศิริสุทาราชเทวีมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจันทกุมาร ครองราชย์เมืองกำแพงเพชรได้ 28 พรรษาสิ้นพระชนม์เมื่อจุลศกัราช 564 (พ.ศ.1745)
นอกจากนี้แล้ว เรื่อง ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณของกรมศิลปากร ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” หนา้ 180 ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุริยราชาที่ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครพิจิตรนั้น เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” เล่มเดียวกันนี้ ผู้เขียนได้ตรวจชื่อเมืองที่หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้พบในหน้า 11 มีหลายชื่อ ได้แก่ พิจิตปราการ วิเชียรปราการ ในหนา้ 180 เรียกว่า พระนครพิจิต และพระนครวิเชียรปราการ จากข้อความที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร ได้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ขึ้นครองราชย์เมื่อจุลศักราช 536 (พ.ศ. 1717) ครองราชย์ได้ 28 พรรษา ก็สิ้นพระชนม์เมื่อ จุลศกัราช 564 (พ.ศ. 1745)
3. พระเจา้จนัทราชา พระชนก(พ่อ)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 177-181 เป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 570 (พ.ศ. 1751) ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทรงท่องเที่ยวไปพร้อมทหาร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านแห่งหนึ่ง สาวงามนั้นไม่ยอมที่จะไปอยู่กับพระเจ้าจันทราชาในวัง จึงต้องจากกัน ต่อมาสาวนั้นตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาเป็นชายแล้วทิ้งไว้ในป่าอ้อย ตายายเจ้าของไร่อ้อยมาพบได้นไปเลี้ยงไว้ เมื่อมีอายรุาว 15 ปี มีรูปร่างที่สง่างาม และมีอานุภาพมาก จะออกปากสั่งสิ่งใดนั้นย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น ตาและยายมีความรักบุตรบุญธรรมเป็นอย่างมาก และได้ตั้งชื่อว่า “พระร่วง”
พระเจ้าจันทราชาทรงทราบ จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตายาย พร้อมทั้งพระร่วงเข้าเฝ้า ตายายทั้งสองจึงกราบบังคมทูลให้ทราบความตามเหตุผลที่ได้กุมารนั้นมา พระเจ้าจันทราชาทรงฟังดังนั้นทรงเชื่อแน่ว่าเป็นโอรสของพระองค์เองที่ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านที่ผ่านมา จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสในพระราชวัง
พระเจ้าจันทราชาได้ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปอยู่สุโขทัย ในช่วงนั้นขอมแผ่ขยายอำนาจมาถึงกรุงสุโขทัย พระเจ้าจันทราชาทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส (พระร่วง) ยกกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพเขมร ฝ่ายกองทัพเขมรสู้ไม่ได้จึงต้องยกทัพถอยกลับไป
พระเจ้าจันทราชาได้สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อพ.ศ. 1781 จากหนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า 180 ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทราชาอย่างสั้นๆ ไว้ว่า “พระมหากษัติย์ท์ี่สร้างพระนครวิเชียรปราการ (คือเมืองกำแพงเพชร) เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชร” “พระมหากษัตริย์สร้างพระนครสวรรคโลก พระมเหสีเป็นนาค พระราชโอรสคือพระร่วง”
จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า พระเจ้าจันทราชาเป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ก่อนขึ้นครองราชย์ เมืองกำแพงเพชร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้าน (มักเรียกว่านางนาค) แล้วมีบุตรชายชื่อพระร่วง พระเจ้าจันทราชาเชื่อว่าเป็นโอรสของพระองศ์จึงนำไปอยุ่ในวัง หลังจากขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรแล้ว ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปสุโขทัย ได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ด้วย
คำสำคัญ : กษัตริย์เมืองกำแพงเพชร
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี. สืบค้น 22 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1288&code_db=610001&code_type=01
Google search
ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,420
ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,162
การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก)
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,128
ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,971
ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,736
เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,609
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,869
เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,206
ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,779
เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,780