พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้ชม 6,072

[12.5694744, 94.9625749, พระแสงราชศัสตรา]

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

หลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้ถวายพระแสงราชศัสตรา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย(หวล) บุตรพระยากำแพงเพชร (อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำแมืองกำแพงเพชร โดยพระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกําแพงเพชร เป็นผู้รับพระราชทาน นับเป็นความโชคดีของชาวกำแพงเพชร รวมถึงทายาทพระยากำแพงเพชรตลอดจนชาวไทยทุกคนที่ เรื่องราวของพระแสงราชศัสตราองค์นี้มีการบันทึกไว้อย่างดีในพระนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น”ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้

ฯลฯ “ วันที่ ๒๖ หมายจะยังไม่ตื่นแต่หมาเข้าไปปลุก ๒ โมงเศษกินข้าวแล้วออกไปแจกของ ให้ผู้ที่มาเลี้ยงดูและรับผู้หญิงผู้ชาย หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าพระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือ เมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาแก่พระยากำแพง(นาค) ซึ่งเป็นสามีแพง บุตรีพระยากำแพง(นุช) และแพงภรรยาได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองกำแพงต่มา ๔ คน คือพระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน)พระยากำแพง(น้อย)พระยากำแพง(เกิด) ได้รับดาบเล่มนี้ต่อๆกันมา ครั้งพระยากำแพง(เกิด)ถึงอนิจกรรม ผู้อื่นนอกจากตระกูลนี้มาเป็นพระยากำแพงหลายคน ดาบตกอยู่แก่นายอ้นบุตรพระยากำแพง(เกิด) ซึ่งเป็นบิดาหลวงพิพิธอภัย ภายหลังนายอ้นได้เป็นพระยากำแพง ครั้นพระยากำแพง อ้นถึงแก่กรรม ดาบจึงตกอยู่กับหลวงพิพิธอภัยบุตรผู้นำมาให้นี้ พิเคราะห์ดูก็เห็นจะเป็นดาบพระราชทานจริง เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร ยังไม่มีพระแสงสำหรับเมืองเช่นแควใหญ่ ไม่ได้เตรียมมา จึงได้มอบดาบเล่มนี้เป็นพระแสงสำหรับเมือง ให้ผู้ว่าราชการรักษาไว้สำหรับใช้ในการพระราชพิธี แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มาหาตั้งต้นคือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ ๙๓ ปีจอ เห็นจะเป็นปีจอ ฉอศก จุลศักราช ๑๑๗๖ ยังสบายแจ่มใส พูดจาไม่หลง เดินได้เป็นต้น กับลูกที่มา ๒ คนคือผึ้ง ซึ่งเป็นภรรยาพระพล(เหลี่ยม) อายุ ๗๓ ปี ลูกคนสุดชื่อ ภู่ เคยไปทำราชการรในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ แล้วมาเป็นภรรยาพระยารามรณรง์(หรุ่น)อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ ๔๖ ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธ อายุ ๔๔ ปี ฯลฯ

ลักษณะของพระแสงของเมืองกำแพงเพชรองค์นี้ น้อยคนนักที่จะได้เห็นของจริง ลักษณะจะมีความยาว ๘๘.๕ ซ.ม. มีด้ามเป็นเป็นทองคำยาวถึง ๓๙.๕ ซ.ม ตัวฝากทำด้วยไม้เนื้อหอม ไม่ทราบว่าเป็นไม้อะไร แต่คุณสมชาย ตติยวัฒนสิริ นายช่างประณีตศิลป(พิเศษเฉพาะตัว) ผู้อนุรักษ์กล่าวว่าเป็นเนื้อไม้พิเศษเพราะมีน้ำหนักเบามากและมีกลิ่นหอม หุ้มฝักไม้หอมด้วยทองคำ ตัวฝักยาว ๔๙ ซ.ม.

นับเป็นบุญของผู้เขียนที่ได้รับเชิญจากทางจังหวัดกำแพงเพชรให้โอกาสเข้าร่วมตรวจรับพระแสงราชศัสตราที่ได้นำส่งให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การอนุรักษ์ซ่อมพระแสงฯแล้วเสร็จในวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเดิมกำหนดให้เสร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อการเฉลิมฉลอง ระหว่างวันที่ ๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ กำหนดการสมโภชจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ ๒๙-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผู้เขียนและคณะส่วนหนึ่งของกรรมการชมรมทายาทพระยากำแพงเพชร ได้เดินทางไปถึงสำนักช่างสิบหมู่โดยมี นายธนชัย สุวรรณวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ นายธนิตย์ แก้วนิยม หัวหน้ากลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์ พร้อมด้วยนายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ นายช่างประณีศิลป ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น หลังจากนั้นคณะข้าราชการจากจังหวัดฯนำโดย นางสาวจารุวัตย์ ศีลพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายรุ่งชัย แพศย์ศกล คลังจังหวัด นางสาวอัจฉรา อ่อนจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัด นายสมัย เชื้อทอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร และนายมโน กลีบทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเจ้าหน้าที่ติดตามพร้อมทั้งสื่อมวลชน เดินทางมาถึงเข้าร่วมประชุมเพื่อการตรวจสอบ สภานภาพของพระแสงราชศัสตรา
เมื่อคณะทั้งหมดได้มาถึงห้องประชุมแล้ว นายยงยุทธ วรรณโกวิทย์ ได้รายงานความเป็นมาและผลการบูรณะพระแสงราชศัสตราอย่างละเอียด ตามที่ผู้เขียนได้จัดไว้ในส่วนของการบูรณะพระแสงราชศัสตราฯแล้ว

 สำหรับประวัติความเป็นมาของพระแสงราชศัสตราองค์นี้ มีความแตกต่างจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองอื่น ๆ ดังได้กล่าวว่าเป็น “หนึ่งในสยาม” ด้วยความแตกต่างที่โดดเด่น คือ 
๑ ) มิใช่ดาบที่สร้างไว้เพื่อพระราชทานโดยตรงแต่เป็นถึงดาบประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ โดยจะทรงเหน็บไว้ข้างพระวรกายขณะออกศึกทุกครั้ง เพื่อใช้ฟันหรือแทงในยามที่ข้าศึกเข้ามา ประชิดตัว 
๒ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา หนึ่งเดียวที่มีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาให้เป็นประวัติศาสตร์ที่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา จากพระนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสต้น ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นบันทึกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน
๓ ) เป็นพระแสงราชศัสตรา ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระมหาราชโดยตรงถึง ๓ พระองค์ คือ
• พระแสงนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชทานให้แด่ พระยารามรณรงค์สงคราม ฯ (นุช) 
• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว-พระปิยะมหาราช ทรงรับพระแสงราชศัสตราองค์นี้จาก หลวงพิพิธอภัย (หวล) และทรงพิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้วมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นพระแสงดาบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจริง และได้พระราชทานพระแสงดาบองค์นี้ คืนให้จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการพระราชพิธีสำหรับเมือง โดยพระยาวชิรปราการ ในขณะนั้นเป็นผู้ว่าราชการเป็นผู้รับพระราชทาน ดังนั้น นับว่าเป็นเพียง ๑ เดียวที่เป็นทั้งพระแสงดาบประจำพระองค์และเป็นพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัด 
• พระมหาราชพระองค์ที่ ๓ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวะภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะซ่อมพระแสงราชศัสตราองค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
ลักษณะของดาบก็ยังมิใช่ดาบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีอีกด้วย ปัจจุบันพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ คลังจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายกฤช อาทิตย์แก้ว ผวจ. กำแพงเพชร ได้อัญเชิญพระแสงราชศัสตรา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการ และวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ พิธีถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมศาลากลาง จ. กำแพงเพชร และในวันที่ ๒๙ ถึง ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทางจังหวัดโดยนายวิทยา ผิวผ่อง ได้ถือโอกาส อันเป็นปีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช จึงจัดให้มีการสมโภชพระแสงราชศัสตราขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีของพระแสงราชศัสตรา ทองคำ สมบัติล้ำค่าองค์นี้อย่างใกล้ชิด 

คำสำคัญ : พระแสงราชศัสตรา

ที่มา : https://www.facebook.com/193823697384574/posts/531644820269125/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระแสงราชศัสตรา. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1133

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1133&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,353

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 722

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,740

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,523

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,572

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,853

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,241

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,427

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,454

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,591