บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,451

[16.3937891, 98.9529695, บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด]

           เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า) ทางใต้ไหม้ไปสิ้นสุดบริเวณตลาดสดเย็น เรียกกันว่าตลาดสดไฟไหม้ ทางเหนือริมฝั่งน้ำปิงไหม้ไปถึงบ้านนายระไว ร้านซ่อมจักยานหน้าวัดเสด็จ ส่วนฝั่งเดียวกับบ้านต้นเพลิง คือด้านริมแม่น้ำปิง ทางใต้ไฟไหม้จากบ้านต้นเพลิงถึงร้านขายก๋วยเตี๋ยวยายพยุง (ร้านก๋วยเตี๋ยวถั่วฝักยาวด้านใต้ตลาดไนท์ปัจจุบัน) ซึ่งไม่มีบ้านผู้คนมาก (ปัจจุบันคงเหลือร้านตัดผมห้องแถวไม้ไว้เป็นที่ระลึก) เพราะเป็นริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศเหนือ ไฟไหม้จากบ้านฝั่งตรงข้ามต้นเพลิงขึ้นไปจนถึงรั้ววัดเสด็จ ประชาชนอลหม่านมาก ส่วนใหญ่ขนของลงไปหาดทราย บางรายลูกไฟตามไปไหม้อีก
            ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิงด้านใต้ ที่ถูกไฟไหม้ ได้แก่ ร้านยายพยุง ขายก๋วยเตี๋ยว บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์ (ลูกแม่นางจำนง ชูพินิจ ร้านเจ็กหงัง เจ๊ไฮ ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนายบุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน บ้านครูศรีสวัสดิ์ ม่วงผล ร้านเจ๊กฮ้อ ขายบะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่ ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วย ห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยาเจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่ากับยายเชย สกุล สุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนกของใช้ปีบใส่ของที่รับจำนำ บ้านยายแก่ขายกล้วยไข่สุก ใช้ตอกมักกล้วยเป็นมัด ๆ ยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง อมละ 10 สตางค์ และกล้วยมัน (ประมาณปี 2490) ถัดไปบ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาลวุ้น) ขายห้องแถวเป็นโรงแรมของอาโต้เจ๊กพง (คุณตาและคุณยายหมอโดมทำฟัน) บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชีโรงสีพรานกระต่าย เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง บ้านพี่ยีวิรัตน์ บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน   บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า ถัดไปเป็นบ้านตารอดยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน (คุณแม่เครือมาส จารุวัฒน์) ขี่จักรยาน ต่อไปบ้านยายช่วย 2 ชั้น เมียมหาขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง 2 ชั้น ขายของจิปาถะ บ้านยายพลอยตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้ 
            ทางฝั่งวัดเสด็จ เริ่มจากบ้านแม่รอด (แม่ ส.ส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้านยายเงินขายผักขายเมี่ยง บ้านเจ๊กท้งขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเกษม ยายทองดา สกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น (บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถงสองชั้น บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล (ครูสุพรรณลูกเขย ลูกสาว ครูเพ็ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้   ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่ ลูกหลวงภักดี บ้านแถวไม้ บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ปัจจุบันเป็นโรงแรมชากังราวริเวอร์วิว) ร้านตัดเสื้อผ้าโกวั้น ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ ถัดไปเป็นซอยวัดบางตรงข้ามกับท่าเรือ ถัดไปเป็นห้องแถวยายจู เจ๊กย้ง เจ้ส่ึง เป็นโรงแรมมีร้านอาหารอยู่ชั้นล่าง    โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง  โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงเหล้ากำแพงเพชร มาหยุดที่บ้านยายมดแดง ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
           ไฟไหม้ทั้งหมด เหตุการณ์ผ่านมา กว่า 50 ปี ความทรงจำเหล่านี้ สมควรได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ เพราะผู้คนที่เกิดทันพากันเลือนรางภาพเหล่านี้สิ้น วันที่ 26 เมษายน 2506 ผู้เขียนอายุ 15 ปี กำลังขึ้น ม.ศ.3 ที่โรงเรียนกำแพงเพชรวัชรราษฎร์วิทยาลัย บ้านอยู่ห่างจากไฟไหม้ เล็กน้อย (เยื้องโรงพยาบาลแพทย์บัณฑิตในปัจจุบัน) ความร้อนจากเปลวไฟมาถึงที่บ้านด้วย และได้อพยพผู้คน ข้าวของลงไปหาดทราย เช่นกัน มีโอกาสได้ขี่จักรยานไปดูไฟไหม้อย่างละเอียด ไหม้อยู่ทั้งวันทั้งคืน จนมอดสนิท ในวันที่ 28 เมษายน นับเป็นหายนะครั้งใหญ่สุดในเมืองกำแพงเพชร บริเวณไฟไหม้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางราชการห้ามมิให้ปลูกอาคารบ้านเรือน ต่อมามีการฟ้องร้องกัน ศาลตัดสินให้เจ้าของเดิมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเริ่มปลูกอาคารบ้านเรือนกันอีกครั้ง (ความจริง เมื่อขยายถนนเทศาออกมานั้นทับที่ดินบ้านเรือนไฟไหม้ไปหมดแล้ว เพราะใต้ถุนบ้านทุกหลัง เสาแช่อยู่ในแม่น้ำปิง ดูแนวเดิมของถนนเทศาได้บริเวณบ้านที่ไม่ถูกไฟไหม้)

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ไฟไหม้

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1298&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1298&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,900

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,265

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,859

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,352

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,272

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,449

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,487

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,472

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,995

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,235