ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,399

[16.3630433, 99.6451875, ประวัติบ้านโคน]

ประวัติความเป็นมาของบ้านโคน 
          ประวัติบ้านโคน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งช่วงประวัติของหมู่บ้านออกเป็น 3 ช่วง ตามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรมพื้นบ้านสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 
          ยุคแรกเริ่ม 
          ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ 
          บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 
          สัญนิฐานว่าเป็นเมืองคณฑี แรกเริ่มมีครอบครัวประมาณ 5 – 10 ครัวเรือน และห่างออกไปบริเวณวัดกาทึ้ง มีประชากรตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีวัดกาทึ้งเป็นศูนย์กลาง ต่อมาพม่าเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าได้ทำลายวัตถุโบราณและบ้านเรือน ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นหนีเข้าป่าหรือไม่ก็อพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อสงครามสงบศึก ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ได้มาจองที่ดินและขนวัตถุโบราณมาไว้ที่วัดปราสาทและมาตั้งบ้านเรือนแถบลุ่มแม่น้ำปิง มาปฏิสังขรณ์วัดปราสาทแทนในช่วงนั้นมีวัดที่สำคัญในบริเวณบ้านโคนอยู่ 4 วัด ดังนี้   
           1. วัดช้างแก้ว เป็นวัดแรกที่มีในบริเวณนี้แต่ถูกพม่าเผาทำลายเพียงแต่ซากเล็กน้อยเท่านั้น 
           2. วัดท่าชัย ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเคยมีพระใหญ่ตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ ( ปัจจุบันเป็นเหมืองสูบน้ำข้างปราสาทอนุสรณ์ ) แต่พระพุทธรูปโบราณได้พังลงแม่น้ำปิงไปแล้ว 
           3. วัดกาทึ้ง     
           4. วัดปราสาท เป็นวัดที่สร้างหลังสุด วัดกาทึ้งและวัดปราสาทจะได้กล่าวถึงในช่วงตำนานหรือนิทานที่เกี่ยวข้อง
          ยุคการคมนาคมทางน้ำเจริญรุ่งเรือง
          หลังจากที่มีการติดต่อทางน้ำระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนบ้านโคนมากขึ้น ทำให้แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญใช้ในการคมนาคม ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขึ้น มีประชากรที่อพยพมาจากวัดกาทึ้งมาสมทบเพิ่มมากขึ้นและได้ถือเอาวัดปราสาทเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยการคมนาคมนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำ ในสมัยนั้นจะมีเรือเหลืองและเรือแดง ซึ่งเป็นเรือกลไฟสำหรับโดยสาร ราคาโดยสารนั้นเรือแดงจะแพงกว่าเพราะเป็นเรือกลไฟมีความรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวจีนที่ล่องเรือมาขายสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ เครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอาหาร โดยสินค้าที่นำมานี้จะรับมาจากที่ต่างๆ แล้วมาขายต่ออีกทีหนึ่ง 
          ในช่วงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ สมเด็จพระพันปี “ หรือ “ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ ทรงเสด็จประพาสต้นเมื่อเสด็จผ่านชุมชนจึงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดปราสาท โดยกำนันได้เกณฑ์ชาวบ้านไปตัดไม้มาทำพลับเพลารับเสด็จที่หน้าวัด พระองค์เสด็จขึ้นที่วัดปราสาทนมัสการหลวงพ่อโต แล้วทรงเสด็จยังวัดกาทึ้ง เพื่อนมัสการโบราณสถาน พระองค์สันนิษฐานว่า บริเวณแถบนี้เคยเป็นบ้านเมืองโบราณมาก่อน ( ตามเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ณ จังหวัดกำแพงเพชร  ) ในสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่า โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ถึงท่าเสลียง ทางเหนือถึงโขมงหัก ทางทิศตะวันออกไปจนถึงบ่อทองเป็นป่าเกือบทั้งหมด 
          ประชาชนของชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนาทำไร่ และทำไม้ แต่ที่ทำกันมากที่สุดคือ “ การทำไม้ “ ผู้ที่มีอาชีพทำไม้ในสมัยนั้นได้แก่ นายสุขขัง เกิดพันธ์ นายพุดซ้อน เกิดสว่าง นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นต้น โดยแต่ละคนที่ทำไม้จะต้องทำเรื่องขอสัมปทานทำไม้จากรัฐบาลเสียก่อน และมีการกำหนดอาณาเขตในการทำไม้ ไม้ที่ทางรัฐบาลอนุญาตก็ได้แก่ ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้เหี้ยง ไม้พลวง ฯลฯ แต่ที่ไม่อนุญาตให้ตัด คือ ไม้สัก เพราะเริ่มเป็นไม้ที่หายาก  เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็จะนำลูกน้องเข้าไปตัดไม้ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยจะใช้ช้างและควายลากไม้ออกจากป่า มาทิ้งไว้ที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็จะมัดไม้ทั้งหมดที่ตัดมาทำเป็นแพล่องแม่น้ำปิงไปขาย โดยมากพ่อค้าไม้จะไปขายกันที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นแหล่งรวมที่ค้าไม้ ( มวน อินทรสูตร, 2541 : สัมภาษณ์ ) ถ้าไปไกลหน่อยก็จะไปขายกันในแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้ราคาดีขึ้น 
          ยุคนี้เป็นยุคที่ชุมชนบ้านโคนเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการเป็นชุมชนระหว่างเส้นทางคมนาคม และเป็นชุมชนค้าไม้จะเห็นได้จากการมีบ้านคหบดีจากการค้าไม้ 2 – 3 หลัง 
          ยุคหลังการตัดถนนกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ – ขาณุวรลักษบุรี 
          เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นประกอบกับความเจริญด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเปลี่ยนไปคือ ในชุมชนเริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยประชากรเหล่านี้ก็ได้ย้ายบ้านเรือนจากบริเวณริมแม่น้ำปิง พอในช่วงที่ตั้งของชุมชนได้ถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะประชากรของชุมชนจึงต้องย้ายบ้านเรือนหนีการกัดเซาะของแม่น้ำมาเรื่อยๆ ส่วนลูกหลานที่แต่งงานกันต้องการจะออกเรือน ผู้เป็นพ่อกับแม่ก็ยกที่ดินแถบบริเวณตะวันออกของหมู่บ้านให้ปลูกเรือน และในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนลูกรังผ่านหมู่บ้าน จึงทำให้ปลูกเรือนอยู่บริเวณสองฟากถนนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเริ่มมีรถโดยสารประจำทางระหว่างชุมชนกับเมืองกำแพงเพชร  ต่อมามีการสร้างถนนลาดยางสายกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ ผ่านชุมชนบ้านโคนในปี พ.ศ. 2524 ยิ่งทำให้มีประชากรอพยพมาอยู่ริมถนนมากขึ้น การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดบทบาทลงเพราะล่าช้า ไม่สะดวกประชากรเริ่มหันมาใช้การคมนาคมทางบกแทน เพราะมีความสะดวกรวดเร็วกว่า และมีรถโดยสารประจำทางระหว่างตัวเมืองกำแพงเพชรจึงทำให้ลักษณะหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนแทนที่การตั้งบ้านเรือนแบบยาวตามลำน้ำ  ส่วนบ้านโคนเหนือนั้นในช่วงที่การทำไม้เริ่มหมดไป กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน  กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ “

คำสำคัญ : บ้านโคน

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติบ้านโคน. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1121

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,129

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,997

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,415

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,167

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,550

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,791

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,806

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 15,317

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,175

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,241