มะม่วงหาวมะนาวโห่
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้ชม 289
[16.4534229, 99.4908215, มะม่วงหาวมะนาวโห่]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น มะม่วงหาวมะนาวโห่/หนามแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-5 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำ ตาลเข้ม เมื่อใช้มีดสับจะมียางสีขาวไหลออกมา ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก และมีหนามแหลมคม ยาวประมาณ 2 นิ้ว กระจายทั่ว
ใบ แทงออกเป็นใบเดี่ยว แทงออกตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบมีรูปทรงไข่ และป้อม สีเขียวเข้ม โคนใบมน ปลายใบโค้งหยักเข้าตรงกลาง ใบกว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 4-8 ซม. แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง และเป็นมัน ท้องใบมีสีจางกว่าด้านบน และมีเส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน
ดอก ดอกมะม่วงหาวมะนาวโห่/หนามแดง แทงออกเป็นช่อบริเวณซอกใบตามปลายกิ่ง มีก้านชูดอกสีแดงเข้มมีกลีบรองดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวอมชมพู ยาวประมาณ 1 ซม. โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกออก และมีรูปทรงกรวย ภายในดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ส่วนด้านล่างสุดเป็นรังไข่ที่จะเจริญต่อมาเป็นผล
ผล และเมล็ด ผลมะม่วงหาวมะนาวโห่มีรูปร่างกลม และรี ขนาดผลประมาณ 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2-4 ซม. ผลอ่อนมีเปลือกสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีแดงอมชมพู และเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีดำ ส่วนเนื้อเมื่อยังดิบจะมีสีขาว และเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงอมชมพู เนื้อผลมีลักษณะกรอบแม้เมื่อสุกแล้ว และภายในผลบริเวณตรงกลางจะมีเมล็ดแทรกรวมกันอยู่ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างแบน มีเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล
ประโยชน์มะม่วงหาวมะนาวโห่/หนามแดง
- มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
- แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
- มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
- ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
- ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
- มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
- ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
- ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
- บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
- ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
- ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
- มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
- ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.kasetorganic.com/
คำสำคัญ : สมุนไพร
ที่มา : บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : วิภากานต์ แซ่จ้อง
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=91&code_db=DB0002&code_type=W003
เหมือดโลด
เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 114
ผักหวานป่า
ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 122
มะม่วงหาวมะนาวโห่
มะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงราว 5-10 เมตร มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ภูมิภาค เช่น ต้นหนามแดง มะนาวไม่รู้โห่ มะนาวโห่ และหนามขี้แฮด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 289
ชุมเห็ดไทย
ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 134
ส้มเช้า
ส้มเช้าเป็นพืชที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูงได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ชนิดนี้ต้นหรือปลายต้นมักมีรูปร่างแปลก หงิกคล้ายดอกหงอนไก่ เป็นชนิดที่มีใบน้อย นิยมนำมาปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับ ส่วนอีกชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ออกใบมากกว่าชนิดแรก
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 125
อีเหนียว
อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 156