มะเขือดง

มะเขือดง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 1,720

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือดง]

มะเขือดง ชื่อสามัญ Potato Tree, Wild Tobacco, Canary Nightshade, Mullein Nightshade, Velvet Nightshade, Turkey Berry, Salvadora

มะเขือดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum erianthum D. Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum verbascifolium Linn., Solanum mauritianum Blanco, Solanum Pubescens Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

สมุนไพรมะเขือดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือดง (ขอนแก่น), ส่างโมง (เลย), ดับยาง ผ่าแป้ง ฝ้าแป้ง ฉับแป้ง สะแป้ง มะเขือดง (สุโขทัย), สะแป้ง (สิงห์บุรี), ส้มแป้น (เพชรบุรี), หูควาย (ยะลา), ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ), ดับยาง (ภาคกลาง), ขากะอ้าย ขาตาย หูตวาย (ภาคใต้), ฝ่าแป้ง (คนเมือง), ซิตะกอ สะกอปรึ่ย (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มั่งโพะไป่ ลิ้มเม่อเจ้อ สะกอปรื่อ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตะหมากบูแคเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ด่งเย่ก๊ะ (ม้ง), ทิ่นหุ้งจา (เมี่ยน), ชู้ด (ขมุ), ลำแป้ง ลำล่อม ลำผะแป้ง ลำฝาแป้ง (ลั้วะ), เก๊าแป้ง (ไทลื้อ), ด่อเปอฮุ๊บ (ปะหล่อง), แหย่เยียนเยวียะ (จีนกลาง), เอี๋ยเอียงเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

ลักษณะของมะเขือดง

  • ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
  • ใบมะเขือดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ผิวใบอ่อนนุ่มและมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น หลังใบเป็นสีขาว ส่วนท้องใบเป็นสีดอกเลา ก้านใบยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
  • ดอกมะเขือดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง และจะแยกออกเป็น 2 ช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร กลีบรองดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่ฐาน ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ อับเรณูเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้มี 5 อัน และเกสรเพศเมียมี 1 อัน เมื่อดอกบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลมะเขือดง ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม ผิวมีขีดประเล็กๆ

สรรพคุณของมะเขือดง

  1. รากมีสรรพคุณเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้รากสดประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว นาน 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ราก)
  2. ใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองตามบริเวณคอในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-20 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ไข่ที่เปลือกเป็นสีขาว 1 ฟอง ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง (ใบ)
  3. ใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน (ใบ)
  4. รากหรือใบนำมาขยี้แล้วแช่น้ำกับมะแคว้งขม ดื่มเป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาหารเป็นพิษ (ราก, ใบ)
  5. ยอดอ่อนใช้แช่กับน้ำดื่มร่วมกับยอดหญ้าตดหมา ลำต้นคูนและไพล เป็นยาแก้อาการท้องอืด (ยอดอ่อน)
  6. รากใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง โรคบิด (ราก)
  7. รากใช้เป็นยาขับระดูของสตรี แก้โรคมุตกิด เป็นหนอง มีน้ำคาวปลา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว นาน 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ราก)
  8. ใบมีสรรพคุณทำให้แท้งบุตร (ใบ)
  9. ใบใช้ต้มน้ำร่วมกับใบว่านน้ำเล็ก ใบหนาดหลวง ใบก้านเหลือง ใบเดื่อฮาก ต้นสามร้อยยอด ต้นถ้าทางเมีย ลำต้นเป วงเดียตม เครือไฮ่มวย (หากหาไม่ครบก็ให้ใช้เท่าที่หาได้) ให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (ใบ)
  10. ใบใช้เป็นยารักษาอาการตัวบวม (ใบ)
  11. ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (ใบ)
  12. ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเปื่อย แผลเปื่อยในปาก แผลในจมูก ผิวหนังอักเสบ (ใบ)
  13. ทั้งต้นใช้เป็นยาช่วยลดการอักเสบจากแผลที่เกิดจากแผลไฟไหม้ (ทั้งต้น)
  14. เปลือกใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง (เปลือก)
  15. ใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อน ฝี และแผลเปื่อย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ต้มกับน้ำให้เข้มข้น ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ)
  16. ใบใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ (ใบ)
  17. ใช้รักษาโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาคั่วกับเหล้า ใช้ทาถูนวดบริเวณที่เป็น (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือดง

  • สารเคมีที่พบ ได้แก่ diosgenin, solamargine, solasodine, solasodine monoglucoside, solasonine, solaverbascine, solaverine[3] โดยกิ่ง ใบ และผลมะเขือดงจะมี diosgenin, solasodine นอกจากนี้ยังพบว่าในใบนั้นมี tomatidenol อีกด้วย ส่วนกิ่งและใบจะมี solasonine ส่วนใบและรากจะมี solamergine, solasodine monoglucoside และ solasonine
  • สาร solasoine (โซลาโซนีน), solasodine (โซลาโซดีน), solamergine (โซลามาร์จีน) และ tomatidenol (โทมาไทดีนอน) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราบางชนิด เช่น Claviceps. Rhizoctonia, Piricularia, Polypordus และ Sclerotinia
  • ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์เหมือนวิตามินดี ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • สารสกัดที่ได้จากใบและกิ่งโดยวิธีการต้มด้วยน้ำจะไม่มีผลต่อลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา แต่จะมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้เล็กส่วนต้นของกระต่ายคลายตัวในช่วงแรก และจะเกิดอาการเกร็งในช่วงระยะเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นอย่างอ่อนต่อกล้ามเนื้อลายหน้าท้องของคางคกและต่อมดลูกของหนูขาวที่กำลังมีท้อง
  • มีฤทธิ์ต่อหัวใจ โดยมีผลทำให้หัวใจกระต่ายเกิดการบีบตัว (แต่ไม่เต็มที่) แต่บางส่วนจะค่อย ๆ เข้าสู่ภาวะปกติทีละส่วน
  • มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีผลในการช่วยเสริมฤทธิ์ของยา barbiturate ทำให้ยืดเวลาการนอนของหนูถีบจักรมองเห็นได้ชัด
  • จากการวิจัยพบว่าผลมะเขือดงมีสารในกลุ่มสเตียรอยด์ชื่อ Solasodine ปริมาณสูง สามารถนำใช้สังเคราะห์เป็นยาคุมกำเนิดได้ แต่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อผลิตเป็นยาต่อไป
  • เมื่อปี ค.ศ.1991 ประเทศเม็กซิโก ได้ทดลองใช้สารสกัดจากพืชชนิดนี้ในกระต่ายทดลองจำนวน 27 ตัว โดยทดลองเปรียบเทียบกับยา tolbutamide (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด) โดยทดลองกับพืชต่าง ๆ จำนวน 12 ชนิด ผลการทดลองพบว่า พืชสมุนไพรมะเขือดงหรือช้าแป้น สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ถึง 21.1% มากกว่ายา tolbutamide ที่ลดได้เพียง 14.3%

ประโยชน์ของมะเขือดง

  1. ผลนำมาตำแล้วคั้นเอาน้ำให้วัวหรือควายกินเป็นยาแก้โรคขี้ขาว
  2. ใบนำมาใช้ใส่ในเล้าไก่ จะช่วยป้องกันตัวไรได้
  3. ใบนำมาขยำแล้วใช้ล้างจาน ช่วยขจัดคราบอาหารทำให้จานสะอาดได้
  4. ใบใช้รองพื้นถั่วเน่าหมักตากแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วเน่าติดกับแผงตาก
  5. ต้นนำไปเผาไฟให้เป็นถ่านแล้วใช้เป็นส่วนผสมในการทำดินปืน หรือนำต้นไปตากแห้งเอาไปทำดินปืน
  6. ชาวลั้วะจะใช้ลำต้นมาทำเป็นฟืน
  7. ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งที่มีลักษณะเป็นง่าม นำไปเสียบกับดินใช้เป็นที่ตั้งขันสำหรับเผากระดาษให้บรรพบุรุษในพิธีเลี้ยงผี

 

คำสำคัญ : มะเขือดง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือดง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1699&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1699&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แก้ว

แก้ว

ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 7,090

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,340

ปีบ

ปีบ

ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,930

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,723

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,604

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน

ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,711

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,431

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,927

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,815

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,682