เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 5,580

[16.4258401, 99.2157273, เถาวัลย์เปรียง]

เถาวัลย์เปรียง ชื่อสามัญ Jewel vine
เถาวัลย์เปรียง ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens (Roxb.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่), เครือตับปลา (เลย), เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก (หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ (หากเกิดในที่ลุ่ม) (ภาคอีสาน), เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง), ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของเถาวัลย์เปรียง
          ต้นเถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี หากปลูกในที่แล้งจะออกดอกดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด
         ใบเถาวัลย์เปรียง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ
         ดอกเถาวัลย์เปรียง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบและมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง
         ผลเถาวัลย์เปรียง ออกผลเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด

สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง
1. เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)
2. รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก) ใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
3. ตำรับยาไทยใช้รากเป็นยารักษาอาการไข้ (ราก)
4. ช่วยแก้หวัด แก้ไอ (เถา)
5. เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะพิการโดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ และใช้ได้ดีในเด็ก (เถา)
6. ช่วยแก้บิด (เถา)
7. เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียนมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (เถา, ราก) และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพรชนิดนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย
8. เถาใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดูของสตรี (เถา)
9. คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี (อาการตกขาวชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว) (เถา)
10. เถามีสรรพคุณในการบีบมดลูก (เถา)
11. ช่วยขับโลหิตเสียของสตรี ด้วยการใช้เถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ (ทั้งห้า)
12. ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ ด้วยการใช้เถาสดนำมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้อง แล้วนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น (เถา)
13. บางตำรากล่าวว่าเถามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย (เถา)
14. เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้ง คั่วชงน้ำกินต่างน้ำชาเป็นยาทำให้เส้นหย่อน แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา (เถา)
15. มีการใช้เถาเพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ แล้วใช้เป็นยาทานวดบริเวณที่เป็นทุกวันจนหาย (เถา)

วิธีใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
1. ยาแคปซูลที่ได้จากผลของเถาวัลย์เปรียง ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
2. ยาแคปซูลที่สกัดจากเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% ของเอทิลแอลกอฮอล์ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและแก้อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเถาวัลย์เปรียง
1. องค์ประกอบทางเคมีที่พบในเถาและรากเถาวัลย์เปรียง ได้แก่ chandalone, etunaagarone, nalanin, lonchocarpenin, osajin, robustic acid, scandenin, scandione, scandenone, scandinone, waragalone, wighteone
2. สารสกัดด้วยน้ำช่วยลดการหลั่ง myeloperoxidase (88 %) ของหนู (rat peritoneal leukocytes) ที่ถูกกระตุ้นด้วย calcium ionophore โดยมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยการยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (Eicosanoid)
3. สาร genistein และสาร scandenin ช่วยลดการหลั่ง elastasemyeloperoxidase ของหนู (rat peritoneal leukocytes) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.22 และ 0.14 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ
4. สารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วย 50% เอทานอล 500 ไมโครกรัม/มล. ช่วยยับยั้งเอนไซม์ lipoxygenase โดยลดการเกิด leukotriene B4 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ
5. มีงานวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ในขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7 โดยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 ของการรักษา แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่พบว่ามีผลข้างเคียงหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีแต่อย่างใด
6. สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงมีสารในกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavone) และสารไอโซฟลาโวน ไกลโคไซด์ (Isoflavone glycoside) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ โดยเฉพาะอาการอักเสบตามข้อ โดยมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันประเภทสเตียรอยด์ได้เป็นอย่างดี
7. สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบเมื่อให้สารสกัดในขนาด 100 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมกับหนูขาวทางช่องท้อง โดยพบว่าสามารถช่วยลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวหลังได้รับสารคาราจีแนน (Carrageenan-induced hindpaw edema) แต่จะไม่มีผลเมื่อให้สารสกัดนี้ทางปาก
8. สารสกัดด้วย 50% เอทานอล-น้ำมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ เมื่อให้สารสกัดในขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมกับหนูขาวทางปากเมื่อศึกษาด้วยวิธี Carrageenan-induced hindpaw edema
9. จากการศึกษาประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในการใช้รักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 125 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน (Naproxen) ในขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์เช่นกัน ผลจากการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้เป็นอย่างดี ทำให้การทำงานของเข่าดีขึ้น และมีความปลอดภัยไม่ต่างจากการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน นอกจากนี้อาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียดท้อง จะพบได้น้อยกว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน
10. มีรายงานว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด มีผลลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจในสัตว์ทดลอง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชนิดจากแพทย์เจ้าของไข้
11. จากการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยเอทานอล 50% ที่ให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และให้โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 6,250 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ[5]
12. จากการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% เอทานอลกับหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 6, 60 และ 600 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือให้สารสกัดเทียบเท่ากับผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง 0.03, 0.3 และ 3 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัมต่อวัน (คิดเป็น 100 เท่าของขนาดที่ใช้กับคนต่อวัน) พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางจุลพยาธิของอวัยวะภายใน ค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม และไม่พบว่ามีความผิดปกติใด ๆ
13. มีการทดสอบความปลอดภัยกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 59 ราย โดยให้อาสาสมัครกินแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ครั้งละ 1 แคปซูล แคปซูลละ 200 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ไม่พบว่าอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงแต่อย่างใด[7] และจากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และยังสามารถเหนี่ยวนำให้มีการหลั่งของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ที่อาจมีส่วนในการช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
14. จากการศึกษาประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิต้านทานของเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 47 ราย โดยให้รับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% เอทานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของค่าปกติ สรุปได้ว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวันมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน และอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
1. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
2. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เจ้าของไข้
3. เถามีสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
4. ควรระมัดระวังการใช้ในสมุนไพรชนิดนี้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงมีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) และการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
5. อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาผงจากเถาวัลย์เปรียง คือ คอแห้ง ใจสั่น ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย[9],[13]ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นจากการแพ้
6. อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงที่สกัดด้วย 50% เอทิลแอลกอฮอล์ คือ มีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และอุจจาระเหลว

ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง
1. ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนของต้นเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ โดยมีรสมัน
2. รากมีรสเฝื่อนเบา มีสารจำพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน (Scadeninm) และนันลานิน (Nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง[1],[4],[6] แต่บ้างก็ว่าใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
3. เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง
4. สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "ไดโคลฟีแนค" (Diclofenac) ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "นาโพรเซน" (Naproxen) ในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย

คำสำคัญ : เถาวัลย์เปรียง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เถาวัลย์เปรียง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1636&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1636&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,001

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,465

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ จัดเป็นไม้เลื้อย สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 6 เมตร มีรากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกอยู่รอบข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนและระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะจะช่วยทำให้ดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,044

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,905

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 4,687

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,453

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 11,993

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 10,935

หงอนไก่

หงอนไก่

หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 18,164

กาหลง

กาหลง

ต้นกาหลงนี้จัดเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีเปลือกเรียบสีน้ำตาล มีใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงสลับกัน โดยปลายใบนั้นจะเว้าลึกเข้ามาถึงเกือบครึ่งใบ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายเส้นกลางใบเป็นติ่งแหลมๆ และปลายแฉกทั้งสองข้างจะแหลม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วจะขึ้นมาใหม่ในช่วงหน้าร้อน หรือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม ส่วนดอกนั้นจะมีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ บริเวณปลายกลีบมน โคนสอบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวติดกันอยู่ และผลเป็นฝักแบน ขอบฝักจะเป็นสันหนาๆ แต่ปลายและโคนฝักจะสอบแหลม ตลอดจนปลายฝักมีติ่งแหลมๆ ยื่นออกมา โดยต้นกาหลงนี้จะออกผลในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,544