มะกา

มะกา

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 9,221

[16.4258401, 99.2157273, มะกา]

มะกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia ovata Decne. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรมะกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้องแกบ (เชียงใหม่), ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น), ซำซา มะกาต้น (เลย), มัดกา มาดกา (หนองคาย), มาดกา (นครราชสีมา), กอง กองแกบ (ภาคเหนือ), ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
หมายเหตุ : ข้อมูลจาก The Plant List ระบุว่าสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ลักษณะของมะกา
        ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย
        ใบมะกา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น
         ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง
         ผลมะกา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

สรรพคุณของมะกา

  1. แก่นมีรสขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น) ส่วนเปลือกต้นมีรสฝาดขม เป็นยาแก้กระษัย แก้พิษกระษัย (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้ใบมะกาเป็นยาแก้โรคกระษัย ด้วยการใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด และรากต้นเสาให้ อย่างละเท่ากัน นำมาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เกลือทะเล 1 กำมือ ใช้น้ำยารับประทาน (ใบ)
  2. ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)
  3. ทั้งห้าส่วนเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)
  4. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
  5. ช่วยฟอกโลหิต (แก่น) ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  6. รากและใบเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ) ส่วนใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)
  7. ใบมีรสขมขื่น สรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ ถ่ายพิษตานซางในเด็ก (ใบ)
  8. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต (ใบ)
  9. ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ (ใบ) ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน (แก่น) 
  10. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  11. เมล็ดทำให้ฟันแน่น (เมล็ด)
  12. ช่วยชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ (ใบ)
  13. ช่วยขับลม (ใบ, ทั้งห้า)
  14. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
  15. เปลือกต้นใช้กินเป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
  16. ใบสดนำมาปิ้งไฟ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน (ใบ) ด้วยการใช้ใบแห้งปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 15-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอนเป็นยาระบาย (ใบ)
  17. ช่วยระบายอุจจาระธาตุ (แก่น)
  18. ช่วยคุมกำเนิด ช่วยขับระดู แก้มุตกิดของสตรี (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไตพิการ (แก่น)
  20. ช่วยบำรุงน้ำดี (ใบ)
  21. ช่วยบำรุงน้ำเหลือง ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ)
  22. เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
  23. ช่วยแก้เหน็บชา (ใบ)

หมายเหตุ : ใบสดไซ้ท้องทำให้คลื่นเหียน ต้องนำมาปิ้งไฟให้พอกรอบเสียก่อนแล้วจึงนำไปใช้ มักใช้ใบยาต้ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะกา

  • จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยท้องผูก ด้วยการใช้ใบแห้งในขนาด 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลดี แต่มีอาการข้างเคียงคือ ปวดท้อง คลื่นไส้
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ

 

คำสำคัญ : มะกา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกา. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1682&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1682&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,472

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,375

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,083

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,290

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,297

พริกไทย

พริกไทย

พริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,932

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน 

 

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 12,906

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,221

ผักกูด

ผักกูด

ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,048

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,232