ตักบาตรข้าวต้ม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 2,649
[16.3349545, 99.3442154, ตักบาตรข้าวต้ม]
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
การตักบาตรข้าวต้ม กระทำขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 มีตำนานเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกลับลงมายังโลก ณ เมือง สังกัสคีรี ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งต่อมาถือว่าเป็นวันเปิดโลก หรือวันที่โลกมนุษย์ สวรรค์และนรกต่างมองเห็นกัน ในครั้งนั้น ประชาชนจำนวนมากต่างมาเฝ้ารอรับเสด็จ เพราะปรารถนาจะใส่บาตรกับพระพุทธองค์ แต่คนที่อยู่ห่างออกไป ไม่สามารถใส่ถึง จึงใช้วิธีโยนอาหารของตนลงในบาตรของพระพุทธเจ้า และพระสาวก และอาหารต่างๆเหล่านั้นก็ตกลงในบาตรได้พอดีเป็นที่น่าประหลาดใจ
โดยเทศกาลสารทไทย ของจังหวัดกำแพงเพชนถือเป็นงานประจำปี ที่คนในชุมชนบ่อสามแสนนิยมเข้าร่วมกิจกรรม โดยงานจะจัดขึ้นทั้งที่วัดในชุมชน และที่เทศบาลเมืองกำแพงเพชร โดยในพิธีตักบาตรข้าวต้ม จะมีการเตรียมบาตรขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 99 เซนติเมตร เพื่อให้ชาวชุมชนโยนข้าวต้มลงในบาตร เป็นการเสร็จพิธี
ภาพโดย : http://siameagle.com/topic-8115/
คำสำคัญ : ตักบาตรข้าวต้ม
ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตักบาตรข้าวต้ม. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=637&code_db=DB0016&code_type=0014
Google search
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,359
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,275
ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,564
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 7,031
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,061
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,237
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,668
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 8,817
ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 5,962
เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกําแพงเพชรขึ้น เรียกสั้น ๆ ว่า “งานก๋วยเตี๋ยว” จัดครั้งแรก เมื่อวันที่ 3-5 ธันวาคม 2542 เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัด จัดขึ้น ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรม ถนนเลียบแม่น้ําปิง อําเภอเมืองกําแพงเพชร จังหวัดกําแพงเพชร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจําหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกําแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ รวมทั้งมีการออกร้านจําหน่ายสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการแสดงจากเยาวชนในจังหวัดกําแพงเพชรของทุกปี
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 23