ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 4,019

[16.4264988, 99.215725, ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         ทอดผ้าป่าเป็นประเพณีและเป็นมรดกตกทอดมาแต่สมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับผ้าจีวรจากคฤหัสถ์ ให้ใช้แต่ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) เท่านั้น ชาวบ้านมักเรียกว่า ผ้าป่า เนื่องจากเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของ ทิ้งอยู่ตามที่ต่าง ๆ ตามกองขยะ หรือพันห่อศพไว้และต้องนำมาซัก เย็บ ย้อมเป็นสบง จีวรหรือสังฆาฏิให้เสร็จภายในระยะเวลา 10 วัน ถ้าเกินกำหนดต้องสละผ้านับเป็นความยากลำบากแก่ภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ผ้าห่อศพมักจะหาได้ยากเพราะเป็นศพคนจน ผ้าที่จะพันห่อศพ ก็ไม่ค่อยมีชาวบ้านที่มีผ้าป่าสามัคคีศรัทธาเห็นความยากลำบากของพระภิกษุจึงหาทางช่วย โดยนำผ้าไปทิ้งไว้ตามทางที่พระท่านเดินผ่านไปมาเป็นประจำ หรือทิ้งตามกองขยะ หรือนำไปห่อศพไว้ เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้พระภิกษุจะไม่ยอมรับผ้านั้น จึงมีผู้นิยมทำตามกันมาจนเป็นประเพณี จนกระทั่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับจีวรจากคฤหัสถ์ได้ แต่ยังทรงสรรเสริญพระสงฆ์ผู้ถือผ้าบังสุกุลอยู่ ทำให้พระภิกษุทั้งหลายประสงค์จะรับผ้าบังสุกุลจีวรอีก
         การทอดผ้าป่าจึงยังคงมีอยู่และเป็นมรดกตกทอดกันมาทุกวันนี้ แต่ได้เปลี่ยนแปลงไปดังที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะมีผ้าไตรสำเร็จรูปขาย และชาวบ้านไม่ได้นำไปทิ้งไว้ตามป่าตามทางดังในสมัยพุทธกาล แต่ยังคงธรรมเนียมไว้บ้างโดยการนำกิ่งไม้มาปักในกระถางหรือภาชนะอื่น แล้วนำผ้าที่จะถวายผูกแขวนไว้ บางทีก็ทำเป็นโครงรูปต่าง ๆ ภายในใส่เครื่องบริขารหรือสิ่งที่ต้องการจะถวายพระ เช่น ทำเป็นรูปผี รูปศพต่าง ๆ เป็นต้น
         ฤดูกาลของการทอดผ้าป่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาลงไปจะทอดในฤดูไหน เดือนไหน สุดแต่ชาวบ้านจะศรัทธาเลื่อมใส ส่วนใหญ่มักจะทำในระยะจวนจะออกพรรษาหรือช่วงออกพรรษาแล้ว อีกอย่างหนึ่งนิยมทำรวมกันกับขบวนกฐิน คือ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้วก็ทอดผ้าป่าหรือทอดตามรายทางเป็นหลายสิบวัดก็ได้
         วิธีการทอดผ้าป่านั้น เมื่อนำผ้าป่าไปถึงวัดแล้ว พึงตั้งใจถวายโดยไม่เฉพาะเจาะจง วางของไว้จะจุดธูปเทียนหรือไม่ก็ได้ ส่งอาณัติสัญญาณให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า หรือจะทำพิธีเงียบๆ เจ้าภาพจะรอดูจนกว่าพระท่านมาชักผ้าป่าหรือไม่ก็ได้ พึงถวายผ้าป่าโดยกล่าวคำถวาย
         อย่างไรก็ตามการถวายผ้าป่าโดยมากมักจะมีผ้าสำหรับพระสงฆ์อยู่ด้วยผืนหนึ่งหรือมากกว่า บางครั้งจะเห็นมีแต่เครื่องบริขารซึ่งมักมีผ้าเช็ดหน้าทำเป็นรูปชะนีแขวนอยู่ด้วย คงจะให้มีลักษณะเป็นป่า แต่เมื่อนำไปทอดมักจะหาซื้อผ้าสำหรับพระสงฆ์ด้วยเสมอ
         ผ้าป่ามีหลายชนิด มักเรียกตามลักษณะของผ้าป่า เช่น ผ้าป่าหางกฐิน คือ การทอดผ้าป่าหลังทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี ร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทำขึ้นเพื่อรวมทุนจัดสร้างถาวรวัตถุในวัด ผ้าป่าโยง มีเจ้าภาพเดียว หรือหลายเจ้าภาพ ส่วนมากบรรทุกเรือแห่ไปทางนํ้าทอดตามวัดวาอารามต่าง ๆ เป็นต้น ในปัจจุบันงานศพบางแห่งนิยมถวายผ้าบังสุกุลวางไว้บนหีบศพ พระสงฆ์ขึ้นมาสวดคำบาลีสั้นๆ แล้วชักผ้าไป กรรมวิธีนี้เรียกว่า ชักผ้าบังสุกุลหรือชักผ้าป่า จัดรวมเข้าในการทอดผ้าป่าตามปรกติ มีวิธีการทอดผ้าป่าที่พิเศษอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ทอดผ้าป่าผีตาย คือ แทนที่จะเอาผ้าไตรวางไว้บนหีบศพ แต่กลับให้ศพเป็นผู้ถือผ้าไตร โดยวิธีเอาศพผูกไว้กับกระดานหก แล้วนิมนต์พระมาเหยียบกระดานหก ศพก็จะยืนขึ้นหรือลุกขึ้นนั่งก็แล้วแต่การจัดศพให้นั่งหรือยืน พระสงฆ์จะรับผ้าจากมือศพ กรรมวิธีนี้ต้องทำในป่าช้าและต้องให้พระเข้าไปรับผ้าไตรทีละรูป ส่วนญาติพี่น้องดูอยู่ห่างๆ เพื่อป้องกันคนมาขโมยผ้าไปเท่านั้น ดูน่ากลัวอยู่สักหน่อย บางแห่งไม่ใช้ศพจริง ๆ แต่ทำเป็นรูปร่างให้เหมือนศพจริง ๆ ซึ่งก็น่ากลัวเช่นกัน การทอดผ้าป่าแบบนี้ถือว่าได้บุญกุศลมากทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการทอดผ้าป่าแบบผีตายนี้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงห้ามเพราะมีคนกลั่นแกล้งพระทำให้ตกใจสุดขีดจนถึงมรณภาพ
         ในปัจจุบันการทอดผ้าป่าโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชักชวนกันเพื่อรวบรวมทุนทรัพย์สร้างสิ่ง   ต่าง ๆ ได้แก่ ถาวรวัตถุในวัด ถนน โรงเรียน โรงพยาบาล และอื่น ๆ (กรมศิลปากร, 2557) 

อานิสงส์การทอดผ้าป่า
         เชื่อกันว่าการทำบุญทอดผ้าป่าโดยไม่เฉพาะเจาะจงผู้รับมีอานิสงส์อันแรงกล้า ดังมีเรื่องเล่าว่าเทพบุตรตนหนึ่งรู้ตัวเองว่าจะหมดบุญและจุติจากสวรรค์ มีราศรีเศร้าหมองไม่อภิรมย์ในทิพยสมบัติ จึงแสวงหาวิธีที่จะต่ออายุให้อยู่ในสรวงสวรรค์อีกนาน ๆ จึงไปเฝ้าพระอินทร์เล่าเรื่องความทุกข์ให้ฟังพระอินทร์แนะนำว่า ให้แสวงหาพระสงฆ์สาวกพระพุทธเจ้าที่กำลังจะออกจากนิโรธสมาบัติแล้วให้นำผ้าป่าไปถวายจะสามารถต่ออายุได้อีก เทพบุตรตนนั้นรู้ว่าวันนี้พระสารีบุตรจะออกจากนิโรธสมาบัติจึงนำผ้าทิพย์คลุกฝุ่นแล้วจำแลงตนเป็นคนยากจนนำผ้าไปพาดกิ่งไม้เฉพาะหน้าที่พระสารีบุตรจะผ่านไปมองเห็นได้ พระสารีบุตรทราบด้วยญาณว่าคนยากจนที่นำผ้ามาพาดกิ่งไม้หมายจะให้ท่านอธิษฐานนำไปตัดเย็บจีวรนั้นเป็นเทพบุตรจึงตำหนิว่าไม่ควรทำอย่างนั้นเป็นการเอาเปรียบคนยากจนที่น่าสงสารคนอื่น ๆ เรื่องเล่าอีกว่า ถ้าใครได้ทำบุญกับพระสาวกที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติตั้งจิตปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น แต่ท่านจะโปรดได้เฉพาะผู้ทำบุญรายแรกเพียงรายเดียวเท่านั้น (รัตนา สวัสดิผล, 2550) 

ประวัติและความเป็นมาประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร
         ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่าทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ
         ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ แต่จะนำผ้าไปถวายโดยตรงไม่ได้เพราะยังมิได้มีพุทธานุญาต ผู้มีศรัทธาจึงนำผ้าไปทิ้งไว้ในป่าช้า และตามที่ต่าง ๆ ที่ไม่ไกลจากกุฏิพระภิกษุ เพื่อให้พระภิกษุไปพบเล้วนำเอาไปทำจีวรได้ตามประสงค์
         อนึ่ง ก่อนจะเกิดการ “ทิ้งผ้าตามป่า” มีตำนานพุทธศาสนาในพระธรรมบทขุททกนิกายสคถาวรรค เรื่อง นาคเพทธิดาถวายผ้าป่าแก่พระอนุรุทธเถระว่า คราวหนึ่งพระอนุรุทธเถระผู้เป็นอรหันต์เที่ยวหาบังสุกุลจีวรตามแนวป่า เดินเข้าไปในป่าด้วยใจหวังว่าจะได้พบผ้าสักผืนหนึ่ง ขณะที่พระอนุรุทธรำพึงเช่นนั้น เทพธิดานางหนึ่งซึ่งชาติก่อนเคยเป็นภรรยาของพระอนุรุทธมีศรัทธาปรารถนาจะถวายผ้าบังสุกุลแก่ท่าน จึงนำผ้าทิพย์ลงมาพาดไว้ที่ต้นไม้เตี้ยๆ ต้นหนึ่ง ระหว่างทางที่พระเถระจะเดินผ่าน เมื่อพบเหตุเช่นนั้น พระอนุรุทธแสดงความประหลาดใจ และเมื่อปรารภความถึงเจ้าของไม่มีแล้ว ท่านจึงอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล การทอดผ้าป่า รวมทั้งการประดับประดาองค์ผ้าป่าด้วยกิ่งไม้ เอาผ้าทำเป็นรูปลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือผีเปรต ก็เป็นการอุปมาดังกล่าว 

กิจกรรมและพิธี
         เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจัดหากิ่งไม้ 1 กิ่ง เทียนไขหรือเทียนขี้ผึ้งก็ได้ 1 ดอก และ ผ้า 1 ผืน จะเป็นผ้าสบง หรือจัดให้ครบไตรจีวรเลยก็ได้ หรืออาจจะใช้ผ้าอื่น ๆ เช่น ผ้าห่ม หรือ ผ้าเช็ดตัวก็ได้ ของสามอย่างอันได้แก่ กิ่งไม้ เทียน และผ้านี้นับว่าสำคัญที่สุด ขาดมิได้
         สำหรับการทอดผ้าป่าแถวนอกจากของ 3 อย่างแล้ว ก็จะจัดเครื่องไทยทานธรรมตามกำลังศรัทธา และทุนทรัพย์ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ บริขารของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ บรรจุในชะลอม กระชุ กระบุงหรือภาชนะอื่น ๆ ที่เห็นสมควร บางรายอาจจะตกแต่งภาชนะบรรจุบริขารต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นรูปวิจิตรบรรจงมากมายหลายแบบ ทำเป็นรูปช้างบ้าง รูปศพผีตายบ้างก็มีบางรายเอาผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูผืนเล็กพับเป็นรูปชะนีห้อยไว้ที่กิ่งไม้ด้วย บางรายเอาธนบัตรห้อยประดับเพิ่มเข้าไปอีกก็มีส่วนทางวัดก็จะจัดเตรียมสถานที่ จัดทำสลากรายนามพระภิกษุทั้งวัด รวมทั้งจากพระวัดอื่น ๆ ที่นิมนต์มาร่วมด้วย นอกจากนั้นยังร่วมกับกรรมการวัดและชาวบ้านที่มีฐานะดี จัดหามหรสพต่าง ๆ เช่นลิเก ภาพยนตร์ ดนตรี ฯลฯ มาเตรียมไว้แสดงในค่ำคืนนั้นด้วย ครั้นตกกลางคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ชาวบ้านนำองค์ผ้าป่าแถวที่เตรียมไว้มาจัดแจงปักกิ่งไม้ของตนลงในบริเวณลานวัดที่จัดไว้ ให้เป็นแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย เสร็จแล้วเอาผ้าพาดไว้   บนกิ่งไม้ เอาเครื่องไทยธรรมวางไว้ใต้กิ่งไม้ เมื่อตั้งแถวผ้าป่าเรียบร้อยแล้ว อาจเตรียมตัวไปชมมหรสพต่างๆ เป็นการฆ่าเวลาเสียก่อนพอถึงเวลาอันสมควร ทายกวัดจะป่าวร้องให้เจ้าของผ้าป่าไปจับสลากรายนามพระภิกษุเมื่อได้รับรายนามพระภิกษุแล้ว เจ้าของผ้าป่าจะเอามากลัดติดไว้กับผ้าที่ห้อยอยู่บนกิ่งไม้ของตน   แล้วจุดเทียนปักไว้ใกล้ๆ ผ้าให้พอมองเห็นสลากนามพระภิกษุมาชักผ้าของตน
         ถึงตอนนี้ลูกศิษย์พระจะจุดเทียน มาเที่ยวส่องหาชื่อพระอาจารย์ตน เพื่อจะจำไว้ว่าได้ผ้าป่ากี่กอง และอยู่ตรงไหนบ้างเมื่อเวลาชักผ้าจะได้นำอาจารย์ของตนไปถูก ส่วนพระบางรูปที่ไม่มีลูกศิษย์ก็ต้องรอให้ถึงเวลาชักผ้า แล้วเดินมาหาเอาเอง
         พิธีชักผ้าป่าก็จะเริ่มเวลาประมาณ 21.00-22.00 น. เมื่อได้เวลาทายกจะเคาะระฆังเป็นสัญญาณนิมนต์พระ มหรสพจะหยุดชั่วคราว ประชาชนที่มาในงานจะอยู่ในความสงบสำรวม พระภิกษุทุกรูปจะครองจีวรมือถือตาลปัตรเดินตามแสงเทียนของลูกศิษย์ ออกไปชักผ้าตามรายนามของท่าน ตามวิธีที่พุทธศาสนาบัญญัติไว้ มองดูเหลืองอร่ามเต็มลานวัดเบื้องล่าง ท่ามกลางแสงเดือนเพ็ญเหลือง ลอยทรงกลดอันสวยงามอยู่บนฟ้าเบื้องสูงยิ่งนักโดยเฉพาะการทอดผ้าป่าแถวที่วัดบาง และวัดพระบรมธาตุนั้น ทุกปีจะมีกองผ้าป่ามาตั้งมากมายมหาศาล จนลานวัดอันกว้างใหญ่ดูแคบลงทันที พระภิกษุทุกรูปรวมทั้งพระที่ได้รับนิมนต์มาจากวัดใกล้เคียง ต่างได้รับถวายผ้าป่ากันรูปละหลายกอง จนขนเครื่องไทยธรรมกลับวัดแทบไม่ไหว หลังจากพระภิกษุชักผ้าป่าเรียบรอยแล้ว ลูกศิษย์จะขนเครื่องไทยธรรมกลับกุฏิหรือกลับวัด ส่วนพระภิกษุทุกรูปจะไปนั่งรวมกันเป็นระเบียบ ณ ที่ที่ทางวัดจัดไว้ แล้วให้ศีลเจริญพระพุทธมนต์ อวยชัยให้พร อนุโมทนาแก่ผู้บริจาคผ้าป่า เป็นเสร็จพิธีทอดผ้าป่าสิ้นเสียงพระสงฆ์ มหรสพต่าง ๆ จะแสดงต่อทันที ถึงตอนนี้ชาวบ้านบางกลุ่มจะเตร็ดเตร่ไปเลือกชมมหรสพที่ตนพอใจ แต่บางกลุ่มก็จะเดินออกจากวัดไปหน้าเมืองสู่ริมแม่น้ำปิง และชักชวนกันลอยกระทงลงบนสายน้ำ โดยคนกำแพงเพชรรุ่นเก่าถือคติในการลอยกระทงว่า เพื่อสักการบูชาแด่พระมหาเถรอุปคุตเจ้าซึ่งสถิต ณ ใจกลางทะเลหลวง อันแปลกไปจากคติของท้องถิ่นต่าง ๆ บ้าง แต่ในปัจจุบันคตินี้คงเลือนไปแล้ว จะเห็นว่าประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของกำแพงเพชรนั้น แปลกกว่าการทอดผ้าป่าธรรมดา หรือการทอดผ้าป่าในท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยเหตุว่า ทำกันมาเป็นประเพณีโดยมีต้องนัดหมาย หากพร้อมใจกันนำมาทอดในวันลอยกระทง มีผลทำให้มีคนมาร่วมงานเป็นอันมาก เพราะได้รับความสนุกสนานบันเทิงไปพร้อมกันด้วย และทำให้วันลอยกระทงในท้องถิ่นนี้มีความหมายยิ่งขึ้น

ความสำคัญของประเพณี
         เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ ในอดีต เนื่องจากในเขตชุมชนเมืองกำแพงเพชร มีวัดสำคัญ 3 วัด คือ วัดบาง วัดคูยาง วัดเสด็จ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดพิธีบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวเมืองจึงนัดหมายกันประกอบพิธีบุญใหญ่หมุนเวียนกันไปตามวัดทั้ง 3 วัด เมื่อกำหนดประกอบพิธีบุญใหญ่ในวัดใด ก็จะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นอีก 2 วัดมาร่วมประกอบพิธีกันในคราวเดียว
         แสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวเมืองกำแพงเพชรในการจัดการให้เกิดความสะดวกแก่การประกอบพิธีบุญร่วมกัน และส่วนของความสนุกสนานก็นับว่าเป็นกุศโลบายนำเด็กและเยาวชนให้รู้จักและสืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นต่อไป
         การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรม    ต่าง ๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้น ๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย 

แนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีผ้าป่าแถว
         ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของสังคมไทยเราก็มีหลายอย่างนะค่ะ แล้วแต่ละอย่างก็อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่ทว่าปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กับเลือนหายไปพร้อมกับมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาแทนที่ จึงทำให้ผู้คนไม่เห็นความสำคัญ เราก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ไม่อยากให้ประเพณีเหล่านั้นสูญหาย แต่วิธีอนุรักษ์ก็มีหลายๆอย่างแตกต่างกันออกไปนะ เช่น
         1. การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
         2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้น ๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
         3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
         4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
         5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ
         6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
         7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
         8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่าง ๆ

บทสรุป
         ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่าทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน
         ในอดีตกระทำเฉพาะในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง) ณ วัดบาง ปัจจุบัน กระทำในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)  ณ วัดบาง และในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ณ วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำหรับการทอดผ้าป่าแถวนอกจากของ 3 อย่างแล้ว ก็จะจัดเครื่องไทยทานธรรมตามกำลังศรัทธาและทุนทรัพย์ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้ บริขารของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ บรรจุในชะลอม กระชุ กระบุงหรือภาชนะอื่น ๆ
         แสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวเมืองกำแพงเพชรในการจัดการให้เกิดความสะดวกแก่การประกอบพิธีบุญร่วมกัน และส่วนของความสนุกสนานก็นับว่าเป็นกุศโลบายนำเด็กและเยาวชนให้รู้จักและสืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นต่อไป

คำสำคัญ : ผ้าป่า

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ประเพณีทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 24 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=136&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=136&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,892

แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง จังหวัดกำแพงเพชร

แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กวันลอยกระทงเป็นอาหารโบราณที่มีการส่งรุ่นต่อรุ่นแกงขี้เหล็กเป็นอาหารที่ จัดได้ว่าเข้าข่ายอาหารโบราณที่อีกไม่นาน แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง สืบทอดประเพณีพื้นถิ่นของนครชุม โบราณ จุดธูปขอขมาแล้วเก็บขี้เหล็กในเวลาเช้ามืดของวันเพ็ญเดือน 12 แกงวันนั้น และกินให้หมดในวันนั้น จะเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะโดยหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวตําบลนครชุม จะออกจากบ้าน ไปเก็บใบขี้เหล็ก ซึ่งก่อนทําการเก็บนั้นจะต้องมีการจุดธูปขอขมา บอกล่าวกับต้นขี้เหล็กก่อน หรือชาวบ้าน เรียกว่า พลียา หมายถึงขอยาไปรักษาโรคจากนั้นจึงลงมือเก็บยอดขี้เหล็กมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน ในวันเพ็ญเดือน 12 ได้ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณว่า ต้องเก็บวันนั้น แกงวันนั้น และกินให้หมดในวันนั้น จะเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 133

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,761

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,632

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,333

ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

ต้นทับทิม จัดเป็นต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้านที่ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย โดยสามารถนําใบต้นทับทิมมาปะพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือขจัดสิ่งชั่วร้ายได้ อีกทั้งผลทับทิมก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและบํารุงฟันให้แข็งแรง ทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่าเพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนํามาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 1,340

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,329

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 2,209

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,019

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,670