ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,108

[16.1466408, 99.3273739, ลายดอกไม้]

       เผ่าอิ๋วเมี่ยน (เย้า) มีงานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่าพันธุ์ คือ หัตถกรรมเครื่องเงินไม่ว่าจะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้สอย ที่ทำมาจากเงินล้วนแล้วแต่แสดงถึงภูมิปัญญาของราษฎรที่เป็นชาวเขาเผ่าเย้าทั้งสิ้นนับว่าเป็นช่างทำเงินกลุ่มแรกที่ได้สืบทอดงานฝีมือทำเครื่องเงินมาจากบรรพบุรุษ เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีตลวดลายแบบโบราณดั้งเดิมเลียนแบบจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวันและเนื้อเงินแท้ ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์หัตถกรรมเครื่องเงินบ้านคลองเตย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 บ้านคลองเตย เป็นสินค้า OTOP ที่ขึ้นชื่อของตำบลคลองลานพัฒนา มีการจำหน่ายสินค้าเครื่องเงิน อาทิเช่น กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า แหวน สร้อยคอ เป็นต้น ในราคาย่อมเยา
       คำว่าประเกือม เป็นภาษาเขมร ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า ประคำ ใช้เรียกเม็ดเงิน เม็ดทองชนิดกลม ที่นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ เป็นลูกกลมทำด้วยเงิน เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ มีหลากหลายรูปแบบและลวดลาย เนื่องจากทำด้วยแผ่นเงินบางๆ ที่ตีเป็นรูปต่างๆ พร้อมกับอัดครั่งไว้ภายใน ทำให้สามารถแกะลายได้สะดวก ประเกือมมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซ็นติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 2.5 – 3 เซ็นติเมตร มีหลายลวดลาย ได้แก่ ถุงเงิน หมอน แปดเหลี่ยม หกเหลี่ยม กรวย แมงดา กระดุม โอ่ง มะเฟือง ตะโพน ฟักทอง จารย์(ตะกรุด)


ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

คำสำคัญ : กำไล แหวน เครื่องประดับ

ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายดอกไม้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=396&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=396&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 747

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 คนมีกี่ทอผ้า 3 ตัวโดยใช้อาคารกลุ่มออมทรัพย์เป็นที่ตั้งทำการชั่วคราวสมาชิกลงทุนคนละ 1850 บาทสมาชิกกลุ่มได้รวมตัวกันจ้างครูฝึกสอนจาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาฝึกสอน 1 เดือนโดยใช้ ส่วนตัวของสมาชิก ปัจจุบันมีสถานที่ทำการกลุ่มจากกองทุนชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,395

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,108

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 791

ลีโอฟาร์มวัว

ลีโอฟาร์มวัว

เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 2,174

ลายดอกกุหลาบ

ลายดอกกุหลาบ

หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้นอย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 717

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 833

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,417

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 948

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,817