ลายดอกไม้
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,163
[16.1466408, 99.3273739, ลายดอกไม้]
เผ่าอิ๋วเมี่ยน (เย้า) มีงานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่าพันธุ์ คือ หัตถกรรมเครื่องเงินไม่ว่าจะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้สอย ที่ทำมาจากเงินล้วนแล้วแต่แสดงถึงภูมิปัญญาของราษฎรที่เป็นชาวเขาเผ่าเย้าทั้งสิ้นนับว่าเป็นช่างทำเงินกลุ่มแรกที่ได้สืบทอดงานฝีมือทำเครื่องเงินมาจากบรรพบุรุษ เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีตลวดลายแบบโบราณดั้งเดิมเลียนแบบจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวันและเนื้อเงินแท้ ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์หัตถกรรมเครื่องเงินบ้านคลองเตย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 บ้านคลองเตย เป็นสินค้า OTOP ที่ขึ้นชื่อของตำบลคลองลานพัฒนา มีการจำหน่ายสินค้าเครื่องเงิน อาทิเช่น กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า แหวน สร้อยคอ เป็นต้น ในราคาย่อมเยา
คำว่าประเกือม เป็นภาษาเขมร ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า ประคำ ใช้เรียกเม็ดเงิน เม็ดทองชนิดกลม ที่นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ เป็นลูกกลมทำด้วยเงิน เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ มีหลากหลายรูปแบบและลวดลาย เนื่องจากทำด้วยแผ่นเงินบางๆ ที่ตีเป็นรูปต่างๆ พร้อมกับอัดครั่งไว้ภายใน ทำให้สามารถแกะลายได้สะดวก ประเกือมมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซ็นติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 2.5 – 3 เซ็นติเมตร มีหลายลวดลาย ได้แก่ ถุงเงิน หมอน แปดเหลี่ยม หกเหลี่ยม กรวย แมงดา กระดุม โอ่ง มะเฟือง ตะโพน ฟักทอง จารย์(ตะกรุด)
ภาพโดย : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf
คำสำคัญ : กำไล แหวน เครื่องประดับ
ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายดอกไม้. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=396&code_db=610007&code_type=05
Google search
เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,128
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,216
เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 2,324
จุดเด่นอำเภอคลองลานอยู่ที่ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงิน ซึ่งชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน อำเภอคลองลาน หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะวิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่างๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู เครื่องเงิน พวกเครื่องประดับเงิน บางคนมีเก็บสะสมมากก็นำมาแต่งกันเต็มที่ บ่งบอกถึงฐานะ และความมั่งคั่งของเขา
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,898
เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 996
เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,539
เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,540
ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,030
ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 983
ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 878