สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 2,274

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”]

        หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุดก็คือพิษณุโลก
        อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพกำลังพลราวสามหมื่นห้าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกทุกทิศทุกทาง
        เมืองพิษณุโลกในขณะนั้นมีเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้อง เป็นผู้สำเร็จราชการดูแลอยู่ ทั้งสองได้ทำการต่อสู้ปกป้องเมืองอย่างสามารถ พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า เจ้าพระยาทั้งสองผลัดกันนำทัพออกจากกำแพงเมืองเข้าตีค่ายพม่าอย่างดุเดือด ไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ
        เมืองพิษณุโลก ถูกล้อมเป็นเวลายาวนาน ทำให้ขาดเสบียงอาหาร แม้กองทัพกรุงธนบุรีจะพยายามส่งเสบียงลำเลียงขึ้นไป แต่ก็ถูกทหารพม่ามาสกัดตัดเอาไปได้เสียกลางทางทุกครั้ง ชาวพิษณุโลกจำนวนประมาณหนึ่งหมื่นคนจึงเริ่มเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร
        สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงตัดสินพระทัยนำกองทัพเรือหลวงจากกรุงธนบุรีเข้าตีกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก โดยยกทัพเข้าระดมตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออกแบบสายฟ้าแลบในเวลากลางดึก และรบกันอย่างชุลมุนจนถึงเช้า แต่ก็ยังตีหักค่ายพม่าไม่ได้ จำต้องล่าถอยกลับออกมา
        สองวันต่อมา กองทัพใหญ่ของพม่ารุกไล่มาเข้าตีค่ายกองทัพหลวงบ้าง โดยได้ทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดตั้งใจเอาชนะให้ได้ และสามารถตีค่ายไทยจนแตก แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงใช้พระแสงดาบนำหน้าไล่ฟาดฟันพม่าจนกระทั่งชิงเอาค่ายกลับคืนมาได้ แล้วรับสั่งว่าต้องทิ้งค่ายโดยด่วน ให้พยายามรวบรวมอาวุธที่ตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่จำนวนมาก ถอยร่นทัพหลวงลงมาตั้งค่ายแห่งใหม่ที่เมืองพิจิตรแทน
        จะเห็นได้ว่า กองทัพอะแซหวุ่นกี้ทัพนี้เก่งฉกาจนัก เพราะมีแม่ทัพฝีมือดีหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องชายของอะแซหวุ่นกี้ และแม่ทัพนามว่ากะละโบ่ ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าเป็นผู้มีฝีมือสูงส่งยิ่ง ดังนั้น แม้สมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ จะผนึกกำลังกัน ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้
        กลยุทธ์การศึกของอะแซหวุ่นกี้ก็ลึกล้ำ โดยได้ส่งทัพใต้อีกทัพเข้ามาทางด่านสิงขร ประจวบคีรีขันธ์ รุกขึ้นมาทางเพชรบุรีเพื่อจะเข้าตีกรุงธนบุรี ในขณะที่ทัพหลวงทั้งหมดต้องยกขึ้นไปช่วยเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวว่าทหารพม่าบุกเข้ามาทางใต้ถึงเพชรบุรี จึงได้แบ่งกำลังทหารจากกองทัพหลวงบางส่วนให้รีบเร่งรุดลงมาปกป้องพระนคร ในขณะที่ทัพใหญ่ก็ไม่กล้ารุกขึ้นเหนือ เพราะพะวงศึกทางใต้
        เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เห็นว่าประชาชนเริ่มทยอยกันขาดอาหารตาย จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตถอนกำลังออกจากเมืองพิษณุโลก วันที่จะทิ้งเมือง เจ้าพระยาจักรีได้ตั้งปืนใหญ่ยิงกราดไปยังทหารพม่าอยู่ตลอดเวลา เพื่อกันให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองได้อย่างปลอดภัย โดยมีทหารกองหน้าฝีมือดีคอยตีทหารพม่าเพื่อเปิดทาง และใช้เวลาย่ำค่ำสามทุ่มเป็นฤกษ์ในการเริ่มอพยพ
        หลังจากทหารไทยถอยทัพ พม่าก็บุกเข้ายึดภายในตัวเมืองพิษณุโลกได้อย่างเด็ดขาด อะแซหวุ่นกี้สั่งเผาเมืองให้สิ้น ไฟลุกโชติช่วงสว่างราวกับกลางวันอยู่ตลอดคืน แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่าวิหารพระพุทธชินราชไม่ไหม้ไฟแม้แต่น้อย ในขณะที่ภายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราบเรียบเป็นหน้ากลอง
        เมื่อได้เมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้เตรียมยกทัพต่อเนื่องลงมายังนครสวรรค์ และตั้งเป้ายึดกรุงธนบุรี โดยประกบกับทัพใต้ที่ยกมาทางเพชรบุรี ข่าวพิษณุโลกแตก และกองทัพหลวงพ่ายแพ้ สร้างความตระหนกให้กับชาวกรุงธนบุรีมาก เพราะถ้าทัพเหนือและทัพใต้ของพม่ามาถึง การจะตีเข้ากรุงธนบุรี ง่ายกว่ากรุงศรีอยุธยามาก เนื่องจากไม่มีกำแพงเมือง และขณะนั้นจีนก็เข็ดขยาดกับการบุกภาคเหนือของพม่าไปแล้ว ไม่สามารถมาช่วยเราได้อีก (แม่ทัพที่รบกับจีนก็คืออะแซหวุ่นกี้)
        แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น ปรากฏว่าที่เมืองพม่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน มีการผลัดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีท้องตราเรียกกองทัพพม่ากลับเมืองโดยด่วน อะแซหวุ่นกี้จึงรีบยกทัพกลับทันทีโดยออกไปทางด่านแม่ละเมา สงครามยุติแบบงวยงง แต่เป็นเรื่องดี มิฉะนั้น นึกภาพไม่ออกเลยว่า กองทัพไทยจะต้านทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่กำลังฮึกเหิมไหวหรือไม่
        การสงครามคราวนี้ต้องรบกับพม่าแต่เดือนอ้าย พ.ศ.2318 ถึงเดือนสิบ พ.ศ.2319 รวมเป็นเวลาถึงสิบเดือนจึงเลิกรบ
        ขณะที่ไทยติดพันกับศึกอะแซหวุ่นกี้ ในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้านครจำปาศักดิ์ได้กำเริบคิดเป็นกบฏ เมื่อเสร็จศึกกับพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพบุกไปตีนครจำปาศักดิ์ และให้จับเจ้าเมืองประหารเสีย หลังปราบกบฏลาวสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรีเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” (ผู้มีอำนาจสั่งการศึกเทียบเท่าพระมหากษัตริย์)

คำสำคัญ : พระเจ้าตากสินมหาราช, อะแซหวุ่นกี้

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2136&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2136&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,019

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,103

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,139

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 876

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,324

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 618

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 438

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 652

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 789

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,275