สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,139

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]

        นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว
        หลังจากกรุงศรีฯล่มสลาย ผู้นำตามหัวเมืองแต่ละแห่งพากันสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นเจ้าผู้ปกครองนคร อีกทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและลักษณะของประชาชนในแต่ละภาคที่ค่อนข้างแตกต่างกัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแตกออกเป็นประเทศต่างๆ ทันที แต่คาดว่า พม่าคงยกทัพมาปราบหัวเมืองเหล่านี้ในภายหลัง
        ส่วนอยุธยาและภาคกลางทั้งหมด พม่าประกาศไปทั่วโลกว่า เป็นส่วนหนึ่งของพม่า และอังกฤษซึ่งเข้ามายึดพม่าเป็นเมืองขึ้น ต้องประกาศรับรองตามหลักสากลอย่างแน่นอน หลังจากนั้นเขตแดนประเทศจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกต่อไป
        ในการเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง กรุงศรีอยุธยาได้ถูกพม่าทำลายอย่างถอนรากถอนโคน ชนิดที่ว่าไม่ให้มีโอกาสฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่พม่าเคยทำสำเร็จมาครั้งหนึ่งแล้วกับมอญ
        ก่อนหน้าที่พม่าจะตีกรุงศรีอยุธยาแตกไม่กี่ปี พระเจ้าอลองพญาได้ยกทัพเข้าตีหงสาวดี เมืองหลวงของมอญ แล้วเผาเมืองจนราบคาบ แม้ว่าในอดีตมอญจะมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถหลายพระองค์ ถึงขนาดเคยตีอังวะเมืองหลวงของพม่าสำเร็จ แต่ในช่วงเวลาวิกฤติของการสร้างชาติ มอญกลับไม่สามารถหาผู้นำในการกู้เอกราชคืนมา ทำให้มอญ ที่เป็นเชื้อชาติหลักของพม่า ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นมาก่อนหลายพันปี จนชาวต่างชาติพากันเรียกขานดินแดนแห่งนั้นว่า “รามัญประเทศ” มาแต่โบราณกาล วันหนึ่งกลับต้องกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่มีอาณาเขตประเทศเป็นของตนเอง และถูกคนเชื้อสายพม่ากดขี่ข่มเหงอยู่ตลอดเวลาตราบจนปัจจุบัน
        ครั้งที่กรุงศรีฯแตก ชาวอยุธยาเสียชีวิตไปประมาณสามแสนคน ที่เหลือถูกกวาดต้อนกลับไปพม่า ไม่มีใครเลยที่คิดจะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการกอบกู้ชาติบ้านเมือง ต่างคนต่างหนีเอาตัวรอด บ้างก็เข้าสวามิภักดิ์กับพม่า เช่น เชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าเอกทัศหลายพระองค์ยอมเข้าด้วยกับแม่ทัพพม่า เพื่อให้ไม่ถูกประหารชีวิต
        พม่าเป็นชาตินักรบที่เก่งกล้า เป็นมหาอำนาจของดินแดนแถบนี้ในยุคนั้น แม้แต่กองทัพจีนและอินเดียก็เคยถูกพม่าตีจนยอมยุติศึก การที่คิดจะกู้ชาติไม่ใช่เรื่องง่าย และเชื้อสายราชวงศ์ไทย ก็ถูกเข่นฆ่าหรือควบคุมตัวไปอยู่ที่พม่าจนหมด
        ในช่วงเวลานั้น โอกาสสิ้นชาติไทยมีสูงถึง 90 % ถ้าไม่มีทหารเอกที่ชื่อ “พระยาตาก” พาทหารห้าร้อยนาย ตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าออกมา
        แล้วเรื่องเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นจริงๆ ชั่วเวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังจากเสียกรุง ได้มีกองทัพเรือกว่าร้อยลำระดมพลมาจากเมืองจันทบุรี แล่นไล่เลาะชายฝั่งตะวันออกมาจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วกรรเชียงฝ่ากระแสน้ำเข้าสู่อยุธยา ทำสงครามไล่ฆ่าฟันพวกพม่าล้มตายแตกทัพกระจัดกระจาย รวมไปถึงสังหารสุกี้พระนายกอง แม่ทัพพม่าผู้ซึ่งเคยฆ่าล้างบางชาวบ้านบางระจันอย่างโหดเหี้ยม
        ในที่สุด กองทัพเรือก็ชิงกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ ทำให้เอกราชกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งหนึ่ง ผู้นำในการต่อสู้ครานั้นก็คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั่นเอง
        สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเริ่มต้นชีวิตราชการอย่างนายทหารสามัญผู้หนึ่งที่มีความรักชาติอย่างแรงกล้า และเกิดในตระกูลคนจีนที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ จึงไม่มีพระบารมีโดยกำเนิด การกู้ชาติและสร้างชาติสำหรับพระองค์จึงยากลำบากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
        >>> กู้ชาติว่ายากแล้ว แต่สร้างชาติขึ้นมาใหม่ยากกว่านั้น อยุธยาโดนเผาทำลายจนไม่เหลืออะไรเลย ตอนต่อไปจะมาเล่าถึง การสร้างอาณาจักรไทยขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยต้องไล่ตีนครศรีธรรมราช โคราช พิมาย พิษณุโลกและเชียงใหม่ กลับคืนมา เลยไปถึงลาว เขมร ทวาย มะริด ตะนาวศรี กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี เพื่อรวบรวมผืนแผ่นดินให้พวกเราได้อยู่อาศัยตราบจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2134&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2134&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,059

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 620

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 618

จีนกี้

จีนกี้

จีนกี้ หรือคุณหลวงโสภณเพชรรัตน์ (จีนกี้ โสภโณดร) กลุ่มลูกหลานคหบดีชาวจีนที่มีต้นทุนการสร้างฐานะมาจากรุ่นพ่อที่ตรอกบ้านจีน สืบต่อธุรกิจค้าไม้จากรุ่นพ่อ นำไปสู่การสร้างธุรกิจโรงสี เดินเรือสมุทร และยังเป็นกรรมการธนาคารสยามกัมมาจลในรุ่นแรกได้รับความนับถือ เป็นหัวหน้าจีนที่สำคัญ ได้สนองพระราชนิยมด้วยการสร้างสะพานข้ามคลองสามเสน กรุงเทพฯ เป็นประจักษ์พยานผ่านกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ผู้คนต่างกล่าวขานนามสะพานว่าโสภณ ตามนามผู้อุทิศเป็นหมุดหมายกาลเวลาให้กล่าวขานถึงค่านิยมคนรุ่นก่อนที่สนองคุณด้วยการสร้างสาธารณูปโภคแก่แผ่นดิน

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 750

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,102

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,124

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,325

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 429

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,244

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 783