หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,790

[16.5212962, 97.4942877, หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน]

        “สมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากประเทศจีน” ที่ถูกอ้างว่าเป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้ในการผลัดแผ่นดิน โดยการประหารสมเด็จพระเจ้าตากจริง หรือมีตัวแทนก็ตามแต่ โดยเหตุผลของผม มีดังนี้
         ก. การที่อ้างว่าหากผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชวงศ์แล้วก็ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตากสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อหนี้ 60,000 ตำลึง แต่จากหนังสือหมิงสือลู่–ชิงสือลู่ (9) บรรยายว่า การเมืองสยามในบันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์ชิง แม้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างจดหมายเหตุราชวงศ์หมิงกับชิงสือลู่แล้วพบว่า จดหมายเหตุฉบับหลังจะมีคุณปการต่อการศึกษาประวัติศาสตร์การมืองสยามไม่มากนัก เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ในชิงสือลู่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสยามกับจีน อย่างไรก็ดี เอกสารฉบับดังกล่าวนี้กับมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาการเมืองในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและต้นรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็น ยุคที่เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองสยาม ทั้งนี้เพราะชิงสือลู่เป็นเอกสารเพียงไม่กี่ฉบับที่ช่วยอธิบายหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. 1767/พ.ศ.2310 ที่สิ้นสุดลงด้วยการสงครามที่เมืองพุทไธมาศหรือฮาเตียน (Ha- tien) และอุดงค์มีไชยใน ค.ศ. 1771/พ.ศ. 2314 ในขณะเดียวกันชิงสือลู่ยังให้ข้อมูลที่สนใจบางประการเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1 รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างสยามกับรัฐเพื่อนบ้านอีกด้วย ความวุ่นวายทางการเมืองในต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่กองทัพพม่าใน ค.ศ. 1767 พ.ศ. 2310 นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์สยาม เนื่องด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ราชอาณจักรกรุงศรีอยุธยาที่มีอำนาจในดินแดนประเทศไทยมา 417 ปีล่มสลายลง แม้ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงสามารถกอบกู้เอกราชจากกองทัพพม่าได้สำเร็จในปีนั้น แต่การเมืองของราชอาณาจักรใหม่ในยุคต้น กับเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เนื่องด้วยเกิดชุมนุมน้อยใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีอำนาจทางการเมืองประกอบไปด้วยชุมนุมของเจ้าพระฝาง พระยาพิษณุโลก พระยานครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และชุมนุมเจ้าพิมาย ซึ่งกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจาหวังจี๋ ในชิงสือลู่ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ประทับอยู่ อย่างไรก็ดี ชิงสือลู่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคนี้เพิ่มเติมอีกว่า ยังมีคู่แข่งทางการเมืองอีกสองคน ที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูราชอาณาจักรใหม่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ เจ้าศรีสังข์หรือพระองค์เจ้าศรีสังข์ ซึ่งราชสำนักจีนเรียกพระนาม ของพระองค์ว่า เจาซื่อชาง พระโอรสในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบมโกษฐ์กับหม่อมจันทร์ ซึ่งหลังจากกองทัพพม่าเข้าราชธานีได้สำเร็จ พระองค์ทรงหลบหนีไปอยู่ที่กรุงอุดงค์มีไชยด้วยความช่วยเหลือของบาทหลวงคณะมิสชังต่างประเทศ (Missions Etrangeres de Paris)
         สมเด็จพระนารายณ์ราชา (ค.ศ. 1758-1775 พ.ศ. 2301-2318)
         กษัตริย์กัมพูชาในขณะนั้น ทรงให้ความช่วยหลือแก่เจ้านายอยุธยาผู้นี้เป็นอย่างดี เรื่องราวของเจ้าศรีสังข์นี้ ไม่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์มากนัก เอกสารที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับพระองศ์มากที่สุดคือ จดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศที่ระบุว่า พระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในคริสต์ศาสนา และทรงหวังที่จะเดินทางไปยังฝรั่งเศสสักครั้งหนึ่ง แม้การที่เจ้าศรีสังข์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ จะเป็นที่ล่วงรู้ไปถึงราชสำนักจีน และทำให้พระเจ้าเฉียนหลงไม่ให้การรับรองสถานภาพของสมเด็จพระเจ้กรุงธนบุรีในฐานะกษัตริย์สยามพระองศ์ใหม่ แต่คู่แข่งทางการเมืองที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่พระองค์มากที่สุดคือ เจ้าจุ้ย หรือเจ้าชุ่ยในชิงสือลู่ พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัย พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ซึ่งทรงหลบหนีไปประทับที่เมืองพุทไธมาศภายใต้การปกครองของมักเทียนตู หรือม่อชื่อหลินในชิงสือลู่ หรือที่ ในเอกสารสยามเรียกว่า พระยาราชาเศรษฐี และมักเทียนตูนี้เองที่เป็น ผู้รายงานเรื่องข่าวการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา และให้ข่าวเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต่อราชสำนักจีน มักเทียนตูรายงานว่า กษัตริย์สยามพระองค์ใหม่ หรือที่ในเอกสารจีนเรียกว่า กันเอินซื่อ เป็นชาวจีนที่เร่ร่อนมาขอพึ่งพาพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์สยาม แต่เมื่อบ้านเมืองถูกกองทัพพม่าทำลายลง แทนที่จะช่วยหลือเจ้านายเก่าฟื้นฟูบ้านเมือง กันเอินซื่อผู้นี้กลับมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งๆ ที่เจ้านายกรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ และหนึ่งในนั้นคือ เจ้าจุ้ยได้รับความช่วยเหลือคุ้มครองจากมักเทียนตูนั้นเอง คำรายงานดังกล่าวนี้ทำให้เกิดผลทางการเมืองที่สำคัญสองประการ คือ ทำให้ราชสำนักจีนยกย่องมักเทียนตูในฐานะผู้ทรงคุณธรรม ในขณะที่ตอบปฏิเสธคณะราชทูตที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งไปยังจีนทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะหากราชสำนักจีนยอมรับบรรณาการจากผู้ที่ไม่มีสิทธิธรรมทางการเมืองเช่นกษัตริย์สยามพระองค์นี้แล้ว อาจจะเป็นตัวอย่างให้แก่บรรดาผู้ที่กระต่างกระเตื่องและบรรดาผู้ต่อต้านราชวงศ์ชิงก็เป็นได้ คำรายงานของมักเทียนตูเรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เป็นไปในทางลบนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการแข่งขันทางการเมืองในเขตอ่าวสยาม ระหว่างทั้งสองฝ่าย ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลง ในขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับมักเทียนตู ยังเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างชาวจีนต่างกลุ่มภาษา คือ แต้จิ๋วและกวางตุ้งอีกด้วย นอกจากจะมีรายงาน เรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปยังราชสำนักจีนแล้ว มักเทียนตูยังมักฉวยโอกาสเข้าโจมตีหัวเมืองต้านตะวันออกของสยาม
          ตามที่ปรากฏ ข้อความในชิงสือลู่ลง วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1369/พ.ศ. 2312 ว่า "ขณะนี้ม่อซื่อหลินจ้าเมืองเหอเซียนเจิ้นได้ยกไพร่พลยึดครองจ้านเจ๋อ(จันทบุรี) พร้อมทั้งได้ร่วมกับบรรดาหัวหน้ากลุ่มต่างๆ ในสยามเข้าโจมตีกันเอินซื่อ" การโจมตีในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช มักเทียนตูได้ให้หลานชายพาเจ้าจุ้ยไป ยึดครองจันทบุรี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกองทัพของพระยาเทพพิพิธ (ตันเหลียง) สามารถยืดเมืองคืนได้สำเร็จ ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสามารถปราบปรามชุมนุมน้อยใหญ่ได้สำเร็จแล้ว ใน ค.ศ.1971/พ.ศ. 2314 จึงทรงยกกองทัพไปปราบปรามเมืองพุทไธมาศพร้อมกับกัมพูชาในคราเดียวกัน เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของพระองค์ให้หมดไป ทั้งนี้ พระองค์ทรงยกทัพเรือไปโจมตีพุทไธมาศในขณะที่ทรงมอบหมายให้พระยายมราชหรือต่อมาคือรัชกาลที่ 1 ยกกองทัพบกไปยังกัมพูชา ผลของสงครามในครั้งนี้คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสามารถจับจุ้ยและเจ้าศรีสังข์มาสำเร็จโทษ ขณะที่มักเทียนตูหลบหนีไปพึ่งบารมีของอุปราชตระกูลเหงวียน (Nguyen) ก่อนที่ใน ค.ศ. 1798 พ.ศ. 2321 มักเทียนตูแลครอบครัวจะขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเกิดความวุ่นวายทางการเมืองในเวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับพม่าและชาติอื่นๆ ชิงสือลู่ ได้บันทึกเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชาติอื่นๆ อยู่หลายคราว ทั้งนี้รายงานที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ราชสำนักจีนได้รับจากฝ่ายสยาม หรือเป็นข่าวที่ราชสำนักจีนสืบทราบมาจากแหล่งข่าวอื่น สาระที่น่าสนใจอยู่ในสมัยกรุงธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ ขณะที่สยามกำลังทำสงครามกับพม่า ซึ่งกองทัพพม่ากำลังทำสงครามอีกด้านกับกองทัพจีน ทำให้สยามพยายามเอาพระทัย หวางตี้ด้วยการเสนอตนเข้าร่วมทำสงครามกับพม่า เพราะต้องการให้ราชสำนักจีนรับรองสถานภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะพระเจ้ากรุงสยาม แม้จีนจะปฏิเสธข้อเสนอนี้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบไปถึงมักเทียนตู ที่พยายามเอาใจราชสำนักจีนและทำลายสิทธิธรรมในการปกครองของพระเจ้ากรุงสยามในสายตาของเฉียนหลง หวางตี้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมื่อเสร็จศึกด้านพม่าและการปราบปรามชุมนุมใหญ่ทั้งสี่แห่งแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปปราบเมือง  พุทไธมาศของมักเทียนตูต่อไป ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับพม่ายังล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อพม่ายกทัพเข้ารุกรานสยาม สยามได้ฟ้องให้หวางตี้จีน ทรงทราบเพื่อมีพระราชวินิจฉัยตักเตือนพม่า ขณะเดียวกันเมื่อศึกใหญ่กับพม่าจบลง สยามก็หาโอกาสยกทัพไปตีพม่ากลับและถือโอกาสนี้ ขอให้พระเจ้ากรุงจีนผู้ใหญ่บังคับให้พม่าคืนเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรีแก่สยาม ในขณะเดียวกัน พม่าเองก็ได้รายงานสถานการณ์ ดังกล่าวให้จีนทราบ แต่การกระทำของสยาม ทำให้ราชสำนักจีนตำหนิ และส่งพระราโชวาทมาตักเตือน เพราะในมุมมองของจีนนั้นรัฐต่างแดนที่ล้าหลังเหล่านี้ล้วนเป็นข้าขอบขัณฑสีมาที่จีนดูแลอย่างเสมอหน้า ความขัดแย้งถึงขั้นรบพุ่งกันนี้จึงเปรียบเสมือนเด็กทะเลาะกัน ที่ทำให้ผู้ใหญ่ต้องลงมาห้ามปรามพร้อมกับอบรมสั่งสอน ซึ่งแน่นอนว่าเป็น มุมมองและความเข้าใจของจีนเพียงฝ่ายเดียว นอกจากความสัมพันธ์หลักกับพม่าแล้ว ชิงสือลู่ยังได้กล่าวถึงหัวเมืองเหนือ (เชียงใหม่) และเมืองชายแดนเล็กๆ นอกเขตสยามอยู่บ้าง แต่เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มคนและกิจการภายใน ที่ไม่มีนัยในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก การเมืองสยามสมัยต้นรัชกาลที่ 1 ในเอกสารชิงสือลู่ เมื่อ รัชกาลที่ 1 ทรงปรบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1982/พ.ศ.2325 เป็นเวลาเดียวกันกับที่เรือคณะราชทูตสยามของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล่นกลับมาถึงพระนครพร้อมกับสิ่งของมีค่าเต็มลำเรือ เรือทูตคณะนี้เป็นผลแห่งความเพียรพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า กว่าสิบสี่ปีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ติดต่อไปยังจีน แต่ถูกจีนตอบปฏิเสธมาทุกครั้ง กระทั่งครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1781/พ.ศ. 2324 จีนเพิ่งยอมรับสถานะกษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และยอมรับเครื่องราชบรรณาการจากสยาม ปัญหาสำคัญที่จีนยกเป็นข้ออ้างในการไม่รับรองและไม่ติดต่อกับสยาม คือความชอบธรรมใการขึ้นเป็นกษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งจีนยืดมั่นในเรื่องการสืบสายเลือดวงศ์กษัตริย์เดิมอย่าง เคร่งครัด ดังเห็นได้จากการตำหนิสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหลายครั้ง ที่ไม่ยอมสืบหาหรือยกจ้านายในราชวงศ์เดิมขึ้นเป็นกษัตริย์ แม้จะมีคำอธิบายจากสยามไปหลายครั้ง แต่จีนก็หาได้รับฟังไม่ กระทั่งทำให้การค้าขายกับจีนชะงักไปเกือบตลอดสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งมีผลอย่างมากต่อ การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงล้มเหลวในการควบคุมขุนนางและกำลังพล นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปลายรัชกาล ดังนั้น เมื่อพระเจ้าเฉียนหลงทรงยอมรับสถานะของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในช่วงปีสุดท้ายของรัชกาล ภายหลังจากทรงพยายามอยู่หลายปี รัชกาลที่ 1 จึงทรงตระหนักดีว่าคงเป็นการยากที่จีนจะยอมรับการเปลี่ยนวงศ์กษัตริย์ใหม่ของสยามอีกครั้งทั้งๆ ที่จีนเพิ่งยอมรับสถาพระราชวงศ์กรุงธนบุรีไปไม่นาน และราชวงศ์จักรีคงต้องใช้เวลาอีกนานนับสิบปี กว่าที่จีนจะยอมรับรองและแต่งตั้งเช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเผชิญมา
          พระราชสาส์นฉบับแรกของ พระองค์ที่ส่งไปเมืองจีนใน ค.ศ.1782 พ.ศ.2325 จึงระบุไว้ชัดเจนว่าพระองค์เป็น "พระราชโอรส" ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยทรง เล่าให้ทางจีนทราบว่า "เจิ้งเจา พระบิดาประชวรถึงแก่พิราลัย" ส่วนพระองค์คือ "เจิ้งหัว" ผู้ได้รับการมอบหมายจากพระราชบิดาให้ปกครองดูแลอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งชิงสือลู่ได้บันทึกเนื้อหาของพระราชสาส์นจากสยามฉบับนี้ ผ่านรายงานของข้าหลวงมณฑลกวางตุ้ง สิ่งที่เป็นไปได้มาก คือ ข้าหลวงใหญ่และข้าราชการมณฑลกวางตุ้ง ได้รับสินบาทคาดสินบนจากคณะราชทูตสยามและพ่อค้าจีนซึ่งเป็นข้ารับใช้และคุ้นเคยกับระบบราชการจีน เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่เจ้าพนักงาน (เชิงอรรถ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่อๆ มาของราชวงศ์จักรีทรงใช้แซ่เจิ้ง แซ่เดียวกับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยรัชกาลที่ 2 พระนามว่า "เจิ้งฝอ" รัชกาลที่ 3 พระนามว่า "เจิ้งฝู" รัชกาลที่ 4 พระนามว่า "เจิ้งหมิง") ท้องถิ่นของจีน จะไม่ได้ทราบความจริง เรื่องสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะจากสยามองว่า เกิดเหตุการณ์จริงประการใดบ้างในตอนปลายสมัยธนบุรี ความตั้งใจบิดเบือนข้อเท็จจริงนี้ เกิดขึ้นโดยไตร่ตรองอย่าง รอบคอบแล้ว เพราะหากรายงานสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นให้จีนทราบ จีนคงตำหนิติเตียนและไม่ยอมรับรองสิทธิธรรมของรัชกาลที่ 1 แน่นอน อีกทั้งในวลานั้นเชื้อพระวงค์ธนบุรียังดำรงพระชนมชีพอีก หลายพระองค์* การสมอ้างว่าเป็นผู้สืบสายเลือดเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลที่เหมาะสมที่สุดในการสานต่อความสัมพันธ์กับจีนหลังจากที่พากเพียร พยายามมายาวนาน ในพระราชสาส์นฉบับแรกที่ปรากฎในชิงสือลู่จึงกล่าวถึงการขอรับพระราชทานตราตั้งอันใหม่แทนอันเดิมที่ได้รับมา ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แม้ว่ารัชกาลที่ 1 ตั้งพระทัยให้จีนเชื่อตามที่รายงานไป แต่เนื้อหาที่ปรากฎในชิงสือลู่ ได้สะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักสยามประหม่าและกังวลอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับข้อมูลเท็จดังกล่าว เนื้อหาในพระราชสาส์น ฉบับแรกของรัชกาลที่ 1 จึงมีลักษณะถ่อมตนและเยินยอจีนเป็นพิเศษ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ดังความว่า "เจิ้งเจาพระบิดาประชวรถึงแก่พิราลัย ก่อนสวรรคตได้ทรงกำชับให้พระองค์เคารพเทิดทูน ราชสำนักจีน หวังได้อาศัยบุญญาธิการปกป้องคุ้มครองสืบไป" การยกย่องให้เกียรติอย่างสูงสุดแก่จีน คงสร้างความพึงพอใจให้แก่ราชสำนักจีนอยู่ไม่น้อย อีกทั้งตลอดรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ทรงแต่ง "เชิงอรรถ * พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยังมีพระชนมชีพตอนผลัดเปลี่ยน รัชกาล คือ สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งถูกสำเร็จโทษ ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสวรรคตแล้ว) สมเด็จจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ กรมขุนกระษัตรานุชิต เป็นต้น) คณะราชทูตบรรณาการไปจิ้มก้องกรุงจีนอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่โปรดปราของราชสำนักจีน แม้ต่อมาปรากฎหลักฐานภายหลังว่า จีน ได้ทราบความจริงที่เกิดขึ้น และได้ตำหนิกลับมาว่ามิให้กระทำเช่นนั้นอีก แต่นั่นก็ไม่ได้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีน แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันราชสำนักจีนเองก็ตั้งใจเพิกเฉยข้อเท็จจริงนี้เสีย นับเป็นกุศโลบายทางการเมืองอันแยบยล ที่ทำให้ความสัมพันธ์ กับจีนดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น
          เอกสารจดหมายเหตุที่บันทึกว่าการไป “จิ้มก้อง” ของคณะทูตสยามครั้งนี้ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 3,900,000 ตำลึง ดังนั้นทำไมพระเจ้าตากต้องแกล้งบ้า แกล้งตายเพื่อหนีหนี้เพียง 60,000 ตำลึง ยังเป็นข้อน่าสงสัยอยู่ในกรณีนี้
         ดังนั้น หากสภาวะเศรษฐกิจในกรุงธนบุรีตกต่ำขนาดต้องกู้ยืมจีน 60,000 ตำลึงจริงๆ แล้วก็ไม่ควรจะมีความสามารถส่งเรือที่บรรทุกเครื่องราชบรรณาการ 4 ลำ และเรือสินค้าอีก 7 ลำ ไปยังเมืองจีนได้อย่างแน่นอน
         เกี่ยวกับเรื่องเงินที่พระมหากษัตริย์ให้แก่ข้าราชการและทหารของพระองค์นั้น คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ(4) ได้เขียนในหนังสือแผ่นดินพระเจ้าตาก โดยอ้างถึงจดหมายของบาทหลวงในสมัยกรุงธนบุรีได้เขียนไว้เกี่ยวกับเบี้ยหวัดเงินเดือนแก่ข้าราชการและทหาร ความว่า
         “…เมื่อวันที่ 22 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2322 เป็นวันที่จะต้องแจกเบี้ยหวัดเงินเดือนแก่ข้าราชการและทหารที่เข้ารีต พระเจ้าตากจึงได้รับสั่งให้พวกนี้เข้าไปเฝ้าและได้รับสั่งว่าพวกนี้ไม่ได้ไปการทัพมาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้นพวกนี้ไม่ได้ทำการใช้อาวุธอย่างใด จึงสมควรจะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินเดือน [ข้อความตรงนี้ ผมว่าน่าจะผิด ที่ถูกน่าจะเป็นสมควรจะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินเดือน มากกว่า – ผู้เขียน] เพราะเงินพระราชทรัพย์ที่มีอยู่ในห้องพระคลังนั้นเป็นเงินที่พระเจ้าตากได้ทรงหามาได้ด้วยทรงกระทำการดีและทรงได้มาด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้า ก็เมื่อพวกเข้ารีตไม่ยอมทำการอย่างใดที่เกี่ยวด้วยการของพระพุทธเจ้าแล้ว พวกนี้ก็ไม่ควรได้รับเงินอย่างใด แต่ควรจะได้รับพระราชอาญาจึงจะถูก…”
          จะเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ในอดีตนั้นทรงมีรายได้มากกว่ารายจ่ายมากนัก แต่ก็อาจจะมีคนเถียงผมว่า ในสมัยพระเจ้าตากมีศึกสงครามเกือบตลอดรัชกาล แต่อย่าลืมว่าสงครามต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสงครามที่ทรงปราบปรามศึกต่างๆ ที่อยู่ไกลจากธนบุรี ทำให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สามารถทำมาหากินได้โดยไม่เดือดร้อน
          คุณปรามินทร์ เครือทอง(15) ก็มีความเห็นสอดคล้องกับผู้เขียนโดยเห็นว่า
          “…เป็นที่ทราบกันดีว่ากรุงธนบุรีต้องอยู่ในภาวะสงครามอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่การทำไร่ไถนาเมื่อต้นรัชกาลก็มักประสบปัญหา…”
          แต่เมื่อถึงช่วงกลางรัชกาลเป็นต้นมา รัฐบาลกรุงธนบุรีก็สามารถจัดเก็บรายได้จากส่วนต่างๆ จนสามารถตั้งตัวได้ เช่นรายได้จากหัวเมืองขึ้นที่ทรงไปปราบ และยึดทรัพย์สินมาได้ครั้งละมากๆ ยังมีรายได้จากส่วยเมืองขึ้นการค้าต่างประเทศ มีการสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก จดหมายบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจกรุงธนบุรี เมื่อปีจุลศักราช 1141 ตอนปลายรัชกาลว่า เวลานี้ในเมืองไทย การศึกสงครามได้สงบเงียบแล้ว พวกพม่าข้าศึกเก่าของเราไม่ได้คิดที่จะกลับมาตีเมืองไทยอีก และเสบียงอาหารข้าวปลา นาเกลือก็จะกลับบริบูรณ์ขึ้นอีกแล้ว
          ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อถึงช่วงปลายรัชกาลกรุงธนบุรี การเฉลิมฉลองในงานต่างๆ มักจะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ใช้เงินทองจำนวนมาก เช่น งานเฉลิมฉลองพระแก้วมรกตในปีจุลศักราช 1141 เป็นงานใหญ่ใช้เงินจัดงานอย่างมหาศาล หรือแม้แต่ในเดือน 10 เดือน 11 ของปีฉลู “พระราชทานเงินคนยากจนแลข้าราชการน้อยใหญ่เป็นอันมาก” ซึ่งก็สอดคล้องกับความสามารถของกรุงธนบุรีที่ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องราชบรรณาการถึง 4 ลำ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วใน ข้อ ค. นั่นเอง ดังนั้น รายได้ของพระเจ้าตากก็คงจะไม่น้อยไปกว่าพระมหากษัตริย์องค์อื่นๆ ในอดีตเท่าไรนัก ความจำเป็นในการกู้ยืมเงิน 60,000 ตำลึง จึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก
          จ. การใช้แนวคิดของคนยุคปัจจุบันไปใส่ในความคิดของคนยุคกรุงธนบุรีทั้งๆ ที่บริบทต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ เช่น
              จ.1 การกู้เงินจำนวนมาก (60,000 ตำลึง) นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าถ้าเมืองจีนยังไม่ยอมรับสยามในยุคพระเจ้าตากตั้งแต่ต้นดังที่ผมได้วิเคราะห์ไปแล้วในข้อ ข. นั้น แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่เมืองจีนจะให้สยามกู้เงิน
              จ.2 ในเอกสารเรื่องจริงอิงนิทาน พิเศษ 1, 7 ที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้เขียนไว้นั้น ได้กล่าวถึงจีนเจ้าสัวเดินทางจากเมืองจีนเพื่อทวงเงินที่เมืองสยาม แต่สุดท้ายเรืออับปางและถูกโจรสลัดปล้นฆ่า ผมว่าเป็นเรื่องที่ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก เพราะว่า เป็นถึงเจ้าสัวแต่ต้องเดินทางมาทวงเงินด้วยตนเอง ทั้งที่สามารถใช้ลูกน้องคนสนิทมาทวงเงินแทนได้โดยไม่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากการเดินทาง และถึงแม้ว่าเจ้าสัวเสียชีวิตก็น่าจะมีทายาทมาทวงเงินจากพระเจ้าตากต่อไปได้อยู่ดี ไม่ใช่ว่ายอมให้หนี้สูญไปอย่างนี้
              จ.3 การที่จีนจะยกกองทัพมาตีกรุงสยามหากพระเจ้าตากไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้เป็นเรื่องค่อนข้างจะเพ้อฝันมาก เพราะระยะทางจากเมืองจีนมายังกรุงสยามเป็นระยะทางเกินกว่า 1,000 กิโลเมตร และอาณาเขตทั้ง 2 อาณาจักรยังไม่ติดต่อกัน ถ้าจะรบจีนต้องยกทัพผ่านหลายเมือง เช่น ลาว พม่า เป็นต้น
          ฉ. เหตุผลที่ผมมีความเห็นสอดคล้องกับเหตุผลได้จากหนังสือของคุณเตโชไชยการ ที่ไม่เห็นด้วยกับการที่พระเจ้าตากทรงกู้เงินจากจีน กล่าวคือ
              ฉ.1 การทำศึกสงครามไม่ได้ใช้เงินเป็นหลัก แต่ใช้เสบียงอาหาร กำลังพล และอาวุธ เป็นหลักมากกว่า
              ฉ.2 เมืองจีนในขณะนั้นกำลังเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ไม่น่าจะมีเงินให้กู้ยืมจำนวนมาก
              ฉ.3 พระเจ้าตากทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่กู้ชาติไทยจากพม่า ไม่น่าจะทรงกระทำการเบี้ยวหนี้ อันเป็นการเสียพระเกียรติอย่างยิ่งสำหรับกษัตริย์มหาราชเยี่ยงพระองค์

สรุป
          จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

บรรณานุกรม
ปรามินทร์ เครือทอง. (2557). พระเจ้าตากเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
ปรามินทร์ เครือทอง. (2555). ปริศนาพระเจ้าตากฯ. กรุงเทพฯ: มติชน.
วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. (2544). รวมเรื่องสั้นใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
วิบูล วิจิตรวาทการ. (2545). แผ่นดินพระเจ้าตาก. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์. (2551). ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สุทัสสา อ่อนค้อม. (2550) ความหลงในสงสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ทิพยจักร. ญาณพระอริยะ. (2555). ไขปริศนาพระเจ้าตาก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กรีน–ปัญญาญาณ.
สุภา ศิริมานนท์. (2553). ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: กรีน–ปัญญาญาณ.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2559).หมิงสือลู่–ชิงสือลู่ : บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยามฯ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
เตโชไชยการ. (2556). ญาณบารมีหลวงปู่โต รู้ความจริงจากหลวงปู่โต…ใครทุรยศพระเจ้าตากสิน. กรุงเทพฯ: ปราชญ์.
น.นกยูง. (2555). มหาราช 2 แผ่นดิน. นนทบุรี: กรีน–ปัญญาญาณ.
ว.วรรณพงษ์, ภมรพล ปริเชฏฐ์. (2558). พระเจ้าตากสินยังไม่ตาย?. กรุงเทพฯ: คลังสมอง.
ลาลูแบร์, มองซิเออร์ เดอ. (2559). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา. 
แชรแวส, นิโกลาส์. (2550). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ศรีปัญญา.
ปรามินทร์ เครือทอง. (2553). ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน.

คำสำคัญ : สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, พระเจ้าตาก, หนี้สิ้น

ที่มา : https://www.facebook.com/HistoryKrungsriAyutthaya/photos/a.848161005257838/7848150305258838/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2133&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2133&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 709

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 363

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 451

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,790

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 995

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 398

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,803

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,019

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 944

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 504