สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 2,072

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"]

         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงเสด็จออกนำหน้าทัพเมื่อทำศึกสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้ปืนกันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
         สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
         ความล้มเหลวจากการตีเมืองพิษณุโลกทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยเลือกตีเมืองที่อ่อนแอที่สุดก่อน นั่นก็คือเมืองพิมายและนครราชสีมา ขณะนั้นพิมายเป็นหัวเมืองใหญ่กว่านครราชสีมา มีอิทธิพลครอบคลุมไปจรดดินแดนลาวล้านช้างและกัมพูชา จัดว่ามีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก
         เมื่อทรงหายประชวรจากการบาดแผลที่ต้องกระสุนปืนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงจัดทัพเพื่อบุกตีพิมายในทันที
         เจ้าเมืองพิมายในขณะนั้นคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่หนีทัพพม่ามาตั้งตนเป็นใหญ่ที่นี่ พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เป็นเจ้านายที่มีพระปรีชาสามารถมากไม่แพ้พระเจ้าอุทุมพร เพียงแต่เกิดจากนางสนม จึงไม่มีโอกาสขึ้นครองราชย์
         แต่อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นเทพพิพิธก็มิอาจสู้สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ หลังจากเมืองพิมายแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มีพระเมตตาหมายจะชุบเลี้ยงไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเข้าเฝ้า แต่กรมหมื่นเทพพิพิธกลับแสดงกิริยาก้าวร้าว ยโสโอหังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงถูกนำไปประหารชีวิต
         หลังจากยึดพิมายและนครราชสีมาได้ พระองค์ทรงทัพต่อไปที่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่า นครศรีธรรมราชแข็งแกร่งกว่าที่คิด สองแม่ทัพบก คือ พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ ได้เสียชีวิตขณะเข้าตีเมือง กองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินตัดสินใจ เปลี่ยนมาบุกนครศรีธรรมราชทางน้ำแบบสายฟ้าแลบ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคิดไม่ถึงว่ากองทัพกรุงธนบุรีจะมาทางเรือ จึงไม่ได้วางแผนคอยสกัดไว้ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเข้าประชิดปากน้ำเมืองนครแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำหน้ายกพลขึ้นบกตีกองทหารที่รักษาเมืองจนแตก เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเห็นว่าจวนตัวสู้ไม่ได้แน่ จึงหนีไปอาศัยอยู่กับสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี
         สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาเพียง 1 ปี (พ.ศ.2312) เท่านั้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงสามารถรวบรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ทั้งหมดเข้าไว้ในราชอาณาจักรธนบุรีได้สำเร็จ
         หลังจากที่รวบรวมภาคใต้ได้ ปีต่อมา (พ.ศ.2313) สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงจัดทัพขึ้นตีพิษณุโลกเป็นครั้งที่สอง ด้วยบทเรียนความล้มเหลวจากครั้งก่อน ทำให้มีการวางแผนการรบอย่างรอบคอบ เมืองพิษณุโลกถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็มีรับสั่งให้กองทัพ เดินทางขึ้นเหนือต่อไปเพื่อยึดเมืองสวางคบุรี
         เมื่อยึดเมืองสวางคบุรีและพิษณุโลกได้สมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ซึ่งต่อมาคือ ร.1) ขุนศึกที่มีบทบาทสำคัญในการกู้ชาติเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยายมราช” ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
         .....แล้วศึกที่สำคัญที่สุดก็มาถึง นั่นคือการยึดเมือง “เชียงใหม่” ที่ฝ่ายพม่าครอบครองอยู่ เป็นการเปิดศึกกับพม่าโดยตรง ผลปรากฏว่า แม้พระเจ้าตาก + เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระอนุชา ร.1) + พระยายมราช (ต่อมาคือ ร.1) ร่วมกันต่อสู้สุดกำลัง ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ สูญเสียไพร่พลไปมากมาย จนต้องถอยทัพกลับธนบุรีแบบหมดกระบวนท่า
        หลังจากกลับจากศึกเชียงใหม่ครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งให้พระยายมราชเป็น “เจ้าพระยาจักรี”
        กลับมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีได้สามปี ก็เตรียมการตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง ทรงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้องเข้าเฝ้าฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้ายกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ คราวนี้ไม่พลาด เจ้าพระยาจักรีนำทัพเข้าตีประตูสวนดอกทางด้านตะวันตกและประตูเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้แตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ นำทัพเข้าตีทางด้านตะวันออกจนประตูท่าแพแตกกระจุย เจ้าเมืองเชียงใหม่อาศัยประตูทางด้านเหนือที่เหลืออยู่ หนีหัวซุกหัวซุนกลับประเทศไป
        ครานี้สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปีติโสมนัสมากกว่าการชนะศึกทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ข้าหลวงเข้ามาทูลว่า เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ตีเชียงใหม่แตกแล้ว พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ทรงพระสรวลและตรัสว่า “ศึกครั้งนี้เก่งทั้งพี่ทั้งน้อง นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉน” การตีเชียงใหม่ครั้งนี้ยึดอาวุธและพาหนะได้เป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เป็นจำนวนถึง 2,110 กระบอก ม้า 200 ตัว
        >>> หลังจากรวมชาติทุกภาคได้สำเร็จ ยังมิทันได้พักผ่อนพระวรกาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ต้องพบกับศึกเอาคืนครั้งใหญ่ที่สุดจากพม่า นำโดยแม่ทัพนามระบือโลก ผู้สร้างความเข็ดขยาดให้กับกองทัพจีนและอินเดียมาแล้ว ที่ชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้”

คำสำคัญ : สงคราม, พระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ". สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,024

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 766

มหาชนก ร่วมสมัย

มหาชนก ร่วมสมัย

การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 536

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 406

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 869

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 522

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 368

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 950

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 571

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 713