ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 788

[16.8784698, 98.8779052, ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก]

       ความเชื่อเรื่องผีเป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น
       เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่มีกลุ่มชาติพันธ์อาศัยรวมกันเป็นชุมชนหมู่บ้านสลับและกระจายกันไปโดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของจังหวัด มีทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว(ยวน) มอญ จีน ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีความเชื่อในเรื่องผีเฉพาะกลุ่มของตน ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะกลุ่มไทย และลาวก่อนซึ่งกลุ่มอื่นจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
       - กลุ่มไทย ความเชื่อในเรื่องผีที่เห็นและสืบปฎิบัติให้เห็นเช่น ผีที่เป็นใหญ่ในพื้นที่มีคงวามเชื่อในเรื่องผี ศาลหลักเมือง หรือ ผีบรรพบุรุษสะท้อนให้เห็นผ่านประเพณีการทำบุญในช่วงปีใหม่ไทย เช่นการนำอัฐฐิมาปะพรมน้ำอบและทำพิธีบังสุกุล หรือความเชื่อในเรื่องผีผ่านการละเล่นในชุมชนคนไทย แถบชุมชนตรอกบ้านจีน แถบตลุกลางทุ่ง เช่น การเล่นผีนางดง ผีนางช้าง เป็นต้น
       - กลุ่มลาว(ยวน) มีความเชื่อในเรื่องผีที่แรงกล้า เนื่องจากผูกติดและยึดโยงถึงเรื่องความกตัญญูต่อบรรพชนเป็นปฐมบท ดังนั้นหมู่บ้านลาวในเมืองตาก บ้านเกือบทุกหลังล้วนมีโรงผีปูย่า(โรงคือ ศาลที่ตั้งเป็นเพิงหลังเล็กๆมาฉานยื่นออกมา โดยตั้งบนฐานที่เป็นเสาสี่เสา) ไว้เป็นเก๊าผีประจำตระกูล ส่วนบนเรือนบริเวณเสาเรือนเอกหรือเสาเรือนทางด้านทิศเหนือจะเป็นหิ้งผีปู่ย่า เก็บผ้าขาวและแดง(ผ้าผี) เมื่อถึงวาระสำคัญเช่นปีใหม่เมือง(สงกรานต์) บวช แต่งงาน ลูกหลานต้องมีการบอกกล่าวและเลี้ยงผีปู่ย่าเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนั้นบางชุมชนยังมีพิธีเลี้ยงผีที่เป็นใหญ่ในธรรมชาติเพื่อที่แสดงถึงความผูกพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติเช่นชุมชนไม้งาม อำเภอเมืองตาก ยังคงพบประเพณีการเลี้ยงพ่อหลวง(เลี้ยงผีที่เป็นใหญ่บนยอดเขาสูงด้านตะวันตกของสายลำน้ำปิง)
       ความเชื่อในเรื่องผี เป็นความเชื่อที่ปปลูกฝั่งค่านิยมความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และยังสะท้อนความสัมพันธ์ของคนที่พยายามรักษาสภาพธรรมชาติป่าเขาลำน้ำส่งผ่านความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่นเป็นภูมิปัญญาและกุศโลบายที่น่ายกย่องเรียนรู้

(ที่มาของเรื่อง และภาพ อาจารยวิไลวรรณ์ อินทร์อยู่ คุณรัชนิดา น้ำใจดี หนังสือ วิถีคนเมือง : ดร. วิถี พานิชพันธ์ , อาภรณ์ฟ้อนผี : อ.มานพ มานะแซม หนังสืออนุสรณ์งานพระราชฐานเพลิงศพ : คุณพร้อม ไชยนันทน์)

คำสำคัญ : ผี, ความเชื่อ

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/750908531666023

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2058&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2058&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 618

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,150

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 783

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 438

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,175

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,102

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 875

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 474

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,325

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 544