รำวงบ้านเสาสูง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 544
[16.8784698, 98.8779052, รำวงบ้านเสาสูง]
บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2 - 7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง
ในอดีตราวสัก 50 ปี มีคณะรำวงที่มีชื่อคณะหนึ่งเรียกว่ารำวงบ้านเสาสูง ซึ่งคณะนี้มีความสัมพันธ์กับหุ่นกระปอกคณะสังวาลย์ศิลป์หุ่นกระบอกแห่งเดียวในเมืองตาก อาจารย์เจียมจิตร บุตรสาวคุณแม่สังวาลย์เล่าว่า "ที่บ้านหัวศิลปิน คุณป๋าเป็นตำรวจ และมีคณะรำวงมีชื่อของเมืองตากแสดงในงานสำคัญของเมืองเช่นงานวันรัฐธรรมนูญ ลูกหลานจึงได้รับมรดกด้านนี้มาจากความรักความชอบของรุ่นพ่อแม่" รำวงบ้านเสาสูงเป็นเพียงตำนานความทรงจำของย่านนามภูมิสถานให้จดจำ และรอผู้รับและส่งผ่านเพลงรำวงพื้นบ้านให้เป็นลมหายใจของย่านและเมืองสืบไป
(สัมภาษณ์ อาจารย์เจียมจิตร อิ่มเอิบ คุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย อนุเคราะห์ภาพจากบริษัทสถาปนิกสุข จำกัด ครอบครัวทองมา และ ครอบครัวอินทร์อยู่ แห่งตรอกบ้านจีนเมืองตาก)
คำสำคัญ : รำวง
ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/753092381447638
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). รำวงบ้านเสาสูง. สืบค้น 17 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2059&code_db=610001&code_type=TK001
Google search
รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,025
การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 618
หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 3,400
เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 5,109
เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,857
สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 3,405
พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 4,063
เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,698
แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,755
กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,088