ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 784

[16.8784698, 98.8779052, ตรอกบ้านจีน]

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นทางผ่านก่อนไปตำบลหัวเดียดนั้น ที่ไม่ว่าจะหลังหรือก่อนการไปหาอะไรกินในจังหวัดตากยังมีสถานที่อีกเยอะแยะมากมายที่รอให้ทุกคนได้ไปแวะเที่ยว แวะชมและแวะไปเก็บภาพสวย ๆ งั้นเรามาเริ่มดูกันเลยดีกว่า เช่น ชุมชน “ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว บางคนมีลูกหลานก็ส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ทำให้ชุมชนนี้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าในชุมชนตรอกบ้านจีนจะยังคงเงียบสงบอยู่ แต่ก็กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองตากที่นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาเดินเล่นชมบ้านเก่า ๆ ได้

คำสำคัญ : บ้านคนจีน

ที่มา : https://xn--l3ca5bst0b4a5f.xn--ตรอกบ้านจีน

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ตรอกบ้านจีน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2052&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2052&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 923

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 711

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 520

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,165

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 784

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 789

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,175

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 652

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,151

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 618