ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 5,136

[16.8784698, 98.8779104, ประวัติอำเภอเมืองตาก]

คำขวัญจังหวัด

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ                                                                                             

เมืองพระเจ้าตาก ต้านกระบากใหญ่ รวมชาวเขาเผ่าไทย ประทับใจริมปิง

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ                                                                                     

ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

หมายเลขโทรศัพท์                                                                                       0-5551-1007

หมายเลขโทรสาร                                                                                         0-5551-1007

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา                                                                                         

เมืองตากเป็นเมืองลูกหลวงประจำทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เมื่อกูขึ้นเป็นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบด้วยขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อเข้าไพร่ฟ้า หน้าใส" การศึกษาในครั้งนั้น ขุนสามชนพ่ายหนี เมืองตากจึงปลอดภัย

         ในอดีตเมืองตาก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองระแหง" ตั้งเมืองเดิม

อยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะตะเภา อ.บ้านตาก ทางทิศเหนือของตัวเมืองปัจจุบันขึ้นไปประมาณ 24 กิโลเมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานไว้ว่า สาเหตุที่มีการย้ายเพราะที่ตั้งเดิมไม่เหมาะสม เพราะในยามศึกไม่เหมาะสมในการตั้งรับหรือถอยทัพ เนื่องจากมีแนวแม่น้ำปิงขวางกั้นอยู่ โดยเฉพาะข้าศึกพม่าซึ่งมาทางทิศตะวันตก จะถึงตัวเมืองก่อน

          สำหรับที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ก็มีการย้ายสถานที่มาหลายครั้งแล้วเช่นกัน ครั้งแรกอยู่รวมกับศาลากลางจังหวัดต่อมา พ.ศ.2499 อาคารสถานที่คับแคบไม่เพียงพอกับความเจริญ จึงย้ายไปสร้างที่ริมถนนพหลโยธิน ซึ่งขณะนี้เป็นที่ตั้งด้านป่าไม้ตาก  เมื่อ พ.ศ.2508 เกิดเพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอเมืองตากเสียหายหนัก จึงย้ายไปเช่าบ้านของหลวงสรรค์บุรานุรักษ์ จนกระทั่ง     พ.ศ.2510 ได้สร้างและเปิดใช้ที่ว่าการอำเภอแห่งนี้นับตั้งแต่ได้ตั้งอำเภอเมื่อ

พ.ศ.2429 จนถึงขณะนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองตากมาแล้ว จำนวน 39 นาย ถึงปัจจุบัน

2.เนื้อที่/พื้นที่                                                                                               1,599.356 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป                                                                       

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง                                                                                      

1.ตำบล.......10.... แห่ง                                                                                 3.เทศบาล..2.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....104.... แห่ง                                                                               4.อบต........9 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                                                                                                   

1.อาชีพหลัก ได้แก่

เกษตรกรรม อ.เมืองตากมีพื้นที่การเกษตรกรรมทั้งสิ้น 890,409.25 ไร่ มีครัวเรือน ทั้งหมด 22,536 ครัวเรือน (รวมครัวเรือนในเทศบาล) เป็นครัวเรือนเกษตรกร 9,218 ครัวเรือน คิดเป็น 40% ของครัวเรือนทั้งหมด แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8,948 ครอบครัว                                   -

3.จำนวนธนาคาร

 มี 10 แห่ง ได้แก่

ธ.กรุงเทพ โทร.055-512390

ธ.กรุงศรีอยุธยา โทร.055-533781

ธ.ทหารไทย โทร.055-512097

ธ.ไทยพาณิชย์ โทร.055-541430

ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โทร.055-511286

ธ.กรุงไทย โทร.055-511116

ธ.กสิกรไทย โทร.055-511111

ธ.นครหลวง โทร.055-511275

ธ.ออมสิน โทร.055-511147

ธ.อาคารสงเคราะห์ โทร.055-515951

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า                                                                           

มี 3 แห่ง

ด้านสังคม                                                                                                   

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนตากพิทยาคมตาก โทร.055-511134

โรงเรียนผดุงปัญญาตาก โทร.055-511135

โรงเรียนถนอมราษฎร์บำรุง โทร.055-511762

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง โทร.055-515141

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก โทร.055-515900

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ                                               

  1. ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้าน คือ ดินเหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ การทำนาและการปลูกผลไม้ และดินที่ไม่เหมาะสมแก่การเกษตร คือ เนื้อดินเป็นทรายมีชั้นหินศิลาแลง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขา และเทือกเขาสูง
  2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านตลอดแนวอำเภอ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอเมืองตาก
  3. ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้กระยาเลย และไม้เบญจพรรณ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80%
  4. ทรัพยากรแร่ธาตุ อำเภอเมืองตากมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่เฟลด์สปาร์พบในตำบลวังประจบ แร่ผลูออไรด์ พบในตำบลวังหิน หินอ่อน พบในตำบลบัวเหนือ หินปูน พบในตำบลป่ามะม่วง และตำบลแม่ท้อ

ด้านประชากร                                                                                             

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น                                                                            รวม 99,977  คน

2.จำนวนประชากรชาย                                                                                รวม 49,770  คน

3.จำนวนประชากรหญิง                                                                              รวม 50,207 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร                                                                   62 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม                                                                                        

1.ทางบก                                                                                                     - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)

- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2786

2.ทางน้ำ- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์       

3.ทางอากาศ- ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2603 , 0-5551-4057

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม                                                                

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่                                                      

ข้าว ลำไย ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)   แม่น้ำปิง

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่                                                       

โรงงานผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอเมืองจังหวัดตาก

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองตาก. สืบค้น 23 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 819

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,563

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 3,106

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 592

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,089

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,587

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,587

Amazing Journey Go Local : ตาก เมืองรองของไทยต้องไปให้รู้

Amazing Journey Go Local : ตาก เมืองรองของไทยต้องไปให้รู้

สำหรับใครหลายคน เมื่อพูดถึงจังหวัดตากมักนึกถึงเพียงน้ำตกและอำเภอแม่สอดที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศพม่า เมืองท่าสำคัญในการค้าขายระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเมื่อแรกก้าวเข้ามายังจังหวัดตาก บรรยากาศโดยรอบก็กระซิบกับเราทันทีว่าสถานที่แห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเริ่มต้นจากกลิ่นอายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายตัวทั่วจังหวัด ทั้งชาวปกาเกอะญอ ชาวไทใหญ่ ชาวมูเซอ รวมถึงชาวไทยเชื้อสายพม่า ที่ทำให้จังหวัดนี้เต็มไปด้วยความหลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 70

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,704

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,396