สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้ชม 1,405
[16.8784698, 98.8779052, สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ]
บ้านตากหรือเมืองตาก ปรากฏชื่อในหนังสือราชอาณาจักรสยาม ของ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมายังราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ อยุธยา เมื่อปี 2230 หรือก่อนอยุธยาล่ม 80 ปี ได้กล่าวถึงเมืองที่ตั้งอยู่ตาม “แม่น้ำ” หรือแม่น้ำปิง จากเหนือสุดของอยุธยาลงมา เมืองแรกคือ แม่ตาก (Me-Tac) ถัดมาคือเมืองเทียนทอง (Tien-Tong หรือเชียงทอง) ถัดลงมาเป็นกำแพงเพชรและนครสวรรค์ และเมืองที่ตั้งอยู่อีก “แม่น้ำ” หรือแม่น้ำน่าน เมืองเหนือสุดของอยุธยาบนสายน้ำนี้คือ เมืองฝาง ลงมาเป็นเมืองพิชัย เมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตร แล้วมาพบกับแม่น้ำทางตะวันตกที่นครสวรรค์ เมืองต่างๆ ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ปรากฏอยู่ในแผนที่อยุธยาที่ประกอบอยู่ในหนังสือด้วย และได้อธิบายถึงเมืองแม่ตากและเมืองที่อยู่ต่อเนื่อง ดังนี้
“เมือง แม่ตาก นั้นกล่าวกันว่า เป็นเมืองที่มีเจ้าสืบวงศ์ครอบครอง ขึ้นต่อพระเจ้ากรุงสยาม เรียกชื่อเจ้าผู้ครองว่า พญาตาก อันหมายความว่าเจ้าแห่ง(เมือง) ตาก เมืองเทียนทอง นั้นร้างไปแล้วคงจะเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพะโค เมืองกำแพง นั้นเป็นที่รู้กันว่ามีเหมืองเหล็กกล้าอันเป็นเหล็กเนื้อดีวิเศษ…
เมืองพิษณุโลก…เมื่อก่อนนี้ก็มีเจ้าผู้ครองสืบวงศ์เหมือนกัน เช่นเดียวกับเมืองแม่ตาก…” ข้อมูลที่ลาลูแบร์ได้ย่อมมาจากการบอกเล่าของชนชั้นนำในอยุธยา ดังนั้นในความรับรู้เกี่ยวกับเมืองในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้นเห็นได้ว่า เมืองแม่ตาก มีความสำคัญมากพอที่อยู่ในความคิดความจำ ทั้งในด้านภูมิหลังประวัติที่เคยมี “เจ้า” ปกครอง ที่เทียบเคียงได้กับสถานะของเมืองพิษณุโลก และในด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นเมืองปลายเขตแดนเหนือสุดของอยุธยาต่อกับแดนของเชียงใหม่ ซึ่งในสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นจริง บ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตากนั้นคือที่ราบริมแม่น้ำปิง
ถัดจากนี้ขึ้นไปจะมีขุนเขาสูงใหญ่เป็นปราการกั้นเขตแดนกับลำปางและเชียงใหม่ และเหนือบ้านตาก-เมืองตากไม่ไกลนัก เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำวังกับแม่น้ำปิง (บ้านปากวัง อำเภอบ้านตาก)ส่วนเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่งที่อยู่ถัดจากบ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตากลงมา คือเมืองเทียนทอง/เชียงทอง ที่ “ร้างไปแล้ว คงจะเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพะโค” ซึ่งก่อนหน้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์สงครามครั้งสำคัญคือสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก พ.ศ. 2112 ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ถึง 1 ศตวรรษ และเมืองนี้ยังไม่ฟื้นคืนมา เมืองเทียนทองถูกระบุจุดที่ตั้งในแผนที่ของลาลูแบร์ ว่าตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง จากเมืองนี้มีสายน้ำที่เชื่อมไปยังแม่น้ำน่านใต้เมืองพิษณุโลก มีเมืองใหญ่ระหว่างทางคือเมืองสวรรคโลก
โดยสรุปจากข้อมูลในหนังสือของลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมืองที่อยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรตามแม่น้ำปิงขึ้นไป มีเมืองใหญ่เมืองเดียว คือ เมืองแม่ตาก หรือต่อมาคือ บ้านตาก-เมืองตาก ที่เหลืออาจเป็นชุมชนบ้านเล็กบ้านน้อยตามรายทาง
แต่เมื่อถึงสมัยปลายอยุธยา ตามเอกสารมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า เมื่อกองทัพพม่ายกทัพลงมาจากลำปางใน พ.ศ. 2308 เมืองที่สำคัญบนแม่นำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นมามี 2 เมือง ได้แก่ เมืองบ้านตาก-เมืองตาก หรือแม่ตาก และเมืองบ้านระแหง ดังนั้นน่าจะกล่าวอย่างกว้างๆ ได้ว่า หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มา หรือในช่วง 8 ทศวรรษก่อนสิ้นอยุธยา พ.ศ. 2310 นั้น เมืองบ้านระแหงซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ใต้เมืองตากลงมา 30 กิโลเมตร ได้เกิดและเติบโตจนเป็นเมืองสำคัญขึ้นมา ที่ตั้งนั้นเป็นยุทธศาสตร์เมืองหน้าด่านในการติดต่อกับพื้นที่พม่าด้านตะวันตกทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก-บ้านตาก ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงเป็นเมืองปลายแดนกรุงธนบุรีต่อกับแดนลำปาง-เชียงใหม่ ทว่าเมื่อพิจารณาข้อมูลหลักฐานแล้วเมืองบ้านระแหงดูจะมีความสำคัญและมีขนาดที่ใหญ่กว่าเมืองตาก-บ้านตาก
ในสมัยกรุงธนบุรีนี้ เมืองขึ้นต่อเมืองกำแพงเพชรที่อยู่เหนือขึ้นมาตามแม่น้ำปิง มีเมือง 3 เมือง จากเหนือลงใต้ ได้แก่ เมืองตาก-บ้านตาก เมืองบ้านระแหงและเมืองเชียงทอง แต่เมืองบ้านระแหงมีความสำคัญที่สุด ดังในสำเนาท้องตราเรียกระดมทัพจากเมืองต่างๆ ปี พ.ศ. 2317 เพื่อไปปราบเมืองเชียงใหม่นั้นได้ระบุว่า ให้กองทัพเมืองต่างๆ ที่ถูกเรียกระดมมานั้น “ไปเข้ากองทัพรับเสด็จฯ ณ เมืองตากบ้านระแหงเป็นการเร็ว” หรือ “ให้พร้อมกัน ณ บ้านระแหงเมืองตาก” การระบุที่ชุมนุมเตรียมทัพว่า “เมืองตากบ้านระแหง” หรือ “บ้านระแหงเมืองตาก” คือยกสถานะชื่อเมืองตากซึ่งเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยเป็นเจ้าเมือง ให้ดูมีสถานภาพที่สูงขึ้น แต่ความสำคัญที่แท้จริงอยู่ที่บ้านระแหง ในสำเนาบัญชีช้างหลวงของกรุงธนบุรี ปี พ.ศ. 2319 และ 2320 นั้น ระบุกลุ่มเมือง 3 เมืองที่อยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นมา ว่าคือ “เมืองระแหง” โดยมีเจ้าเมือง 3 เมือง ได้แก่ พระยาเชียงทอง พระยาตาก และพระยาสุทัศ ซึ่งชื่อพระยาเจ้าเมืองเชียงทองและตากนั้น ทราบแน่ชัดว่าคือเมืองเชียงทองอยู่ใต้บ้านระแหง และเมืองตากที่อยู่เหนือบ้านระแหงดังนั้นตำแหน่งเจ้าเมืองบ้านระแหงคือพระยาสุทัศและเมื่อพิจารณาการเดินทัพกลับจากเชียงใหม่ของพระเจ้าตาก เมื่อ พ.ศ. 2317 พระเจ้าตากประทับที่เมืองตากไม่ทันข้ามคืน ก็เสด็จมายังบ้านระแหง และประทับที่พระตำหนักสวนมะม่วงบ้านระแหงถึง 6 คืนด้วยกัน ทั้งใน 6 วันคืนนี้ก็มีพระราชกรณียกิจในการบริหารบ้านเมืองด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองบ้านระแหงในยุคกรุงธนบุรีว่ามีมากกว่าเมืองตาก-บ้านตาก
หนังสือราชอาณาจักรและราษฎรสยาม ของเซอร์จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกง ที่ได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางมาทำสนธิสัญญากับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2398 เมื่อกลับไปแล้วได้เขียนหนังสือและพิมพ์เล่มนี้ที่อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 ในบทที่ 1 ภูมิศาสตร์ ระบุว่าราชอาณาจักรสยามมีหัวเมืองต่างๆ 41 เมือง โดยภาคเหนือมี 5 เมือง ได้แก่ สังคโลกหรือสวรรคโลก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิชัย และระแหง ทั้งนี้ในแผนที่สยามท้ายหนังสือนี้ได้ระบุไว้ว่า บ้านตาก (B. Tak) นั้นเป็นเมืองขนาดเล็ก หรือหมู่บ้าน ส่วนระแหง (Rahang) นั้นเป็นเมืองสำคัญหรือเมืองศูนย์กลางของจังหวัด ในเอกสารพงศาวดารที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มักเรียกรวมๆ ว่า “บ้านระแหงแขวงเมืองตาก” ซึ่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าเมืองตากมียศถาบรรดาศักดิ์ว่า “พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงครามรามราชราไชย อภัยภักดีพิรียพาหะ” รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามให้เป็น “พระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงครามรามราชราไชย อภัยพิรียพาหะ” โดยตัดคำว่าภักดีออกไป (รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามของเจ้าเมืองกรมการเมืองในหลายเมือง รวมทั้งนามของขุนนางส่วนกลางอีกจำนวนมากด้วย)
กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดระเบียบกลุ่มเมืองตากบ้านระแหงใหม่ จากเดิมมี 3 พระยาเป็นเจ้าเมืองตาก ระแหง และเชียงทอง ได้ถูกรวบมาเหลือเจ้าเมืองเพียงคนเดียวคือเจ้าเมืองตาก ที่ไม่มีชื่อพระยาตากเป็นเจ้าเมืองอีกต่อไป เป็นการสิ้นสุดตำแหน่งพระยาตากผู้เป็นเจ้าเมืองแม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก
ส่วนเมืองตากในยุครัตนโกสินทร์นี้มีเจ้าเมืองชื่อพระยาวิชิตชลธีฯ มีปลัดเมือง 2 คน ได้แก่ “พระศักดาเรืองฤทธิปลัดไทย” และ “พระวิชิตรักษาปลัดลาว” มียกกระบัตรนาม “พระทิพรักษายกกระบัตร
แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนบ้านตากที่เป็นเมืองตากของพระเจ้าตากก็ถูกลืมเลือนไปด้วยความรับรู้ต่อ “ข้อมูลชุดใหม่” ที่มาจากประวัติเมืองตากฉบับราชการมหาดไทยที่มีฐานโครงสร้างและเนื้อเรื่องมาจากบันทึกการเดินทางล่องแม่น้ำปิงของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. 2464 นั่นเอง
คำสำคัญ : ตาก, เมืองตาก, บ้านตาก, แม่ตาก
ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_25430?fbclid=IwAR0yYNk44_Vu2dptEgUZrZTcRzoWo3PiayzCsPywCxSvdFHQH_tAs8jAreM
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ. สืบค้น 20 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2077&code_db=610001&code_type=TK001
Google search
คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,355
กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,097
นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,357
ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,388
สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,942
การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 754
“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 883
การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 574
หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,245
การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 660