พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 512

[16.8784698, 98.8779052, พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา]

      ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก(เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"
      เขาพระเมิน ที่มาของชื่อจากวรรณกรรมพื้นบ้าน ที่เล่าโดยปราชญชาวบ้านคือ คุณหรั่น มีรินทร์ ที่เล่าในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จังหวัดตาก ถอดความวรรณกรรมสำเนียงลาว(ยวน) ว่า " เขาพระเมิน เปี้ยน (เขา) ตะก่อนพระพุทธเจ้าท่านเสด็จมาโปรดหมู่ชาวบ้านหัวเดียด คนมันเอ็ดตะโร มันเดือนกั๋น (กัน) พระพุทธเจ้าท่านกะรอเมิน(นาน) เปี้ยน(ท่าน) จะเทศน์กะบ่ดาย มันเดือดกั๋น (เอะอะโวยวาย) ร่อบ่อด้าย ท่านกะเลยไปเลย " วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากจะบอกที่มาของชื่อภูเขาแล้วยังสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่มาของชื่อชุมชนคนลาวแห่งหนึ่งในเมืองตากอีกด้วย คุยกับคนเฒ่าเขาไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด และหนังสือคือเพื่อนแท้ตลอดการเดินทางครับ

(ที่มาหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จังหวัดตาก)

คำสำคัญ : การตั้งชื่อ

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/779010918855784

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2062&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2062&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 447

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 500

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 662

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 704

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 512

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 631

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 366

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 991

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,997

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,065