ระบำ ก. ไก่
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 7,763
[16.4336195, 99.4094765, ระบำ ก. ไก่]
ภูมิหลัง
ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา
ความเป็นมา
ชาวบ้านวังพระธาตุมีการละเล่นเพลงระบำ ก. ไก่ มานานนับร้อยปีแล้ว แต่เดิมเนื้อหาของบทร้อง เป็นการโต้ตอบเชิงเกี้ยวพาราสีกันธรรมดา ไม่มีการเล่นคำและอักษรดังเช่นทุกวันนี้ จนเมื่อมีการเรียนการสอนนในโรงเรียนจึงนำอักษร ก-ฮ มาเล่นคำและสัมผัสอย่างมีชั้นเชิงมากขึ้น เมื่อราว 80 ปีที่ผ่านมา
วิธีการเล่น
1. ผู้เล่นประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนเท่าๆ กัน แบ่งเป็นพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่
2. การแต่งกายชุดไทยพื้นบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบนทั้งชายและหญิง ฝ่ายชายใส่เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงใส่เสื้อแขนกระบอก หรือเสื้อผ้าลูกไม้ไม่มีผ้าคาดเอว
3. วิธีการเล่น เริ่มต้นด้วยบทไหวัครูร้องสลับกันระหว่างชายหญิง ลูกคู่รับด้วยคำสร้อยที่ว่า “เอ้อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป” จนถึง ฮ.นกฮูก จึงจบด้วยบทส่งท้าย ระหว่างการร้องนั้นใช้จังหวะปรบมือกำกับเช่นเดียวกับเพลงฉ่อย และขณะร้องพ่อเพลงกับแม่เพลง จะใช้ท่ารำสอดสร้อยมาลา ประกอบการร้องโดยตลอด
4. โอกาสในการเล่น จะเล่นในงานรื่นเริงต่างๆ ของท้องถิ่น ได้แก่ วันตรุษ และสงกรานต์
บทร้องของเพลงระบำ ก. ไก่
บทไหว้ครู
(สร้อย) เอ้อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ก่อนเล่นระบำ ก. ไก่ นั้นจะต้องไหว้ครูก่อน เพราะจะต้องมีครูฝึกสอนจึงจะมาเล่นได้
(สร้อย) ขอไว้ขอพระครูสูงสุด คือ องค์พระพุทธ พระธรรม อีกทั้งสองชี้นำ ทางสดใส ทั้งครูรำ ที่ท่านดังมาก่อน ลูกขอกราบไหว้วาน ซึ่งพระคุณทั้งหลาย ลูกจะร้องจะรำ ขออย่าให้ขัดข้อง ขอให้พระคุณทั้งผองจงช่วยอวยชัย
บทเกริ่น
เรื่องระบำ ก. ไก่ นั้นเป็นของเก่ามาช่วยกันขัดเกลา ให้มันเกิดกลับกลาย (สร้อย) เดี๋ยวนี้ระบำ ก. ไก่ มันไม่มีเหมือนแต่ก่อน เพราะจะเป็นเพียงบทกลอน เป็นเพลงฉ่อยกลายๆ เพราะมันเป็นของเก่า ๆ เราจึงเอามาเกริ่นให้รุ่งเรืองจำเริญ ช่วยอนุรักษ์กันเข้าไว้
บทร้อง
(สร้อย) เอ้อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
(ชาย) แม่ ก. ไก่งามเกิน พี่ร้องเกริ่นทำไมไม่กลับ แม่การะเกดซ่อนอาบช่างส่งกลิ่นหอมไกล (สร้อย)
(หญิง) พ่อ ก. ไก่งามเกิน เห็นจะไม่ได้เกลี้ยกล่อม อย่าทำหน้าเก้ออกกรอบ ไปเลยพ่อหนุ่มบ้านไกล
(ชาย) แม่ ข. ไข่งามขำ น้องอย่งทำขัดข้อง จงหาคู่ไว้ประคอง เสียเมื่อยามเจ็บไข้
(หญิง) พ่อ ข. ไข่งามขำ เห็นจะไม่ได้คลึงเคล้า พอเห็นกกขาขาวๆ ประเดี๋ยวจะนอนเป็นไข้
(ชาย) แม่ ฃ. ขวดขวยเขิฯ ขอให้พี่กกขา ถ้าได้เป็นเขยอยู่คา แล้วพี่ไม่คิดซื้อขาย
(หญิง) พ่อ ฃ. ขวดขวยเขิน ถ้ารักน้องให้มาขอ จะเฝ้ากอดเคลียคลอ แม่แก้มขาวกลัวจะข่าย
(ชาย) แม่ ค. ควายน่าขี่ให้เอาตัวพี่ไปเป็นเจ้าของ มันไม่ได้กอดประคอง ละพ่อหน้าขนเป็นควาย
(หญิง) พ่อ ค. ควายน่าขี่ไม่เอาตัวพี่เป็นเจ้าของ จะขี่ควายลงคลอง ค่อยๆ คลึง ค่อยๆ ไหล
(ชาย) แม่ ฆ. ระฆังดังเคร่ง หรือจะไม่ได้ประคอง แม่นมคัดเหมือนปุ่มฆ้อง หรือรักคาอยู่กับใคร
(หญิง) พ่อ ฆ. ระฆังดังเคร่ง เห็นจะไม่ได้ประคอง พี่อย่ามาพูดคล่องๆ คงจะไม่ได้คลึงไคล
(ชาย) แม่ ง. งูรูปงาม เสียแรงพี่ตามมาง้อ อย่าทำแสนงอนหน้างอ แล้วแม่เงาเดือนหงาย
(หญิง) พ่อ ง. งูปรูปงาม พี่อย่าตามมาง้อ น้องไม่หลงงมหน้างอ ยอมรับผู้ชายง่ายๆ
(ชาย) แม่ จ. จานค้ำจุน บุญมาประจวบกันจัง ถ้าได้ประจำเรือจ้าง ด้วยกันแจวนั้นพี่เข้าใจ
(หญิง) พ่อ จ. จานงามจริง อย่ามารักน้อง เลยจะจ๋า อย่ามาพูดจ้อเจรจา เพราะน้องมันจนเอ๋ยใจ
(ชาย) แม่ ฉ. ฉิ่งงามโฉม มัจทำให้ชอบตาฉัน พี่อยากจะชิดกระชั้น กับแม่ช่อจันทร์ฉาย
(หญิง) พ่อ ฉ. ฉิ่งของฉัน พอเป็นน้ำเชื่อมกระฉ่อน พอได้ชิมเพียงหนึ่งช้อน ก็ลืมแม่ช่อจันทร์ฉาย
(ชาย) แม่ ช. ช้างเชยชม พี่ขอเชิญชวนเผ้าชี้ มาคั่วช่องเอี่ยวชี หวังชิ่งเชิงเอาชัย
(หญิง) พ่อ ช. ช้างเชยชวน อย่ามาแอบชมร้อยชั่ง อย่ามาผูกมารักผูกชัง ให้เป็นเช่นเลยหนอชาย
(ชาย) แม่ ซ. โซ่เดินเซ่อ อย่างถ้าได้เธอเข้ามาซ้อน จะปักซุ้มเอาไปซ่อน อยู่ในซุ้มเชิงไทร
(หญิง) พ่อ ซ. โซ่เดินเซ่อ อย่าทำกระเซอเสียดสี อย่ามาทำเซ้าซี้ เดี๋ยวจะโดนสันตีนซ้าย
(ชาย) แม่ ฌ. กระเฌอเชยชม ขอให้พี่ชิมสักชาม พี่ไม่กระโซกให้ซ้ำ ดอกนะแม่ชื่นใจชาย
(หญิง) พ่อ ฌ. กระเฌอต้นไม้ มันไม่ได้เชยชม แล้วจะไม่ได้ลองชิมหรอกนะพี่หนุ่มลอยชาย
(ชาย) แม่ ญ. หญิงเดินย่างให้คู่ไว้เขย่า เสียเมื่อตัวยังเยาว์ ประเดี๋ยวจะแก่คราวยาย
(หญิง) พ่อ ญ. หญิงเดินย่างอย่างขึ้นต่อขย่ม จะให้ ญ.หญิงเขานิยมเชียวหรือพ่อลำใย
(ชาย) แม่ ฎ. ชฎาเดินดง ถ้าได้น้องเอามาดู จะพาเดินดงดูไม่ทิ้งน้องให้เดียวดาย
(หญิง) พ่อ ฎ. ชฎาเดินดง พี่ได้ดมดอกมาดาม มาเห็นดอกดินดำดำแล้วพี่จะทิ้งดูดาย
(ชาย) แม่ ฏ. ปฏักตัวตัน ที่หลงตนนั่นตอง พี่อยากจะแตะต้องกับแม่นมแต่งเป็นไต
(หญิง) พ่อ ฏ. ปฏักตัวตัน ให้หันหลังไปตรอง มันไม่ได้แตะได้ต้องจะพาตัวมลาย
(ชาย) แม่ ฐ. ฐานถี่ถ้วน อีแม่สวนกระถิน นานไปจะมีมลทินสมควรถ่ายก็ถ่าย
(หญิง) พ่อ ฐ. ฐานถี่ถ้วน อย่ามาถามถึงดอกกระถิน น้องกลัวจะมีมลทิน ไม่ต้องมาคิดถามไถ่
(ชาย) แม่ ฑ. มณโฑนั่งแท่น พี่อยากจะทับแทนที่ ถ้าไม่ได้ทับสักทีจะสู้กระทิกกระทาย
(หญิง) พ่อ ฑ. มณโฑนั่งแน่น มันไม่ได้แทนทับที่ แต่พอได้ทับเข้าไปสักที เดี๋ยวพี่ก็ท้อพระทัย
(ชาย) แม่ ฒ. ผู้เฒ่าเดินเกรอ พี่รักเธอเต็มที่ จนทนกระทิกให้ถี่ๆ น้องอย่าเพิ่งท้อพระทัย
(หญิง) ฒ. เอ๋ย พ่อ ฒ.ผู้เฒ่า แม้กายของเรายังเป็นทุกข์ ความรักยังทายไม่ถูก น้องกลัวไม่สมฤทัย
(ชาย) แม่ ณ. เณรหน้านวล พี่อยากได้น้องมานอนน้าว แม่นมเหมือนหน่วยมะนาว พี่อยากสนิทเนื้อใน
(หญิง) พ่อ ณ. เณรตัวน้อย มันไม่ใช้วาสนา มันไม่ได้รจนา เสียแล้วพ่อแก้วเจียระไน
(ชาย) แม่ ด. เด็ก สวยเด็ด สงสารได้โด่ไถเดี่ยว ที่ได้ดั้นด้นมาเที่ยงคนเดียวเอ๋ยดมดาย
(หญิง) พ่อ ด. เด็ก คนดี น้องมันมีปมด้อย พอเด็ดดมเข้าสักหน่อย แล้วพี่ก็ทิ้งให้เดียวเอ๋ยดาย
(ชาย) แม่ ต. เอ๋ย ต.เต่า แลดูสองเต้าน้องเต่ง เหมือนทองขึ้นตาเต็งพี่หลงลืมตาย
(หญิง) พ่อ ต. เต่าตีนต่ำ พี่อย่ามาทำอวดโต ประเดี๋ยวจะโดนมีดโต้ถ้าไม่รักตัวกล้วตาย
(ชาย) แม่ ถ. เอ๋ย ถ.ถุง เปรียบเหมือนนาทุ่งสองแคว ไอ้ทุ่งนาทั้งสองแถวนั้นน้องจะไม่ให้ใครไถ
(หญิง) พ่อ ถ. เอ๋ย ถ.ถุง น้องมีนาทุ่งสองแถว แต่ทุ่งนาทั้งสองแถวนั้นน้องจะไม่ให้ใครไถ
(ชาย) แม่ ธ. ธงสีทอง พี่เที่ยวท่องมาหลายเที่ยว เมื่อมีหนทางพี่ก็ต้องเทียวมาหาแม่แสงอุทัย
(หญิง) พ่อ ธ. ธงชาติไทย น้องกลัวรักไม่ซื่อตรง ให้พี่ไปยกเสาธงเอาไว้สำหรับเสี่ยงทาย
(ชาย) แม่ น. หนูเนื้อนิ่ม พี่อยากเจอหน้านวลน้อง แม่ดอกโสนในหนองพี่อยากแนบเนื้อนางใน
(หญิง) พ่อ น. หนูหน้านวล มันไม่ได้น้องไปนอนน้าว จะต้องไปนอนหนาว ก็เพราะไม่ได้นางใน
(ชาย) แม่ บ. ใบไม้ใบบาง อย่าทำเป็นใบ้บ้าบ่น ให้หาคู่เทินบนเสียเถิดแม่บัวบังใบ
(หญิง) พ่อ บ. ใบบัวบาง อย่าทำเป็นใบ้บ้าบ่น อย่าทำเหมือนคนเป็นบ้า อย่ามาหลงรักบุษบาเลยนะพ่อบ่อทองใบ
(ชาย) แม่ ป. ปลานมปั้น โดนใครปั้นมาบ้างหรือไม่ แม่ ป.ปืนยิ่งเป้าจงว่าความเป็นไป
(หญิง) พ่อ ป.ปลางามป้อ มันไม่ได้แม่ปอสุกปลั่ง ให้กลับไปทำนาปรัง ไปเถอะไปพี่ไป
(ชาย) แม่ ผ.ผึ้งโผผิน พี่มาประสบพบผ่าน จะพาตัวน้องผายผัน เข้าไปในพุ่มป่าไม้
(หญิง) พ่อ ผ.ผึ้งบินผ่าน น้องไม่เอาทำผัว อย่ามาหลงพันพัว มันไม่ได้ตอดอกไผ่
(ชาย) แม่ ฝ.ฝาหน้าฝน ถึงอยู่คนละฟาก พี่จะเอารักมาฝากกับแม่แก้มเป็นไฝ
(หญิง) พ่อ ฝ.ฝาหน้าฝน อย่ามาพ่นเป็นฝอย น้องนี้ไม่ใช่ใฝ่ฝัน ถึงแม้จะฆ่าจะฟัน ก็ไม่ได้แก้มเป็นไฝ
(ชาย) แม่ พ.พานงามพร้อม เสียงช่างเพราะเหมือนพิณ พี่อุตส่าห์โผผินมาหาแม่ผ่องอำไพ
ฯลฯ
คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน
ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ระบำ ก. ไก่. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=125&code_db=610004&code_type=01
Google search
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,074
ต้นทับทิม จัดเป็นต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้านที่ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย โดยสามารถนําใบต้นทับทิมมาปะพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือขจัดสิ่งชั่วร้ายได้ อีกทั้งผลทับทิมก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและบํารุงฟันให้แข็งแรง ทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่าเพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนํามาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 194
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,251
“การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,068
ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,526
ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,008
ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,234
“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,121
ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,821
เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 2,147