ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 1,510
[16.4749669, 99.5236403, ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร]
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย ส่วนกิจกรรมภายในงาน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการประกวดขบวนแห่ธิดาชุมชนบนรถที่ตกแต่งเป็นกระทงใหญ่ การประกวดกระทงลอย ประกวด นางนพมาศและหนูน้อยนพมาศ การแสดงแสงเสียงชุด ผ้าป่าแถว ประทีปแก้ว ธาราขวัญ สวรรค์แห่งชากังราว ที่กลางแม่ น้ำปิง การปล่อยกระทงสายหลายพันดวง มหรสพต่างๆ และการจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียงชุดใหญ่อย่างมากมาย
งานวันลอยกระทง ของกำแพงเพชร เราเรียกกันว่าธารประทีปกำแพงเพชรมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของทุกปี หลังจากการทอดผ้าป่าแถวประชาชน มีการละเล่นต่างๆกัน ในสมัยโบราณมีการเล่นเพลงเรือ แล้วจึงไปลอยกระทงกัน ที่ท่าน้ำวัดชีนางเกา วัดเสด็จ วัดบาง และวัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นประเพณี สืบต่อกันมาหลายร้อยปี
นางนพมาศในสมัยสุโขทัย เป็นธิดาของนางเรวดี กับพระศรีมโหสถ ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัว ทำให้พระร่วงเจ้าทรงโปรดปรานมาก และทรงสถาปนาให้เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และสาปสรรค์ว่า แต่นี้ต่อไป การลอยพระประทีป ในสยามประเทศ ให้ทำกระทงเป็นรูปดอกกุมุท
ปัจจุบันกำแพงเพชรมีท่าน้ำที่สวยงามเหยียดยาว ที่ริมสายน้ำปิง ผู้คนหลายหมื่นคนพากันมาลอยกระทง มีการละเล่นมากมาย ที่กลางลำน้ำมีการแสดง แสงเสียงเราเรียกกันว่า วชิรวารประทีป หรือธารประทีปกำแพงเพชร เป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความรู้และความเข้าต่อประชาชนในกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียง ทำให้งานธารประทีปกำแพงเพชร อยู่คู่กับกำแพงเพชรตลอดไป
ภาพโดย : http://www.siamfreestyle.com/images/content_images/attraction_images/tak/tak_att170007003.jpg
คำสำคัญ : ประเพณีลอยกระทง
ที่มา : http://sunti-apairach.com/06/06D.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 1 เมษายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=134&code_db=610004&code_type=01
Google search
ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้ เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ ๓๒ และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,077
เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 623
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
การตักบาตรข้าวต้ม กระทำขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ มีตำนานเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกลับลงมายังโลก ณ เมือง สังกัสคีรี ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งต่อมาถือว่าเป็นวันเปิดโลก หรือวันที่โลกมนุษย์ สวรรค์และนรกต่างมองเห็นกัน ในครั้งนั้น ประชาชนจำนวนมากต่างมาเฝ้ารอรับเสด็จ เพราะปรารถนาจะใส่บาตรกับพระพุทธองค์ แต่คนที่อยู่ห่างออกไป ไม่สามารถใส่ถึง จึงใช้วิธีโยนอาหารของตนลงในบาตรของพระพุทธเจ้า และพระสาวก และอาหารต่างๆเหล่านั้นก็ตกลงในบาตรได้พอดีเป็นที่น่าประหลาดใจ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,615
ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 2,536
ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 255
เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,277
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,115
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,490
เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,282
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,744