เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 6,568

[16.4258401, 99.2157273, เสน่ห์จันทน์แดง]

เสน่ห์จันทน์แดง ชื่อสามัญ King of Heart

เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลาย ๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง
  • ใบเสน่ห์จันทน์แดง ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงส่วนยอดของลำต้น ก้านใบเป็นสีแดงและยาวกว่าแผ่นใบ โคนก้านใบเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และยาวประมาณ 6-12 นิ้ว แผ่นใบเป็นสีเขียวสด เส้นใบเป็นสีแดง (หากโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสี) ส่วนก้านใบมีลักษณะกลมยาวเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูตลอดทั้งก้านใบ
  • ดอกเสน่ห์จันทน์แดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณกลางต้น ลักษณะของดอกเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว มีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มเอาไว้
  • ผลเสน่ห์จันทน์แดง ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก จับดูจะนุ่ม ๆ

สรรพคุณของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ (ทั้งต้น)
  • ใบใช้ภายนอกเป็นยารักษาแผล (ใบ)
  • หัวหรือเหง้าใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอก โดยจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบได้ (หัว)

ข้อควรระวัง : เสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบจะมีสารพิษชนิดหนึ่ง ฉะนั้นการนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเสน่ห์จันทน์แดง

  • เมื่อใช้ไอน้ำกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยและมีสารประกอบจำพวก linalyl acetate, -terpineol-l-linalool 60%

ประโยชน์ของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางประดับทั่วไปในบริเวณบ้าน หรือปลูกตามแนวต้นไม้ใหญ่ เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงาม เพราะความโดดเด่นของแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจที่มีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มของก้านใบ ว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มและในที่มีแสงแดดจัด แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยทนทาน จึงต้องการการดูแลรักษาอยู่พอสมควร โดยควรปลูกในดินร่วนหรือดินทราย และควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้าและเย็น
  • เสน่ห์จันทน์แดงเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศได้ปานกลาง โดยเฉพาะสารพิษจำพวกแอมโมเนีย
  • ในด้านของความเป็นมงคล ว่านเสน่ห์จันทน์แดงจัดเป็นไม้มงคลในเรื่องมหานิยม หากปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะเป็นศรีมีเสน่ห์แก่ครอบครัว และหากผู้ใดจะคิดเข้ามาทำร้ายใดๆ ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะจะทำให้คนร้ายผู้นั้นกลับมีจิตใจที่มีเมตตาขึ้นมาแทน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหากปลูกไว้แล้วจะโชคดี ถ้านำมาตั้งไว้ในร้านค้าจะช่วยให้ค้าขายดีมีกำไร เป็นเมตตามหานิยมแก่คนทั่วไป และหัวยังใช้แกะเป็นรูปนางกวักได้เช่นเดียวกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว ส่วนวิธีการปลูกนั้นให้นำอิฐหักทุบให้แหลกละเอียดตากน้ำค้างไว้ 1 คืน แล้วเอามาปนดินที่ปลูกด้วยหัวว่าน โดยให้ปลูกในวันจันทร์ และเวลารดน้ำให้เสกด้วยคาถานะโม พุทธายะ 3 จบ (ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นว่านคู่กันกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว หากนำมาปลูกไว้คู่กันจะทำให้ขลังดีนักแล)

คำสำคัญ : เสน่ห์จันทน์แดง

ที่มา : https://www.xn--42cg8cuanoj5b9czdzg.com/16964476/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เสน่ห์จันทน์แดง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1793&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1793&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,568

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,662

ผักขวง

ผักขวง

ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 4,193

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,864

ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ต้นผักกาดหอม ลักษณะของลำต้นในระยะแรกมักจะมองไม่เห็น เพราะใบมักปกคลุมไว้ แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อถึงระยะแทงช่อดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น โดยแต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ ลักษณะของลำต้นจะค่อนข้างอวบอ้วนและตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ลำต้นอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 2 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,612

ข่า

ข่า

ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,147

กระจับ

กระจับ

ต้นกระจับเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ใบกระจับมี 2 แบบ คือ ใบใต้น้ำเป็นเส้นยาวคล้ายราก ส่วนใบลอยน้ำรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบใบจักแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างมีสีแดง ก้านใบยาวตรงกลางพองออก ดอกกระจับเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานเหนือน้ำ ผลกระจับเมื่อเป็นผลจะจมลงใต้น้ำ ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งเขางอโค้งคล้ายเขาควาย กระจับชนิดนี้มีปลายเขาแหลม

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,298

มะขวิด

มะขวิด

ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,057

เก๋ากี้

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,838

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 7,210