มะขวิด

มะขวิด

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 7,374

[16.4258401, 99.2157273, มะขวิด]

มะขวิด ภาษาอังกฤษ Limonia, Curd fruit, Elephant apple, Gelingga, kavath, Monkey fruit, Wood apple

มะขวิด ชื่อวิทยาศาสตร์ Feronia limonia (L.) Swingle (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Limonia pinnatifolia Houtt.) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Limonia acidissima Groff (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Schinus limonia L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย AURANTIOIDEAE

สมุนไพรมะขวิด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะยม (ภาคอีสาน), มะฝิด (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของมะขวิด

  • ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง
  • ใบมะขวิด ใบออกเป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดกันเป็นกระจุกในบริเวณปุ่มตามกิ่งต่าง ๆ ช่อใบยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมี 1-4 ปล้อง หลังใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง ส่วนท้องใบจะมีสีจางกว่า เมื่อเอาใบมาส่องผ่านแสงจะเห็นเป็นต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นรูปรี ๆ ใส ๆ มากมาย ส่วนขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยจะสั้นมาก แต่ก้านช่อใบจะยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
  • ดอกมะขวิด ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมสีแดงคล้ำๆ ในแต่ละช่อดอกจะมีทั้งดอกเพศผู้และดอกรวมเพศ
  • ผลมะขวิด หรือ ลูกมะขวิด ผลมีลักษณะกลมตัว เป็นผลแห้ง เปลือกภายนอกแข็งเป็นกะลา มีสีเทาอมขาวหรือผิวเป็นขุยสีขาวปนสีชมพู ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีเนื้อมาก เนื้อในผลอ่อนนิ่ม เมื่อผลสุกแล้วเนื้อเยื่อจะเป็นสีดำ สามารถใช้รับประทานได้ โดยให้รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม มียางเหนียว ส่วนในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนาและมีขน สามารถนำมาเคี้ยวรับประทานได้เช่นกัน

สรรพคุณของมะขวิด

  1. ผลใช้เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น (ผล)
  2. ผลดิบนำมาหั่นให้บางแล้วตากให้แห้ง ใช้ชงกับน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ผล)
  3. ยางมะขวิดช่วยเจริญธาตุไฟในร่างกาย (ยาง)
  4. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด[1]ด้วยการนำผลดิบมาหั่นให้บางแล้วตากให้แห้ง นำมาใช้ชงกับน้ำกิน (ผล)
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  6. ช่วยแก้ลงท้อง (ราก, เปลือก, ดอก)
  7. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ใบ) ยางจากลำต้นมีสีจำพวกแทนนิน ใช้เป็นยารักษาโรคท้องร่วงได้เช่นกัน (ยางจากลำต้น)
  8. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ใบ) ช่วยบำบัดโรคท้องเสีย (ผล, ยาง)
  9. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (ผล)
  10. ใบช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
  11. ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก, ผล)[1]
  12. ช่วยแก้อาการตกโลหิต (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก) ช่วยห้ามโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
  13. ช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ราก, เปลือก, ใบ, ดอก, ผล)
  14. ใบมะขวิดใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบ) ช่วยสมานบาดแผล (ยาง)
  15. ยางจากลำต้นมะขวิดสามารถนำมาใช้ห้ามเลือดได้ (ยางจากลำต้น)
  16. ช่วยแก้บวม (ราก, เปลือก, ดอก, ผล)
  17. ใบนำมาตำใช้พอกหรือทาแก้อาการฟกบวม ปวดบวม ช่วยรักษาฝี และโรคผิวหนังบางชนิดได้ (ใบ)
  18. สารสกัดจากใบสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรคในหลอดทดลองได้ (ใบ)

ประโยชน์ของมะขวิด

  1. ต้นมะขวิดใช้ปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์เพื่อความสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกในส่วนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม เจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรง
  2. ผลมะขวิดใช้รับประทานสด และยังสามารถนำไปทำเป็นน้ำผลไม้และแยมได้
  3. ผลใช้เป็นอาหารของนกได้
  4. เมล็ดสามารถนำมาเคี้ยวรับประทานได้ รสอร่อยใช้ได้
  5. ยางของผลมะขวิดมีความเหนียว สามารถนำมาใช้ทำเป็นกาวเพื่อใช้ติดหรือเชื่อมต่อสิ่งของต่าง ๆ ได้
  6. เนื้อไม้ของต้นมะขวิดเป็นเนื้อไม้แข็ง สามารถนำมาใช้ในงานช่างได้

คำสำคัญ : มะขวิด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะขวิด. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1691&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1691&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,471

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,057

งิ้ว

งิ้ว

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ ออกตั้งฉากกับลำต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่หรือรูปรีปลายเรียวแหลมโคนสอบแคบ ดอกสีแดง ตามปลาย ๆ กิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน มันเป๋นเงากลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมากโคนก้าน เกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ผลรูปรี หรือรูปขอบขนาน คล้ายผลนุ่น เมล็ดสีดำ หุ้มด้วยปุยสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,642

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,931

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,209

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,824

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,574

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,575

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,096

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,682