ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 9,962

[16.4258401, 99.2157273, ผักกาดหอม]

ผักกาดหอม ชื่อสามัญ Lettuce

ผักกาดหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactuca sativa L. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

สมุนไพรผักกาดหอม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักกาดยี (ภาคเหนือ), สลัด สลัดผัก ผักสลัด (ภาคกลาง), ผักกาดปี, พังฉาย พังฉ่าย พังฉ้าย (จีน) เป็นต้น โดยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีการปลูกผักกาดหอมมาช้านานแล้ว

ลักษณะของผักกาดหอม

  • ต้นผักกาดหอม ลักษณะของลำต้นในระยะแรกมักจะมองไม่เห็น เพราะใบมักปกคลุมไว้ แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อถึงระยะแทงช่อดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น โดยแต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ ลักษณะของลำต้นจะค่อนข้างอวบอ้วนและตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ๆ ลำต้นอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 2 นิ้ว
  • รากผักกาดหอม มีรากเป็นระบบรากแก้วที่แข็งแรงและอวบอ้วน รากแก้วสามารถหยั่งลึกลงดินได้ถึง 5 ฟุต หรือมากกว่านั้น แต่การย้ายไปปลูกจะทำให้รากแก้วเสียหายได้ (แต่การย้ายปลูกจะมีผลดีช่วยทำให้ผักกาดหอมประเภทหัว ห่อหัวได้ดีขึ้น) และรากที่เหลือจะเป็นรากแขนง แผ่กระจายอยู่ใต้ผิวดินประมาณ 1-2 ฟุต โดยรากจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ไม่ค่อยแพร่กระจายมากนัก โดยเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อปลูกในดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นเพียงพอ
  • ใบผักกาดหอม ใบมีสีตั้งแต่เขียวอ่อน สีเขียวปนเปลือง ไปจนถึงสีเขียวแก่ แต่สำหรับบางสายพันธุ์จะมีสีแดงหรือมีสีน้ำตาลปนอยู่ ทำให้มีสีแดง สีบรอนซ์ หรือสีน้ำตาลปนเขียว ใบจะแตกออกมาจากลำต้นโดยรอบ โดยพันธุ์ที่ห่อเป็นหัวจะมีใบหนา และมีเนื้อใบอ่อนนุ่ม ใบห่อหัวอัดกันแน่นคล้ายกับกะหล่ำปลี ส่วนใบที่ห่ออยู่ข้างในจะเป็นมัน ส่วนบางชนิดจะเป็นใบม้วนงอเปราะ เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ขอบใบมีลักษณะเป็นหยัก โดยขนาดและรูปร่างของใบนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด
  • ดอกผักกาดหอม ออกดอกเป็นช่อดอกรวม ประกอบไปด้วยกลุ่มของดอกที่อยู่กันเป็นกระจุกตรงส่วนยอด ในแต่ละกระจุกจะประกอบไปด้วยดอกย่อยประมาณ 15-25 ดอกหรือมากกว่านั้น ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 2 ฟุต ส่วนช่อดอกอันแรกจะเกิดบริเวณยอดอ่อน หลังจากนั้นจะเกิดบริเวณมุมใบ โดยช่อดอกที่เกิดบริเวณยอดจะมีอายุมากที่สุด ดอกผักกาดหอมเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีเหลือง ตรงโคนเชื่อมติดกัน มีรังไข่ 1 ห้อง เกสรตัวเมีย 1 ก้าน มีลักษณะเป็น 2 แฉก ส่วนเกสรตัวผู้จะมี 5 ก้าน อยู่รวมกันเป็นยอดยาวห่อหุ้มก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียไว้
  • เมล็ดผักกากหอม หรือ เมล็ดผักสลัด เมล็ดเป็นชนิดเมล็ดเดียวที่เจริญมาจากรังไข่อันเดียว เมล็ดมีลักษณะแบนยาว หัวท้ายแหลมคล้ายรูปหอก และมีเส้นเล็ก ๆ ลาดยาวไปตามด้านยาวของเมล็ดบนเปลือกหุ้มเมล็ด เมล็ดมีเปลือกหุ้มเมล็ด บาง เปลือกจะไม่แตกเมื่อเมล็ดแห้ง เมล็ดมีสีเทาปนสีครีม มีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร

สายพันธุ์ผักกาดหอม

ในปัจจุบันมีการปลูกผักกาดหอมเพื่อใช้ในการบริโภคอยู่ 3 ชนิดใหญ่ ๆ ซึ่งได้แก่

ผักกาดหอมใบ (Leaf lettuce) ในประเทศไทย ผักกาดหอมใบจะเป็นที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากกว่าผักกาดหอมชนิดอื่นๆ โดยเป็นผักกาดที่ใบไม่ห่อเป็นหัว ใบมีขนาดกว้างใหญ่และหยิก ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย โดยผักกาดหอมใบจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีสีเขียวทั้งต้นและชนิดที่มีสีน้ำตาลทั้งต้น

ผักกาดหอมห่อ (Head lettuce) เป็นผักกาดหอมที่ใบจะห่อเป็นหัว เพราะมีใบเรียงซ้อนกันแน่นมาก โดยผักกาดหอมห่อจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • ชนิดห่อหัวแน่น (Crisp head) ลักษณะของใบจะบาง กรอบ และเปราะง่าย สามารถเห็นเส้นกลางใบได้ชัดเจน ใบจะห่อเป็นหัวแน่นคล้ายกับหัวกะหล่ำปลี และเป็นชนิดที่นิยมปลูกกันมากในทางการค้าเพราะขนส่งได้สะดวก
  • ชนิดห่อหัวไม่แน่น (Butter head) ลักษณะของใบจะห่อเป็นหัวแบบหลวม ๆ ใบอ่อนนุ่ม ผิวใบมัน ใบไม่กรอบ โดยใบที่ซ้อนกันอยู่ข้างในจะมีลักษณะเหมือนถูกเคลือบไว้ด้วยเนยหรือน้ำมัน เพราะมีลักษณะอ่อนนุ่มและเป็นเมือกลื่น ๆ และใบข้างในจะซ้อนทับกันพอประมาณ มีสีเหลืองอ่อน ๆ คล้ายกับเนย
  • ชนิดห่อหัวหลวมค่อนข้างยาว ลักษณะของใบจะห่อเป็นรูปกลมยาวหรือเป็นรูปกรวย คล้ายกันผักกาดขาวปลี ใบจะมีลักษณะยาวและแคบ ใบแข็ง ชนิดนี้จะนิยมปลูกกันมากในทวีปยุโรป และยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ พันธุ์ที่มีหัวขนาดใหญ่ และพันธุ์ที่หัวขนาดเล็ก

ผักกาดหอมต้น (Stem lettuce) ลักษณะของลำต้นจะอวบ มีลำต้นสูง ใบจะเกิดขึ้นต่อกันไปจนถึงยอดหรือช่อดอก ลักษณะของใบคล้ายกับผักกาดหอมใบ แต่ใบจะเล็กกว่า มีความหนาและมีสีเข้มกว่า โดยมีทั้งชนิดกลมและยาว ไม่ห่อหัว โดยผักกาดหอมต้นนี้จะปลูกไว้เพื่อรับประทานต้นเท่านั้น

สรรพคุณของผักกาดหอม

  1. ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)
  2. น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)
  3. ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า "แลกทูคาเรียม" (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง
  4. ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  5. ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง
  6. น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)
  7. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  8. เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น)
  9. น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)
  10. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
  11. การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)
  12. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)
  13. ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
  14. ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ, เมล็ด)
  16. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)
  17. เมล็ดผักกาดหอมใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)
  18. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)
  19. ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)
  20. ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)
  21. เมล็ดผักกาดหอมช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)

ประโยชน์ของผักกาดหอม

  1. ผักกาดหอมเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำ จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
  2. การรับประทานผักกาดหอมร่วมกับแคร์รอตและผักโขมจะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงามได้
  3. ผักกาดหอมเป็นผักที่นิยมบริโภคใบ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นผักที่นิยมบริโภคมากที่สุดในบรรดาผักสลัด และยังนิยมนำมารับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย สำหรับคนไทยแล้วจะนิยมใช้รับประทานกับอาหารจำพวกยำต่าง ๆ เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น
  4. นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารที่ดีแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ตกแต่งอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  5. ปัจจุบันมีการใช้ยาง (Latex) ที่สกัดจากผักกาดหอมออกมาจำหน่ายในรูปแบบยา มีทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ด

คำสำคัญ : ผักกาดหอม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกาดหอม. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1686&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1686&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,423

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,868

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,360

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,937

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,749

มะดัน

มะดัน

มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,231

ผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 4,491

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 6,356

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 12,099

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 5,151