สันพร้าหอม
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,993
[16.4258401, 99.2157273, สันพร้าหอม]
สันพร้าหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium stoechadosmum Hance) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรสันพร้าหอม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าเสือมอบ (ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี), เกี๋ยงพาใย (ภาคเหนือ), ซะเป มอกพา หญ้าลั่งพั้ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พอกี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลานเฉ่า เพ่ยหลาน (จีนกลาง), ผักเพี้ยฟาน, ส่วนกรุงเทพฯ เรียก "สันพร้าหอม" เป็นต้น
ลักษณะของสันพร้าหอม
- ต้นสันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
- ใบสันพร้าหอม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว หลังใบมีขนปกคลุม เส้นใบคล้ายรูปขนนก เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นหอม ใบบริเวณโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าและแห้งง่าย
- ดอกสันพร้าหอม ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น คล้ายซี่ร่ม ช่อดอกยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ก้านหนึ่งมีประมาณ 10 ช่อ เรียงติดกัน 2-3 แถว แถวด้านนอกมีขนาดสั้นกว่าแถวด้านใน ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ดอกยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก
- ผลสันพร้าหอม ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ผลเป็นสีดำ มีสัน 5 สัน ผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อสุกผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอมดำ
สรรพคุณของสันพร้าหอม
- ทั้งต้นมีรสเผ็ด มีกลิ่นหอม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้ามและกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง (ทั้งต้น)ทั้งต้นนำมาบดให้เป็นผง ทำเป็นชาสำหรับชงดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ทำให้เลือดไหลเวียนดี และช่วยแก้อาการวิงเวียน (ทั้งต้น)
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)ใช้เป็นยาแก้พิษเบื่ออาหาร (ใบ)
- ใบมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ใบ)
- ช่วยบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อนจัด ไข้แดด (ทั้งต้น) ส่วนตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้แดด ระบุให้ใช้ใบสันพร้าหอม 5 กรัม, ใบสะระแหน่ 5 กรัม, ใบบัวหลวง 5 กรัม, พิมเสนต้น 5 กรัม, ปี่แปะเอี๊ยะ 30 กรัม, โหล่วกิง 30 กรัม และเปลือกฟัก 60 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
- ตำรับยาแก้หวัด ระบุให้ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลง ต้มต่ออีกประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา หรือนำมาบดเป็นผงทำเป็นชาชงดื่ม (ทั้งต้น)
- ใช้บดกับน้ำ เติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเป็นยาแก้ไอ บรรเทาอาการหอบหืดในเด็กและผู้ใหญ่ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ปากแห้ง น้ำลายเหนียว (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น (ทั้งต้น)
- ใช้ขยี้ดมแก้ลมชัก แก้ลมมะเฮ็ดคุด (ปวดไม่หาย) ซึ่งจะช่วยทำให้สดชื่นรู้สึกปลอดโปร่งและช่วยกระจายเลือดลมไปเลี้ยงสมองได้ดี การใช้สมุนไพรชนิดนี้จะช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้อาการวิงเวียนและอาการปวดศีรษะลดลงด้วย (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ลมขึ้นจุกเสียด แก้ลมขึ้นเบื้องสูง แน่นหน้าอก (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)
- ใบใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับลาบ นอกจากใบจะอุดมไปด้วยวิตามินซีแล้ว หมอเมืองยังเชื่อว่าสันพร้าหอมเป็นยาปรับธาตุ เป็นทั้งยาช่วยระบายและแก้อาการท้องร่วงในเวลาเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมากินกับน้ำพริก ส่วนชาวเขาทางภาคเหนือจะใช้ยอดอ่อนกินเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกเช่นกัน (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ กระเพาะลำไส้อักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ หรือใช้จับเลือดเสียหลังการคลอดบุตรของสตรี ให้ใช้ราก 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด พอเดือดหรี่ไฟลงต้มต่อไปอีก 15 นาที ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้วประมาณ 125 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา (ราก[1],[5], ทั้งต้น)
- ทั้งต้นใช้เป็นยากระตุ้นความกำหนัด (ทั้งต้น)
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พิษ (ราก)
- หมอยาอีสานจะนิยมนำมาใช้กับแม่หลังคลอดในการทำเป็นยาอบต้มกินเพื่อบำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับน้ำออกจากร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ ช่วยทำให้เหงื่อออก และใช้เป็นยาขับประจำเดือนในหญิงที่ประจำเดือนผิดปกติ (ทั้งต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 10-30 กรัม ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่นๆ ในตำรับยาตามต้องการ
ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้หย่อนไม่มีกำลัง ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสันพร้าหอม
- ทั้งต้นพบน้ำมันระเหยประมาณ 1.5-2% ในน้ำมันพบสารหลายชนิด เช่น P-cymene, Neryl acetate, 5-Methylthymol ether, Nerylacetate และยังพบสาร Coumarin, O-Coumaric acid, Thymohydroquinone ส่วนใบพบสาร Euparin, Eupatolin gxH เป็นต้น
- น้ำมันระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น สาร Neryl acetate, 5-Methyl
- จากการทดสอบทางพิษวิทยา เมื่อนำสันพร้าหอมทั้งต้นมาให้แพะหรือวัวกินติดต่อกันเป็นเวลานาน พบว่าจะเกิดการกระทบที่ตับและไต ทำให้แพะหรือวัวเป็นเบาหวาน หรือถ้าใช้สารที่สกัดได้จากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ มาฉีดเข้าหนูทดลอง จะทำให้หนูทดลองมีการหายใจช้าลง การเต้นของหัวใจช้าลง อุณหภูมิในร่างกายของหนูลดลง น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีอาการแสดงคล้ายกับเป็นโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของสันพร้าหอม
- ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใบใช้กินกับลาบ น้ำพริก หรืออาหารอื่นๆ
- ใช้เป็นส่วนผสมของแป้งหอม ยาสระผมหอมบำรุงผม ธูปหรือเครื่องหอมอื่นๆ
- คนปกาเกอะยอรู้ดีว่าธรรมชาติของสันพร้าหอมจะยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อแห้ง จึงนิยมนำมาห่อด้วยใบตองที่ทาด้วยน้ำมันมะพร้าวไว้แล้วนำมาย่างไฟจะทำให้กลิ่นหอมมาก ซึ่งคนปกาเกอะยอจะนิยมนำมาทัดหูหรือนำมาห้อยกับสายสร้อยคล้องคอ นอกจากนี้ยังนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อดึงดูดผีบ้านผีเรือนให้คอยปกป้องรักษาบ้านที่อยู่อาศัยและผู้อาศัย หรือนำมาใช้ห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป พ่อค้านิยมนำมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อขายเป็นการค้า
คำสำคัญ : สันพร้าหอม
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สันพร้าหอม. สืบค้น 29 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1788&code_db=610010&code_type=01
Google search
มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,392
ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,285
ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,733
ต้นกระวานเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบกระวานใบเดี่ยว แคบยาว ปลายแหลม ดอกกระวานช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ผลกระวานค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 927
ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,102
สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,194
ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,615
แครอทนับได้ว่าเป็นผักสารพัดประโยชน์ สามารถประทานได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ทั้งแบบอาหารคาวและอาหารหวาน ทั้งแบบเป็นชิ้นและแบบเป็นน้ำ แครอทเป็นผักคู่ครัวของของไทยไปแล้ว แครอทนอกจากมีรถชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากแครอท แต่ไม่รับประทานผัก น้ำแครอทน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะรสชาติดี รับประทานง่ายและจะทำให้ท่านได้รับประโยชน์จากแครอทอย่างเต็มที่
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,028
ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,348
ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 4,443