เก๋ากี้

เก๋ากี้

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 2,838

[16.4258401, 99.2157273, เก๋ากี้]

        มีใครเคยทราบบ้างว่าทำไมชาวจีนโบราณส่วนใหญ่จึงมีอายุยืน เพราะมียาอายุวัฒนะหรือ? คำตอบนั้นแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าเคล็ด (ไม่) ลับอย่างหนึ่งจะมาจากสมุนไพรเม็ดเล็กๆ หรือผลไม้อบแห้งเม็ดสีแดงๆ ที่ชาวจีนมักใส่รวมกับเครื่องตุ๋นยาจีน นั่นก็คือเก๋ากี้นั่นเอง “เก๋ากี้” หรือ “ฮ่วยกี้” ที่เรารู้จักกันดีในนาม “โกจิเบอร์รี” เห็นเม็ดจิ๋วๆ อย่างนี้ แต่คุณประโยชน์มากมายเอ่อล้นเมล็ดเชียวล่ะ ซึ่งชาวจีนถือว่าสิ่งนี้เป็นยาอายุวัฒนะระดับต้นๆ เลยทีเดียว

เก๋ากี้คืออะไร
        เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ
        ในเก๋ากี้นั้นมีสารแอนติออกซิแดนท์สูงกว่าในพืชทั่วๆ ไป เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยให้เม็ดเลือดแดงไม่ถูกอนุมูลอิสระทำลาย ซึ่งเป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่สตรีชาวจีนชนชั้นสูงรับประทานเก๋ากี้เพื่อความงามและอ่อนเยาว์ ซึ่งไม่แปลกเลยเพราะในเก๋ากี้นั้นมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 500 เท่า มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท อีกทั้งยังมีใยอาหารถึงร้อยละ 20 และมีแคลเซียมสูงกว่าในผักบร็อกโคลี นอกจากนี้ยังมีเหล็ก ทองแดง วิตามินเอ วิตามินบี 2 ฟอสฟอรัส สังกะสี เจอร์มาเนียม เซเลเนียม เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของเก๋ากี้
        เก๋ากี้นั้นจัดอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกพริก มะเขือเทศ หรือมันฝรั่ง ผลแห้งคล้ายลูกเกด มีสีแดง รสชาติไม่หวานเท่าลูกเกด แต่ก็ไม่เปรี้ยวเหมือนแคนเบอร์รี ลำต้นมีความสูงประมาณ 12 ฟุต ต้นเก๋ากี้นั้นแม้จะอยู่ในสภาพอากาศที่เลวร้ายก็ยังคงสามารถมีอายุยืนได้เป็นร้อยปีเลยทีเดียว โดยมีสายพันธุ์ต่างๆ มากถึง 41 ชนิดเลยทีเดียวที่ปลูกในทิเบต และด้วยความที่มีคุณประโยชน์และสารอาหารมากมายของเก๋ากี้นี้ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกจนถึงกับได้รับฉายาว่า “เก๋ากี้…สมุนไพรเพื่อความมีอายุยืนยาว”

ประโยชน์และสรรพคุณของเก๋ากี้
       ในเก๋ากี้เม็ดเล็กๆ นี้ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนถึง 19 ชนิด ได้แก่ เหล็ก ทองแดง แคลเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เจอร์มาเนียม เป็นต้น โดยสารเจอร์มาเนียมจะอยู่ในสภาพอินทรีย์ทำให้ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้อย่างดี นอกจากนี้ในเก๋ากี้ยังมีประโยชน์ที่ร่างกายเราต้องการอยู่มากมายดังนี้
        - ช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
        - แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
        - ช่วยให้หัวใจแข็งแรงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
        - ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโตสเทอโรนในเลือดทำให้ไม่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
        - ช่วยบำรุงสายตา
        - ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง
        - แก้โรคอัลไซเมอร์
        - เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานดีขึ้น
        - ช่วยในการต้านมะเร็ง และหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
        - ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
        - ลดความดันโลหิต ไขมันในเลือดไม่อุดตัน
        - ช่วยบรรเทาโรคไทรอยด์
        - ช่วยให้ตับทำงานอย่างปกติ
        ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในเก๋ากี้เม็ดเล็กๆ นี้ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเลยทีเดียว สมกับที่ได้ฉายาว่าเป็นยาอายุวัฒนะจริงๆ ถึงเม็ดจะจิ๋วแต่ประโยชน์ไม่จิ๋วตามเลย

 

คำสำคัญ : เก๋ากี้

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/เก๋ากี้/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เก๋ากี้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1471&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1471&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,601

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,793

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,647

ตาล

ตาล

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน ส่วนบริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้งและติดแน่น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ไม่ชอบอากาศเย็น ชอบแสงแดดจัด ทนต่อดินเค็ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การย้ายไปปลูกต้นจะไม่รอด เพราะรากแรกที่แทงลงดินอยู่ลึกมาก หากรากแรกขาดก็จะตายทันที

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 7,614

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,580

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา เป้นต้นไม้เลื้อยอายุยืนหลายปี ระบบรากแก้ว ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง และเหนียวสีเขียวอ่อน ลำต้นทอดเลื้อยขึ้นครอบคลุมต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบและก้านใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อไซม์โมส (cymose) ออกตรงบริเวณซอกใบอ่อนปลายยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกหลอมรวมกัน เป็นหลอดปลายกลีบ ดอกแยกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วงอมเทาหรือม่วงอมชมพู  ผลรูปไข่เปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล  พบขึ้นในบริเวณบ้าน ริมรั้ว ตามที่รกร้างและริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,934

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,651

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,189

ฟักเขียว

ฟักเขียว

ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 9,214

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,190