หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,089

[16.4258401, 99.2157273, หนูท้องขาว]

หนูท้องขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium styracifolium (Osbeck) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium capitatum (Burm.f.) DC., Desmodium retroflexum (L.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรหนูท้องขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง), อีเหนียว ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี), หนูท้องขาว (ตราด), รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา), กิมกี่เช่า (จีนแต้จิ๋ว), กว่างตงจินเฉียนเฉ่า จินเฉียนเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของหนูท้องขาว

  • ต้นหนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น 
  • ใบหนูท้องขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ และมีใบเดี่ยวขึ้นปะปน ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง เช่น แบบกลม กลมแต่ปลายใบมีรอยเว้าตื้น วงรีกว้าง รูปไข่กลับมียอดกว้างกว่าโคน แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจหรือเรียบ ขอบใบเรียบ ใบยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบล่างทั้งสอง ใบยอดมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-3.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.4-4.5 เซนติเมตร ส่วนใบด้านข้างมีขนยาวประมาณ 0.6-3.5 เซนติเมตร หน้าใบเรียบไม่มีขน ส่วนหลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมเป็นจำนวนมาก แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม มีเส้นใบเรียงแบบขนนกประมาณ 10 คู่ นูนขึ้นอยู่หน้าใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร หูใบเป็นสีน้ำตาลเข้ม 
  • ดอกหนูท้องขาว ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง การออกดอกจะเป็นแบบ Indeterminate (ดอกบานและเจริญเป็นฝักที่โคนช่อดอกจนถึงปลายช่อดอก) ดอกช่อกระจะเหมือนรูปกรวย ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-7.5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมากและอัดกันแน่น ประมาณ 16-42 ดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกกลางเป็นสีบานเย็น ปลายกลีบเป็นสีม่วงอ่อน ส่วนกลีบดอกคู่ด้านข้างจะเป็นสีบานเย็นสด อับเรณูเป็นสีเหลืองมี 4 อัน ก้านเกสรเพศผู้เป็นสีม่วงแดงเข้ม ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง ออกดอกติดเมล็ดมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 
  • ผลหนูท้องขาว ออกผลเป็นฝัก เป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งมีประมาณ 3-6 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-3.0 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร ส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถหักออกเป็นข้อได้ เมื่อสุกแล้วจะแตกออกตามตะเข็บล่าง ภายในมีเมล็ดลักษณะคล้ายไตคน แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด 

สรรพคุณของหนูท้องขาว

  1. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากหรือลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย และลดความดันโลหิต (ราก, ลำต้น)
  2. รากหรือลำต้นมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนใน (ราก, ลำต้น)
  3. รากหรือลำต้นใช้เป็นยารักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ตำรับยารักษาระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจะใช้หนูท้องขาว 25 กรัม, ต้นผักกาดน้ำ 15 กรัม, ห่ายจินซา, ดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (รากหรือลำต้น)
  4. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในถุงน้ำดี ตำรับยาขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะใช้หนูท้องขาว 15 กรัม, สือหวุ่ย 15 กรัม, ชวนพั่วสือ 15 กรัม, ตงขุยจื่อ 15 กรัม, เปียนซวี 12 กรัม, ห่ายจินซา 12 กรัม, จวี้ม่าย 10 กรัม, เจ๋อเซ่อ 10 กรัม, ฝูลิ่ง 10 กรัม และมู่ทง 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก, ลำต้น)
  5. ใช้รักษาตับอักเสบเฉียบพลันแบบดีซ่าน (ราก, ลำต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้ไตอักเสบ (ราก, ลำต้น)
  7. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ราก, ลำต้น)
  8. รากหรือลำต้นมีสรรพคุณช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ราก, ลำต้น)

ขนาดที่ใช้ : การใช้ตาม [1] ต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนต้นสดให้ใช้ครั้งละ 20-60 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนูท้องขาว

  • สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวก Alkaloid, Flavonoid, Glucoside และ Phenols และยังพบสารแทนนินอีกด้วย
  • เมื่อนำสารสกัดจากหนูท้องขาวมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของสุนัขทดลองในอัตราส่วน 1.6 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม หรือยาสด 8 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่ามีผลทำให้เลือดในหลอดเลือดของหัวใจมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจลดน้อยลง อีกทั้งยังพบว่าส่งผลให้หัวใจมีกำลังในการบีบตัวมากขึ้นอีกด้วย
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์กระตุ้นน้ำดีของสุนัขทดลองให้มีการไหลออกจากถุงน้ำดีมากขึ้น
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กของหนูตะเภา และลดความดันโลหิตในหนูขาว
  • สารที่สกัดจากต้นแห้งหนูท้องขาวทั้งด้วยน้ำไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของสัตว์

ประโยชน์ของต้นหนูท้องขาว

  • ใช้เป็นอาหารของสัตว์จำพวกโค กระบือ โดยตัดหรือปล่อยให้สัตว์แทะเล็ม โดยคุณค่าทางอาหารของต้นหนูท้องขาวที่มีอายุ 45 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 11.9-14.4%, แคลเซียม 1.04-1.14%, ฟอสฟอรัส 0.16-0.2%, โพแทสเซียม 1.09-1.20%, ADF 38.4-40.2%, NDF 43.1-47.9%, DMD 36.0-45.9% (โดยวิธี Nylon bag) ส่วนต้นที่มีอายุประมาณ 45-90 วัน จะมีโปรตีน 11.8-12.4%, ไนเตรท 2.96 ppm, ออกซิลิกแอซิด 29.6-363.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 1.15-2.03%, มิโมซีน 0.77-0.85% และไม่พบไนไตรท์
  • เกษตรกรทางภาคอีสานจะตัดมาเลี้ยงโคนมทำให้มีน้ำนม

คำสำคัญ : หนูท้องขาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนูท้องขาว. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สาเก

สาเก

สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,143

ปีบ

ปีบ

ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,139

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,185

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ

หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,552

กะสัง

กะสัง

ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 9,409

มะขวิด

มะขวิด

ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,123

ยี่หร่า

ยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 38,686

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน

ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,912

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,744

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้เป็นไม้ล้มลุกประเภทเฟิร์นสามารถพบกระแตไต่ไม้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะพบขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำๆ และต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม อีกทั้งยังมีประโยชน์คือใช้เป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,104