จุกโรหินี
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 4,038
[16.4258401, 99.2157273, จุกโรหินี]
จุกโรหินี ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia major (Vahl) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dischidia rafflesiana Wall.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรจุกโรหินี มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ข้าวฟ่าง (คนเมือง), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี), พุงปลา (จันทบุรี, ตราด), กล้วยมุสัง (พังงา), จุรูหินี (ชุมพร), กล้วยไม้ (ภาคเหนือ), โกฐพุงปลา จุกโรหินี พุงปลาช่อน (ภาคกลาง), เถาพุงปลา (ระยอง, ภาคตะวันออก), โกฎฐ์พุงปลา (ไทย), นมตำไร (เขมร) เป็นต้น
ลักษณะของจุกโรหินี
ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ
ใบจุกโรหินี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ซึ่งจะอยู่บนต้นเดียวกัน คือ แบบแรกมีลักษณะรูปร่างคล้ายถุงปากแคบ แบนเป็นเหลี่ยม ๆ ผิวด้านนอกเกลี้ยงเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ส่วนด้านในเป็นสีม่วง มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ส่วนแบบที่สองเป็นแบบใบธรรมดา ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น ๆ เนื้อใบหนาและอวบน้ำ ใบมีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร
ดอกจุกโรหินี ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ ดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ และป่องเบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ส่วนตรงปลายเป็นรูปกรวย ที่ปลายปากดอกแต้มไปด้วยสีม่วงและมีขนอยู่ด้านนอก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกหรือกลีบรองดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ตามขอบกลีบดอกจะมีขน กลีบดอกกลมและยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร โคนดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย
ผลจุกโรหินี ออกผลเป็นฝัก ฝักเป็นสีเหลืองแกมสีส้ม ผิวของฝักมีลักษณะขรุขระ ฝักมีความยาวประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร
สรรพคุณของจุกโรหินี
1. ผลนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ผล)
2. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกำลัง (ราก)
3. รากใช้เป็นยาแก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ (ราก)
4. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย (ราก)
5. รากจุกโรหินีนำมาเคี้ยวกับพลูจะช่วยแก้อาการไอ (ราก)
6. ช่วยแก้หอบหืด (ราก)
7. ช่วยแก้อาการอาเจียน (ใบ, ราก)
8. ช่วยแก้เสมหะผิดปกติ เสมหะพิการ (ใบ, ราก)
9. ผลนำมาดึงไส้ออก ใส่น้ำ นำไปเผาไฟให้อุ่น ใช้เป็นยาหยอดหู หรือจะนำผลมาเผาไฟเอาน้ำใช้หยอดหูน้ำหนวก (ผล)
10. ผลนำมาผสมกับมดแดงฮ้าง ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ลมพันไส้ (ผล)
11. เถานำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ (เถา)
12. ผลนำมาผสมกับฝอยลม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลมในกระเพาะอาหาร หรือจะนำผลมาเผาไฟเอาน้ำ ใช้ขับลม (ผล)
13. ทั้งต้นมีรสฝาดและสุขุม ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องอันเนื่องมาจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (ทั้งต้น)
14. ใบหรือรากใช้เป็นยาแก้อาการท้องเดิน ท้องร่วง ท้องเสีย (ใบ, ราก)
15. ช่วยแก้บิด แก้ปวดเบ่ง มูกเลือด (ใบ, ราก)
16. ทั้งต้นใช้เข้ายาแก้โรคตับพิการ (ทั้งต้น)
17. ใบที่เปลี่ยนรูป เอาข้าวมายัดใส่แล้วนำไปเผาไฟจนข้าวสุก แล้วข้าวจะกลายเป็นสีม่วง นำมารับประทานเพื่อช่วยป้องกันอาการเจ็บม้ามในขณะออกกำลังกายได้ (ใบ)
18. ใบมีรสฝาด ใช้ภายนอกเป็นยาฝาดสมาน สมานแผล หรือจะใช้รากปรุงเป็นยาฝาดสมาน หรือใช้ภายนอกนำมาทาแผลเพื่อเป็นยาสมานแผลก็ได้เช่นกัน (ใบ, ราก)
ประโยชน์ของจุกโรหินี
1. ใบอ่อนใช้รับประทานได้ โดยใช้รับประทานร่วมกับขนมจีน
2. ผลนำมาผสมกับข้าวเย็นเหนือ ใช้เลิกบุหรี่
คำสำคัญ : จุกโรหินี
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จุกโรหินี. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1598&code_db=610010&code_type=01
Google search
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,131
มะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่างๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชุ่มชื้น
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 5,148
ตะไคร้หอม (Citronella Grass, Sarah Grass) หรือตะไคร้แดง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ซึ่งตะไคร้หอมนั้นมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ซึ่งใช้สำหรับไล่ยุงได้ ไม่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานเหมือนกับตะไคร้ โดยมีการนำตะไคร้หอมเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งผู้ที่เริ่มนำตะไคร้หอมเข้ามาในประเทศไทยของเราก็คือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์ โดยเริ่มปลูกจากจังหวัดชลบุรีแล้วจึงแพร่กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,165
ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,238
ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 7,696
ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,556
ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,853
เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,071
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,141
อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,219