หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 1,742

[16.4258401, 99.2157273, หนูท้องขาว]

หนูท้องขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium styracifolium (Osbeck) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium capitatum (Burm.f.) DC., Desmodium retroflexum (L.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรหนูท้องขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผีเสื้อน้ำ (ลำปาง), อีเหนียว ก้วงกัวฮี (อุบลราชธานี), หนูท้องขาว (ตราด), รุกกุนิงตาหน่อ (ยะลา), กิมกี่เช่า (จีนแต้จิ๋ว), กว่างตงจินเฉียนเฉ่า จินเฉียนเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของหนูท้องขาว

  • ต้นหนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น 
  • ใบหนูท้องขาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ และมีใบเดี่ยวขึ้นปะปน ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง เช่น แบบกลม กลมแต่ปลายใบมีรอยเว้าตื้น วงรีกว้าง รูปไข่กลับมียอดกว้างกว่าโคน แต่โดยทั่วไปแล้วใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจหรือเรียบ ขอบใบเรียบ ใบยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบล่างทั้งสอง ใบยอดมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-3.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.4-4.5 เซนติเมตร ส่วนใบด้านข้างมีขนยาวประมาณ 0.6-3.5 เซนติเมตร หน้าใบเรียบไม่มีขน ส่วนหลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมเป็นจำนวนมาก แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม มีเส้นใบเรียงแบบขนนกประมาณ 10 คู่ นูนขึ้นอยู่หน้าใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร หูใบเป็นสีน้ำตาลเข้ม 
  • ดอกหนูท้องขาว ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง การออกดอกจะเป็นแบบ Indeterminate (ดอกบานและเจริญเป็นฝักที่โคนช่อดอกจนถึงปลายช่อดอก) ดอกช่อกระจะเหมือนรูปกรวย ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-7.5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมากและอัดกันแน่น ประมาณ 16-42 ดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกกลางเป็นสีบานเย็น ปลายกลีบเป็นสีม่วงอ่อน ส่วนกลีบดอกคู่ด้านข้างจะเป็นสีบานเย็นสด อับเรณูเป็นสีเหลืองมี 4 อัน ก้านเกสรเพศผู้เป็นสีม่วงแดงเข้ม ส่วนเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง ออกดอกติดเมล็ดมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 
  • ผลหนูท้องขาว ออกผลเป็นฝัก เป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งมีประมาณ 3-6 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-3.0 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร ส่วนที่เว้าคอดของฝักสามารถหักออกเป็นข้อได้ เมื่อสุกแล้วจะแตกออกตามตะเข็บล่าง ภายในมีเมล็ดลักษณะคล้ายไตคน แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด 

สรรพคุณของหนูท้องขาว

  1. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากหรือลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย และลดความดันโลหิต (ราก, ลำต้น)
  2. รากหรือลำต้นมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนใน (ราก, ลำต้น)
  3. รากหรือลำต้นใช้เป็นยารักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ตำรับยารักษาระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจะใช้หนูท้องขาว 25 กรัม, ต้นผักกาดน้ำ 15 กรัม, ห่ายจินซา, ดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (รากหรือลำต้น)
  4. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในถุงน้ำดี ตำรับยาขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะใช้หนูท้องขาว 15 กรัม, สือหวุ่ย 15 กรัม, ชวนพั่วสือ 15 กรัม, ตงขุยจื่อ 15 กรัม, เปียนซวี 12 กรัม, ห่ายจินซา 12 กรัม, จวี้ม่าย 10 กรัม, เจ๋อเซ่อ 10 กรัม, ฝูลิ่ง 10 กรัม และมู่ทง 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก, ลำต้น)
  5. ใช้รักษาตับอักเสบเฉียบพลันแบบดีซ่าน (ราก, ลำต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้ไตอักเสบ (ราก, ลำต้น)
  7. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ราก, ลำต้น)
  8. รากหรือลำต้นมีสรรพคุณช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ราก, ลำต้น)

ขนาดที่ใช้ : การใช้ตาม [1] ต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนต้นสดให้ใช้ครั้งละ 20-60 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนูท้องขาว

  • สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวก Alkaloid, Flavonoid, Glucoside และ Phenols และยังพบสารแทนนินอีกด้วย
  • เมื่อนำสารสกัดจากหนูท้องขาวมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของสุนัขทดลองในอัตราส่วน 1.6 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม หรือยาสด 8 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่ามีผลทำให้เลือดในหลอดเลือดของหัวใจมีการไหลเวียนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจลดน้อยลง อีกทั้งยังพบว่าส่งผลให้หัวใจมีกำลังในการบีบตัวมากขึ้นอีกด้วย
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์กระตุ้นน้ำดีของสุนัขทดลองให้มีการไหลออกจากถุงน้ำดีมากขึ้น
  • สารสกัดจากหนูท้องขาวมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กของหนูตะเภา และลดความดันโลหิตในหนูขาว
  • สารที่สกัดจากต้นแห้งหนูท้องขาวทั้งด้วยน้ำไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของสัตว์

ประโยชน์ของต้นหนูท้องขาว

  • ใช้เป็นอาหารของสัตว์จำพวกโค กระบือ โดยตัดหรือปล่อยให้สัตว์แทะเล็ม โดยคุณค่าทางอาหารของต้นหนูท้องขาวที่มีอายุ 45 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 11.9-14.4%, แคลเซียม 1.04-1.14%, ฟอสฟอรัส 0.16-0.2%, โพแทสเซียม 1.09-1.20%, ADF 38.4-40.2%, NDF 43.1-47.9%, DMD 36.0-45.9% (โดยวิธี Nylon bag) ส่วนต้นที่มีอายุประมาณ 45-90 วัน จะมีโปรตีน 11.8-12.4%, ไนเตรท 2.96 ppm, ออกซิลิกแอซิด 29.6-363.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 1.15-2.03%, มิโมซีน 0.77-0.85% และไม่พบไนไตรท์
  • เกษตรกรทางภาคอีสานจะตัดมาเลี้ยงโคนมทำให้มีน้ำนม

คำสำคัญ : หนูท้องขาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนูท้องขาว. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1769&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,395

กระโดงแดง

กระโดงแดง

ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,222

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,405

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,369

สะเดา

สะเดา

สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,607

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,773

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 53,448

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,330

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,018

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,159