มหาหงส์

มหาหงส์

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 7,987

[16.4258401, 99.2157273, มหาหงส์]

มหาหงส์ ชื่อสามัญ Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger
มหาหงส์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium J.Koenig จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรมหาหงส์ หรือ ว่านมหาหงส์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เลเป ลันเต (ระยอง จันทบุรี), ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (ภาคเหนือ), ว่านกระชายเห็น สะเลเต (ภาคอีสาน), กระทายเหิน หางหงส์ (ภาคกลาง), ตาเหิน (คนเมือง,ไทลื้อ), เฮวคำ (ไทใหญ่) เป็นต้น

ลักษณะของมหาหงส์
        ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร
        ใบมหาหงส์ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ มีใบประมาณ 7-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 16-25 เซนติเมตร เส้นกลางใบเห็นได้ชัดจากด้านหลังใบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มโดยเฉพาะเส้นกลางใบ แผ่นใบมักงอตัวลงไปด้านหลัง ส่วนก้านใบสั้นเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะเกลี้ยงและเป็นมัน ลิ้นใบยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เป็นเนื้อเยื่อบางสีขาว
        ดอกมหาหงส์ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดของลำต้นเทียม ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับใหญ่เป็นจำนวนมาก เรียงซ้อนกันและมีขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ ลักษณะของใบประดับเป็นรูปหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง เป็นสีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนใบประดับย่อยเป็นรูปหอก ปลายมน ผิวเกลี้ยง ขอบพับเข้าหากัน ตรงกลางเป็นสัน แต่ละอันจะซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อกางออกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-3.3 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบประดับประมาณ 1-5 ดอก มีกลีบดอกเป็นรูปแถบแคบ ๆ ปลายมน สีขาว กว้างประมาณ 0.2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ส่วนกลีบปากเป็นรูปไข่เกือบกลม มีขนาดกว้างประมาณ 5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ ลึกเป็น 1/3 ของกลีบ สีขาว ตรงกลางกลีบค่อนไปทางโคนเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีนวล โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร สีขาว ปลายกลีบดอกหยักบาง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกตื้น 3 แฉกและแฉกลึก 1 แฉก กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นสีขาวแกมสีเขียว ส่วนโคนเป็นสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันแผ่เป็นกลีบขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับแกมรูปรี หรือเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมนสีขาว กว้างประมาณ 2.2-2.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.2-4.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ อับเรณูเป็นรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.4-1.5 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.4-2 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 ก้าน มีรังไข่เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ มี 3 ห้อง ส่วนยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเกือบกลม มีขนาดประมาณ 0.1 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
        ผลมหาหงส์ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกออกได้เป็นพู 3 พู

สรรพคุณของมหาหงส์
1. ตำรายาไทยจะใช้เหง้ามหาหงส์เป็นยาบำรุงกำลังและยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
2. เหง้านำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน ใช้รับประทานเป็นยาแก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
    ซูบซีด ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (เหง้า)
3. เหง้านำมาต้มเป็นยาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ (เหง้า)
4. ช่วยขับลม (เหง้า)[1]เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยแก้อาการท้องอืดได้ (เหง้า)
5. ในต่างประเทศจะใช้เหง้ามหาหงส์ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และช่วยในการขับลม (เหง้า)
6. ช่วยบำรุงไต ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
7. คนเมืองจะใช้เหง้าใต้ดินนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการลมชักหรือใช้ทาตุ่มผื่นลมพิษ (เหง้า)
8. น้ำคั้นจากเหง้าใต้ดินใช้เป็นยารักษาแผลฟกช้ำ แผลบวมได้ (เหง้า)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมหาหงส์
1. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเหง้ามีลักษณะเป็นของเหลวใส มีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว โดยประกอบไปด้วย beta-pinene, borneol, d-limonene, linalool
2. น้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์ เมื่อนำมาเตรียมเป็นโลชันกันยุงกัด พบว่าสามารถช่วยป้องกันการกัดของยุงรำคาญ 5.8 ชั่วโมง ยุงก้นปล่อง 7.1 ชั่วโมง และยุงลายสวน
    ได้ 7.5 ชั่วโมง

ประโยชน์ของมหาหงส์
1. คนเมืองทางภาคเหนือจะใช้หน่ออ่อนลวกรับประทานกับน้ำพริก
2. ชาวไทใหญ่จะใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ
3. น้ำมันจากเหง้าสดสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลงได้ ด้วยการใช้เหง้าสดจำนวนพอสมควรนำมาทุบแล้วสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหย (เรียกว่า "น้ำมันมหาหงส์")
4. น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม
5. ด้วยความหอมของดอกมหาหงส์ ในวงการสปาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงนิยมใช้มหาหงส์เป็นส่วนผสมในครีม โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ
    หรือโคลนหมักตัว
6. มหาหงส์เป็นว่านที่ได้ชื่อว่าเข้ายาทำเสน่ห์ มีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับผู้ปลูก ให้คนรักคนหลง โดยจะนิยมปลูกเพื่อเพิ่มเมตตามหานิยมและความเป็นสิริมงคลให้
    แก่สถานที่ปลูก และยังเชื่อว่า “ว่านมหาหงส์” เป็นว่านให้ลาภแก่ผู้ปลูก และหากนำเหง้าหรือหัวพกพาติดตัวไปด้วยก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์มหานิยม
7. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ สามารถออกได้ตลอดปี ดอกจะมีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด ทนทานต่อแมลงต่าง ๆ โดยดอกจะทยอยบานและอยู่ทน
    หลายวัน ถ้านำไปปลูกบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ก็จะเหมาะยิ่งนัก เพราะสามารถปลูกได้ในที่ร่ม แดดไม่จัดมากนัก ชอบที่ชื้นแฉะ แต่ถ้านำไปปลูกลงในกระถางก็ไม่ควรปล่อยทิ้ง
    ไว้ให้แห้ง โดยปกติแล้วดอกมหาหงส์จะเป็นสีขาว สีดอกจะตัดกับสีเขียวเข้มของต้นและใบอย่างสวยงาม ในปัจจุบันพบว่ามีการนำพันธุ์มหาหงส์เข้ามาปลูกกันหลายชนิด
    ไม่ว่าจะเป็นชนิดดอกสีขาว ดอกสีขาวตรงกลางเหลือง ดอกสีขาวตรงกลางแดง ดอกสีแดงอมสีชมพูจนถึงสีแดงเข้ม หรือดอกสีเหลืองทองทั้งดอก โดยจะมีทั้งดอกเล็กและ
    ดอกใหญ่

คำสำคัญ : มหาหงส์

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาหงส์. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1669&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1669&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,920

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,436

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,838

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,464

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,601

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 14,077

บานเย็น

บานเย็น

บานเย็น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช โดยจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดงออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไว้กลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,836

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,190

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว

ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 13,915

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงนั้นเป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร ส่วนดอกนั้นออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพูหรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลนั้นจะมีปลายแหลมเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตลอดจนตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มผลไว้

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,453