กระทือ

กระทือ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 2,877

[16.4258401, 99.2157273, กระทือ]

ชื่ออื่น ๆ : กระทือป่า, แฮวดำ, กะแวน (ภาคเหนือ), เฮียงแดง (แม่อ่องสอน), กะทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet Rose. Smith.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน
        ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 14-40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มี 10-25 ใบ เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ รูปไข่กลับกว้างหรือเกือบกลม กว้าง 3.0-3.2 ซม. ยาว 2.0-2.3 ซม. ปลายมน ขอบพับเข้าด้านใน
         ดอกกระทือบานสีขาวอมเหลืองโผล่ออกมาจากซอกใบประดับ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบบนรูปไข่กว้าง 0.9 ซม. ยาว 1.7 ซม. ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง กลีบข้างรูปหอก กว้าง 0.5 ซม. ยาว 1.8 ซม. ปลายเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ดอกบานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กว้าง 0.1-0.35 ซม. ยาว 1.6-1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ผิวเกลี้ยง สีขาว เกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูขนาดใหญ่ โค้ง มีรยางค์ที่ปลาย กว้าง 0.4 ซม. ยาว 1 ซม. ก้านชูอับเรณูสั้นมากยาว 0.1 ซม. เกสรเพศผู้เป็นหมันด้านข้าง 2 อัน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้เป็นหมันอันกลาง สีเหลืองอ่อน ตรงโคนมีแต้มสีเหลืองเข้ม เกสรเพศเมีย รังไข่รูปวงรี กว้าง 0.3 ซม. ยาว 0.4 ซม. ผิวเกลี้ยง มี 3 ช่อง พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 2.5 ซม. ยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยหรือเกือบกลม
         ผลกระทือแบบผลแห้งแตก รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ผิวเรียบ สีแดง ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เมล็ดรูปขอบขนาน ค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีขาว เมล็ดสีดำเป็นมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณกระทือ :
         เหง้ารสขมขื่นปร่า แช่น้ำดื่ม แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม บำรุงธาตุ ผสมเหง้าไพล เผาไฟคั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง แก้ปวดเบ่ง แน่นท้องปวดบวม ขับเสมหะ เบื่ออาหาร เหง้ากระทือนำมาหมกไฟฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
         รากรสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น
         ใบรสขมขื่นเล็กน้อย ขับลม ขับเลือดเสียในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
         ดอกรสขมขื่น แก้ผอมเหลือง แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น
         เกสรรสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ
         ต้นรสขมขื่น ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้

คำสำคัญ : กระทือ

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระทือ. สืบค้น 22 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1558&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1558&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,935

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,631

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,910

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,345

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,722

ผกากรอง

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 12,064

บุก

บุก

บุก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,921

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 26,130

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,916

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,614