กระทือ

กระทือ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 2,181

[16.4258401, 99.2157273, กระทือ]

ชื่ออื่น ๆ : กระทือป่า, แฮวดำ, กะแวน (ภาคเหนือ), เฮียงแดง (แม่อ่องสอน), กะทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet Rose. Smith.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน
        ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 14-40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มี 10-25 ใบ เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ รูปไข่กลับกว้างหรือเกือบกลม กว้าง 3.0-3.2 ซม. ยาว 2.0-2.3 ซม. ปลายมน ขอบพับเข้าด้านใน
         ดอกกระทือบานสีขาวอมเหลืองโผล่ออกมาจากซอกใบประดับ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบบนรูปไข่กว้าง 0.9 ซม. ยาว 1.7 ซม. ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง กลีบข้างรูปหอก กว้าง 0.5 ซม. ยาว 1.8 ซม. ปลายเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ดอกบานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กว้าง 0.1-0.35 ซม. ยาว 1.6-1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ผิวเกลี้ยง สีขาว เกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูขนาดใหญ่ โค้ง มีรยางค์ที่ปลาย กว้าง 0.4 ซม. ยาว 1 ซม. ก้านชูอับเรณูสั้นมากยาว 0.1 ซม. เกสรเพศผู้เป็นหมันด้านข้าง 2 อัน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้เป็นหมันอันกลาง สีเหลืองอ่อน ตรงโคนมีแต้มสีเหลืองเข้ม เกสรเพศเมีย รังไข่รูปวงรี กว้าง 0.3 ซม. ยาว 0.4 ซม. ผิวเกลี้ยง มี 3 ช่อง พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 2.5 ซม. ยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยหรือเกือบกลม
         ผลกระทือแบบผลแห้งแตก รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ผิวเรียบ สีแดง ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เมล็ดรูปขอบขนาน ค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีขาว เมล็ดสีดำเป็นมัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณกระทือ :
         เหง้ารสขมขื่นปร่า แช่น้ำดื่ม แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม บำรุงธาตุ ผสมเหง้าไพล เผาไฟคั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง แก้ปวดเบ่ง แน่นท้องปวดบวม ขับเสมหะ เบื่ออาหาร เหง้ากระทือนำมาหมกไฟฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
         รากรสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น
         ใบรสขมขื่นเล็กน้อย ขับลม ขับเลือดเสียในมดลูก ขับน้ำคาวปลา
         ดอกรสขมขื่น แก้ผอมเหลือง แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น
         เกสรรสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ
         ต้นรสขมขื่น ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้

คำสำคัญ : กระทือ

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระทือ. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1558&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1558&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,464

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,561

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,004

เกล็ดหอย

เกล็ดหอย

ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพรรณไม้หรือวัชพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะออกราก มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ผิวลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้บ้างเล็กน้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้ของประเทศไทย ชอบสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟ และสวนผลไม้

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,516

กล้วยไข่

กล้วยไข่

กล้วยไข่เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบรูปไข่ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม มีร่องกว้าง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง โคนก้านมีปีกสีชมพู บริเวณช่อดอกมีขนอ่อน ส่วนผล 1 เครือ มีประมาณ 6-7 หวี ใน 1 หวีมีผลประมาณ 12-14 ผลด้วยกัน เป็นผลที่ค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง เมื่อผลงอมอาจมีจุดดำๆ ประปราย รสชาติหวานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 9,932

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,522

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,715

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ลักษณะต้นขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบอ่อนประมาณื20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาล หรือใบของชุมเห็ดไทย จะออกเป็นช่อสีเหลืองดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย ผลมีลักษณะแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซ.ม. คล้ายกับฝักแค นิเวศวิทยา  เป็นพรรณไม้พบอยู่ทั่วไปของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นไม้ร่มตามริมถนน ออกดอกตลอดปี 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,708

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,465

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,746