ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้ชม 7,052

[16.3951069, 98.9529353, ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว]

       ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
       จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว คำว่าขวัญ นั้นเชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ หรือพืชจะมีขวัญสิงอยู่หากแม้นว่าสิ่งมีชีวิตไม่ดีขวัญประจำอยู่ต้องตายลงไป ข้าวเป็นสิ่งมีชีวิตและมีขวัญถ้าข้าวไม่มีขวัญ หรือไม่มีการบำรุงขวัญข้าว ให้อยู่ประจำข้าวจะไม่เจริญงอกงามและอาจตายได้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีการทำพิธีขวัญข้าว โดยทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว วันขึ้นสามค่ำเดือนสาม ถือเป็นวันสุดท้าย ซึ่งหมายถึงการไหว้แม่โพสพในยุ้งข้าวด้วย หลังจากเอาข้าวออกมาปลูกในปีต่อไป ข้าวจะอุดมสมบูรณ์ สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่น ได้มีโอกาสสืบทอด วัฒนธรรมการทำขวัญข้าวที่กำลังจะสูญหายไป นับว่าน่ายกย่องอย่างยิ่ง ชาวนาถือว่าการทำขวัญข้าว
       เป็นการระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ และขอขมาแม่โพสพไปในตัว เพราะการเหยียบย่ำข้าวในนา หรือข้าวที่ตกอยู่เก็บเกี่ยวไม่หมด จะทำให้แม่โพสพโกรธข้าวจะไม่บริบูรณ์ ในปีต่อไป พิธีกรรมแต่ละท้องที่อาจจะไม่เหมือนกัน เมื่อตอนจะไถ อาจกล่าวว่า ข้าพเจ้าขออาศัยทำกินในแผ่นดินนี้ เกิดมั่งเกิดมี เป็นเศรษฐีบ้านนอก วัวควายเต็มคอก
       ข้าครอกเต็มเรือน กุมแอกกุมไถ กุมไร่กุมนา คุ้มนอนอัปรีย์ อย่าให้มีเข้ามา สรรพลาภัง ภวันตุเต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว จะยกฟ่อนข้าวไว้บนลานนวดข้าว เรียกว่าพิธีขวัญขึ้นลาน ทำตอนตะวันตกดิน โดยนำขนมต้ม ขนมบัวลอย ใส่ชลอม มีผ้าขาวคลุมหาบไว้ พร้อมร้องว่า ข้าวไปตกหล่นที่ไหน เชิญขึ้นมาบนลาน เชิญแม่โพสพขึ้นมาอยู่บนลาน เดินไปพูดไป
       ในสิ่งมีสิริมงคล เดินไปพูดไป แล้วเก็บรวงข้าวหล่นใส่กระบุงหาบมาที่ลาน การทำขวัญข้าวนับว่าเป็นภูมิปัญญาสำคัญของชาติไทย ที่กำลังจะสาบสูญ ไปจากสังคมไทย เพราะคนไทยลืมความสำคัญเหล่านี้ แม่โพสพอาจจะกลายเป็นเพียงเมล็ดพืชธรรมดา การทำขวัญข้าวอาจหายไปจากสังคมชาวนา เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ ความพอเพียงหลีกลี้หนีหายไป คนไทย ฤาจะลืมรากเหง้าของตนเอง ก่อนรับประทานข้าวอาหารหลักของคนไทยทุกครั้ง โปรดสำนึกถึงบุญคุณแม่โพสพบ้าง การทำขวัญข้าว อาจจะกลับมาคู่สังคมไทยอีกครั้ง

คำสำคัญ : บายศรีสู่ขวัญข้าว

ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2559). ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.m-culture.go.th/kamphaengphet/ewt_news.php?nid=908&filename=index

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1267&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1267&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,594

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,714

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,989

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,010

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,589

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 655

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,588

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,117

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,479

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 8,573