กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 6,327

[16.4258401, 99.2157273, กล้วยน้ำว้า]

        กล้วยน้ำว้า (Banana) เป็นพืชผลไม้จำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในเชียงใหม่หรือเชียงรายเรียกกล้วยใต้ ส่วนจันทบุรีเรียกกล้วยมะลิอ่อง หรือชัยภูมิเรียกกล้วยอ่อง และในอุบลราชธานีเรียกกล้วยตานีอ่อง เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์กล้วยชนิดหนึ่งที่ผสมผสานระหว่างกล้วยป่าและกล้วยตานี ปลูกง่าย รสชาติอร่อย เป็นที่นิยมบริโภคกันมาก มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ น้ำว้าขาว น้ำว้าแดง และน้ำว้าเหลือง

ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำว้า
        กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วยน้ำว้า
        ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าทางสมุนไพรนั้นมีมากมาย เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนของต้นกล้วยเลยก็ว่าได้ มีดังนี้
        ราก – ใช้ต้มดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ตลอดจนช่วยสมานแผลภายใน และอาการท้องเสีย ผื่นคัน หรือบิด ให้รสฝาดเย็น
        ใบ – นำไปปิ้งไฟสามารถปิดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือต้มอาบแก้ผื่นคัน ให้รสเย็นจืด
        ยาง – ช่วยในการห้ามเลือด และสมานแผล ให้รสฝาด
        ผลดิบ – สามารถนำไปหั่นบดเป็นผง หรือชงน้ำร้อนรับประทาน ช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรังที่เป็นสาเหตุให้อาหารไม่ย่อย และช่วยรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหารได้ ให้รสฝาด
        ผลสุก – ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ให้รสหวาน
        หัวปลี – ช่วยแก้โรคโลหิตจาง ลดระดับน้ำตาลในเลือด และแก้กระเพาะอาหารในลำไส้ ให้รสฝาด
        น้ำคั้นจากหัวปลี – ช่วยบำรุงโลหิต แก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ให้รสฝาดเย็น
        นอกจากความอร่อยและหาซื้อรับประทานได้ง่ายของกล้วยน้ำว้าแล้ว ยังมีความเชื่อว่าหากรับประทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนก่อนแปรงฟันจะช่วยลดกลิ่นปากได้ด้วย และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารรับประทานกันได้มากมาย เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยกวน กล้วยทอด กล้วยปิ้ง ฯลฯ

คำสำคัญ : กล้วยน้ำว้า

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กล้วยน้ำว้า/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กล้วยน้ำว้า. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1458&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1458&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,211

จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 6,920

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,655

มะฝ่อ

มะฝ่อ

มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,149

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,367

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,385

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,070

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,357

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 25,195

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 805