จอก

จอก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 10,961

[16.4258401, 99.2157273, จอก]

จอก ชื่อสามัญ Water lettuec
จอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Pistia stratiotes L. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
สมุนไพรจอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกอก (เชียงใหม่), กากอก (ภาคเหนือ), ไต่ผู้เฟี้ย (จีน-แต้จิ๋ว), ต้าฝูผิง (จีนกลาง), จอกใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นจอก
       ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน
       ใบจอก ใบเป็นเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับ เกิดบริเวณส่วนโคนของลำต้นเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รูปร่างของใบมีลักษณะที่ไม่แน่นอน บางครั้งเป็นรูปรี รูปไข่กลับ รูปใบพัด แต่โดยมากเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบมนหยักลอนเป็นคลื่น ๆ ฐานใบมนสอบแคบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นสีแดง มีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณฐานใบพองออกและมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ ทำให้สามารถลอยน้ำได้ ใบมีความยาวและความกว้างประมาณ 10-25 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบไม่มีก้านใบ
       ดอกจอก ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้น ตรงโคนใบระหว่างกลาง หรือออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกสั้นขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร ดอกจะมีกาบห่อหุ้มดอกอยู่ประมาณ 2-3 ใบ เป็นแผ่นสีเขียวอ่อนหุ้มไว้ ด้านในเรียบ ส่วนด้านนอกมีขนละเอียดปกคลุม ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียที่แยกกันอยู่ แต่อยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะอยู่ด้านบนดอกส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ด้านล่าง ดอกจอกเป็นดอกที่ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ที่โคนดอกเพศผู้จะมีรยางค์แผ่นสีเขียวเชื่อมติดอยู่เป็นรูปถ้วย และมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-8 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียจะมีรยางค์เป็นแผ่นสีเขียวติดอยู่เหนือรังไข่
        ผลจอก ผลมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ หรือเป็นผลเป็นชนิดแบคเดท (Bacdate) มีกาบหรือใบประดับสีเขียวอ่อนติดอยู่ ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-3 เมล็ด บ้างว่ามีจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะกลมยาว เปลือกเมล็ดจะมีรอยย่น

สรรพคุณของจอก
1. ใบมีรสขม เผ็ด และฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาฟอกเลือดให้เย็นได้ (ใบ)
2. ช่วยขับความชื้นในร่างกาย (ใบ)
3. ช่วยขับพิษไข้ (ใบ)
4. ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
5. ช่วยขับเสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
7. ใช้เป็นยาขับลม (ใบ)
8. ช่วยแก้อาการบิด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
9. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
10. ใบสดใช้ต้มผสมกับน้ำตาลทราย (ใช้อย่างละ 120 กรัมต่อน้ำ 3 ถ้วย) แล้วต้มให้ข้นจนเหลือถ้วยเดียว ใช้รับประทานให้ได้ 3 ครั้ง เพื่อเป็นยาแก้ท้องมาน หรืออาการบวมน้ำ หรือจะใช้ใบแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาก็ได้เช่นกัน (ใบ)
11. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่คล่อง ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (ใบ) บ้างระบุว่ารากเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
12. ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคหนองในแท้) (ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นส่วนของใบ)
13. ใบใช้เป็นแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน และฝีหนองภายนอก (ใบ)
14. ใบใช้เป็นยาแก้หัด แก้ผื่นคัน มีน้ำเหลืองได้ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 100 กรัม นำมาตากให้แห้งหรือผิงไฟให้แห้ง แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นยาเม็ด ทยอยกินให้หมดภายใน 1 วัน หรือจะใช้ใบแห้งต้มกับน้ำ นำมาอบผิว แล้วใช้น้ำยาที่ต้มได้มาล้างบริเวณที่เป็นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (ใบ)
15. ใบสดใช้ผสมกับน้ำตาลกรวดดำ อุ่นให้ร้อน ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือน หรือมีอาการฟกช้ำดำเขียว จะช่วยแก้อาการบอบช้ำได้ หรือจะใช้ใบสดนำมาตำใช้เป็นยาพอกก็ได้เช่นกัน (ใบ)
16. นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นที่ระบุว่า จอกช่วยแก้วัณโรค แก้อาการไอ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไฟลามทุ่ง ผื่นแดงคัน อาการบวมไม่ทราบสาเหตุ คั้นใบผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้แก้โรคเรื้อน (แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน และไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้และวิธีใช้แต่อย่างใด)

วิธีใช้สมุนไพรจอก
1. ใช้ภายใน ให้ใช้ต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาก็ได้ โดยใบสดที่นำมาใช้ทำยาควรเลือกใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และควรเก็บใบในหน้าร้อนถึงจะดี แล้วนำมาล้างให้สะอาด ตัดรากออกทั้งหมด นำมาตากให้แห้ง ซึ่งจะได้ใบแห้งที่มีรสเค็ม ฉุน และเย็น
2. ใช้เป็นยาภายนอก ให้นำใบสดมาตำแล้วพอกตามความต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นจอก
       ใบของต้นจอกสดจะมีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซีมาก มีคาร์โบไฮเดรต 2.6%, เส้นใย 0.9%, โปรตีน 1.4%, ไขมัน 0.3%, ความชื้น 92.9%, ธาตุแคลเซียม 0.20%, ธาตุฟอสฟอรัส 0.06%

ประโยชน์ของจอก
        นอกจากจะใช้เป็นพืชสมุนไพรแล้ว ชาวจีน อินเดีย และแอฟริกายังนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อรับประทานในยามขาดแคลนอีกด้วย โดยชาวจีนจะใช้ต้นอ่อนนำมาปรุงเป็นอาหาร (ตอนแรกจะไม่รู้รส แต่ต่อมาจะมีรสแสบร้อน)
        ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู เป็ด ปลา เป็นต้น
        ต้นจอกสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้
        ต้นนำมาใช้ปลูกประดับในอ่างเลี้ยงปลา เพื่อเป็นที่หลบบังให้กับปลาขนาดเล็กและลูกปลาได้

ข้อควรระวังในใช้สมุนไพรจอก
        ต้นจอกเป็นพรรณไม้ที่สามารถดูดสารที่มีพิษได้ดีมาก จึงควรตรวจสอบแหล่งน้ำก่อนว่ามีพิษหรือไม่ หากต้นจอกขึ้นอยู่ตามท้องน้ำที่เป็นพิษ หรือหากต้นมีรสขม ก็ไม่ควรนำมารับประทานเป็นอันขาด
        รากของต้นจอกมีพิษเล็กน้อย ก่อนนำมาใช้ต้องตัดรากออกให้หมดเสียก่อน และใบที่นำมาต้มควรล้างให้สะอาดก่อนการนำมาใช้ด้วย
        สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน

คำสำคัญ : จอก

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จอก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1591&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1591&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 16,186

จำปี

จำปี

จำปี (White Champaka) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จุ๋มปี๋ หรือจุมปี เป็นต้น อยู่ในวงศ์เดียวกับจำปี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย โดยสามารถแบ่งสปีชีส์ออกได้ประมาณ 50 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมสรรพคุณในต้นจำปีอีกมากมายที่ให้คุณประโยชน์และรักษาโรค อาการต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้เพื่อทำสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,674

บานเย็น

บานเย็น

บานเย็น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช โดยจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดงออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไว้กลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,836

พันงูขาว

พันงูขาว

ลักษณะทั่วไป   เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก   ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก  ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง  มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,818

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,882

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,927

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง มีอายุได้หลายปี ความสูงลำต้นประมาณ 30-95 เซนติเมตร มีรากเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นรูปทรงไข่ อวบและสั้น และมีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 2 ด้าน ส่วนเนื้อในของเหง้านั้นมีกลิ่นหอมฉุนแบบเฉพาะตัว สีเหลืองอมส้ม หรือเหลืองจำปาอมแสด เป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงเข้ม เหง้าเรียงตัวเป็นวงซ้อนทับกัน และดอกแทงออกมาจากเหง้ารูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อนๆ และส่วนผลมีด้วยกัน 3 พู เป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,361

สาเก

สาเก

สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,550

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,929

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ  ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ  ประกอบด้วยใบย่อย    3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง  ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก  4  กลีบ  สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว  ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,736