กันเกรา

กันเกรา

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 2,274

[16.4258401, 99.2157273, กันเกรา]

         กันเกรา (Anan, Tembusu) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกทำเสา หรือตำเสา ภาคอีสานเรียกมันปลา เขมรเรียกคาเครา มลายูเรียกต๋ามะซู และกบินทร์เรียกปันปลา เป็นต้น โดยต้นกันเกรานี้สามารถขึ้นได้ทั่วทุกภาคของไทย และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์อีกด้วย
 
ลักษณะทั่วไปของต้นกันเกรา
         กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เป็นใบเดี่ยวรูปทรงรี สีเขียวเข้ม โดยออกเรียงแบบตรงข้ามกัน ทั้งโคนและปลายแหลม ขอบและแผ่นใบเรียบ ส่วนเนื้อใบนั้นจะค่อนข้างเหนียว ซึ่งดอกกันเกรานั้นจะออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเมื่อเริ่มบาน แต่เมื่อบานเต็มที่จะกลายเป็นสีเหลืองอมส้ม และผลของกันเกรานั้นจะเป็นลักษณะทรงกลม รสขม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 8 เซนติเมตร ผลผิวเรียบ มีติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงปลาย ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เมื่อผลอ่อนจะเป็นสีเขียว พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก และสามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ประโยชน์และสรรพคุณของต้นกันเกรา
         แก่น – ช่วยในการบำรุงธาตุ บำรุงไขมัน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อนตามบริเวณผิวหนังและร่างกาย อีกทั้งช่วยแก้ไข้จับสั่น ริดสีดวงทวาร ท้องผูก หรือท้องมาน รวมทั้งแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับลม แก้ลมท้องมูกเลือด ตลอดจนบำรุงม้าม แก้โลหิตพิการ และมองคร่อหืดไอ (เสมหะที่ติดอยู่ในช่องหลอดลม) ถือเป็นยาอายุวัฒนะ ให้รสมันเมาและขม
         นอกจากนี้ กันเกรายังถือเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมขณะก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อช่วยเสริมสิริมงคลอีกด้วย เพราะต้นกันเกรานี้มีทั้งความสวยงามและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ตลอดจนชาวอีสานมักนำต้นกันเกรานี้มาบูชาพระ โดยเฉพาะในงานบุญบวชนาค เป็นต้น

คำสำคัญ : กันเกรา

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กันเกรา/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กันเกรา. สืบค้น 20 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1462&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1462&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หนาด

หนาด

ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,226

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ

หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,760

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,915

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,118

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,842

มหาหงส์

มหาหงส์

ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,323

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,860

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 16,898

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 8,506

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 9,968