สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 4,435
[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ]
ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือ เมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
1. หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้คัดลอกข้อความในหน้า 153-155 มาเสนอดังนี้ “เมื่อได้ตรวจเรื่องเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารเหนือแล้ว ก็ควรตรวจดูเรื่องราวของเมืองนั้น ที่มีอยู่ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสืบไป จำเดิมเริ่มที่จะกล่าวถึงเมืองสวรรคโลกในพงศาวดารกรุงเก่าก็มีอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ปรากฏอยู่ว่าในสมัยนั้นมีพระยาประเทศราชขึ้น 16 เมือง และเมืองสวรรคโลกเป็นเมืองประเทศราชเมืองหนึ่ง ต่อนี้มานามเมืองสวรรคโลกก็หายไปนาน แต่ใช่ว่าตัวเมืองนั้นจะวิบัติสูญไป เป็นแต่จะเรียกชื่อแปลกไปจนจำไม่ได้เท่านั้น คือ ข้าพเจ้าเชื่อตามความเห็นของท่านนักเลงโบราณคดีบางท่าน ว่าเมืองชากังราวที่กล่าวถึงในพงศาวดารกรุงเก่าเป็นหลายครั้งนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือเมืองสวรรคโลกนั่นเอง พิเคราะห์ดูตามข้อความในพงศาวดาร ซึ่งมีอยู่ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 3 ครั้ง คือจุลศักราช 735 ปีฉลู เบญจศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว พระยาชัยแก้ว พระยากำแหงเจ้าเมืองออกต่อรบพระยาชัยแก้วตาย แต่พระยกำแหงและไพร่พลหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็ยกกลับคืนพระนครนี่เป็นครั้งที่ 1 จุลศกัราช 738 ปีมะโรง อัฐศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว ได้พระยากำแหงกับท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวงไม่สำเร็จเลิกหนีไป ทัพหลวงตีทัพผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วก็เลิกทัพหลวงกลับพระนคร นี้เป็นครั้งที่ 2 จุลศักราช 740 ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ไปเอาชากังราวอีกเป็นครั้งที่ 3 ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบงัคม ตรวจดูกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ ได้ความงอกออกไปอีกว่าขุนหลวงพงั่วได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง 1 เป็นครั้งที่ 4 เมื่อจุลศกัราช 750 ปีมะโรง สัมฤทธิ์ศก ครั้งนี้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงพระประชวรหนักต้องเสด็จกลับ ตามข้อความเหล่านี้พึงเข้าใจได้อยู่แล้วว่า เมืองชากังราวมิใช่เมืองเล็กน้อย เป็นเมืองสำคัญอันหนึ่ง แต่เมื่อก่อนได้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐมานั้น ไม่มีผู้ใดเดาได้เลยว่าเมืองชากังราวคือเมืองใด อยู่แห่งหนตำบลใด มาได้หนทางเดาในพงศาวดารฉบับที่กล่าวแล้วนั้น คือแห่งหนึ่งมีข้อความกล่าวไว้ว่า “ศักราช 813 มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลยยกทัพกลับคืน” ดังนี้จึงเป็นเครื่องนำให้สันนิษฐานเมืองชากังราวนั้น คือเมืองสวรรคโลก เพราะปรากฏว่ามหาราช (เมืองเชียงใหม่) ได้ชากังราว แล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย ต้องเข้าใจว่าเป็นเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ถ้าจะนึกถึงทางที่เดินก็ดูถูกต้องดี แต่เหตุไฉนจึงเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่า ชากังราว ข้อนี้ยังแปลไม่ออก เมืองสวรรคโลกนี้ถึงแม้เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นแล้ว ใช่ว่าจะเสียอิสรภาพ ยังคงเป็นเมืองมีกษัตริย์ครองเรื่อยมา แม้พระมหาธรรมราชาได้ออกมาถวายบังคมขุนหลวงพะงั่วแล้ว เมืองก็ยังคงเป็นเมืองมีอิสรภาพอยู่ เพราะในสมัยนั้นไม่สู้จะฝักใฝ่ในเรื่องอาณาเขตนัก ต้องการแต่เรื่องคนเท่านั้น แต่วงศ์กษัตริย์ครองสวรรคโลกจะได้สูญไปเมื่อใดแน่ก็ไม่ปรากฏ” จากข้อความทั้งหมดที่คัดลอกมานั้น สรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรง วินิจฉัยในครั้งที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง 4 ครั้งนั้น หมายถึงเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลก
2. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ว่าได้ทรงยึดเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ได้ ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมาครอบครอง พระยาลิไทต้องยินยอมและต้องส่งบรรณาการเป็นอันมาก ในเวลาต่อมาพระยาลิไทได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้คืนเมืองพิษณุโลกให้กับพระยาลิไท ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเคยครองเมืองพิษณุโลกกลับไปครองเมืองสุพรรณบุรีตามเดิม พระยาลิไทครองเมืองพิษณุโลก ทรงตั้งพระมหาเทวีซึ่งเป็นขนิษฐาครองเมืองสุโขทัย และทรงตั้งติปัญญาอำมาตย์ (หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระยาญาณดิส) ครองเมืองกำแพงเพชร ในช่วงครองเมืองกำแพงเพชรอยู่นั้น พระยาญาณดิสได้ยินยอมให้พระมารดาไปเป็นมเหสีแก่สมเด็จพระบรมราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งขณะนั้นได้ครองกรุงศรีอยุธยา และพระมารดานั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปานของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) มาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
3. ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 576-579 มีข้อความสรุป ได้ว่า จุลศักราช 762 (พ.ศ.1943) ท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเคยหลบหนีเจ้าเมืองเชียงใหม่มา พึ่งพาพระยาญาณดิสที่เมืองกำแพงเพชร ไปนำทหารแปดหมื่นจากเชียงใหม่มาล้อมเมืองกำแพงเพชรไว้ให้พระสุคันธเถระเข้าเจรจาขอให้พระยาญาณดิสยอมถวายพระแก้วมรกตให้กับท้าวมหาพรหม พระยาญาณดิสเห็นจะสู้รบไม่ได้ จึงแต่งบรรณาการเครื่องช้างอย่างดีส่งไปถวายแด่ท้าวมหาพรหมขอเป็นทางราชไมตรีและยอมถวายพระแก้วมรกตให้ แต่ขอให้ท้าวมหาพรหมถอยทัพไปก่อนจึงจะส่งพระแก้วมรกตตามไปถวายภายหลัง เพราะว่ากองทัพจากกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระรามราชาธิราช กษตัริย์ องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) ยกทัพมาถึงปากน้ำโพแล้ว ถ้าเสด็จมาถึงก็จะไม่ได้พระแก้วมรกตไป ท้าวมหาพรหมจึงถอยทัพไปตั้ง ณ เมืองตาก ครั้นครบ 7 วัน พระเจ้าญาณดิสก็เชิญพระแก้วมรกตลงเรือ มอบให้พระสุคันธเถระไปถวายท้าวมหาพรหม จากหนังสือที่นำมาเสนอทั้ง 2 เรื่องนั้นสามารถที่จะกล่าวได้ว่า พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิสนั้น เป็นโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) และพระมารดานั้นเป็นมเหสีคนโปรดของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) จนสามารถขอพระแก้วมรกตมาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร ได้ นอกจากนั้นแล้ว พระปัญญาอำมาตย์หรือพระยาญาณดิส ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ไม่น้อยกว่า 30 ปีตั้งแต่ปลายสมัยพระยาลิไทจนถึงสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขนุหลวงพะงั่ว) ไม่เคยยกทัพมายึดเมืองกำแพงเพชรแต่อย่างใด
คำสำคัญ : สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1, ขุนหลวงพะงั่ว, กำแพงเพชร
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1304&code_db=610001&code_type=01
Google search
เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,060
เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,742
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,633
พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,917
กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 16,208
อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 17,209
พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,974
ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,415
เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,580
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,856