เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 4,103

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา]

           มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี และได้ให้ขุนหลวงพระงั่ว พระเชษฐาไปปกครองเมืองสุพรรณบุรี พุทธศักราช 1912 พระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวรราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทน แต่ในเวลาต่อมาก็จำต้องถวายราชสมบัติให้ขุนหลวงพระงั่ว พุทธศักราช 1913 ขุนหลวงพระงั่วได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1” นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการทำสงครามมาแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในขณะนั้นกรุงสุโขทัยมี พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะอ่อนแอมาก ประเทศราชต่างแข็งเมือง ทางกรุงสุโขทัยไม่สามารถไปตีคืนมาครอบครองเหมือนดังเดิมได้ พุทธศักราช 1915 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระองค์ทรงยกกองทัพเข้าตีแคว้นสุโขทัยตอนใต้ โดยยกกองทัพเข้าตีเมือง จำปา (ชัยนาท) ได้ก่อนแล้วยกทัพมาตั้งมั่นล้อมเมืองพระบางไว้ ซึ่งเมืองพระบางนั้นเป็นเมืองหน้าด่านตอนใต้ของสุโขทัย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำใหญ่มีเจ้าพระยาอนุมานวิจิตรเกษตร เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นมีเมืองในการปกครองอีก 4 เมือง คือ 
           1. เมืองไตรตรึงษ์ อยู่ทางเหนือเมืองพระบาง มีเจ้าพระยาอัษฎานุภาพ เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร)
           2. เมืองไพศาลี อยู่ทางทิศตะวันออก มีเจ้าพระยาราชมณฑป เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันคือบ้านหนองไผ่ ตำบลหนองไผ่ อำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์)
           3. เมืองการุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตก มีพระยาวิเศษสรไกร เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันคือ บ้านการุ้ง ตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี)
           4. เมืองจำปา อยู่ทางทิศใต้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดชัยนาท)
           เจ้าพระยาอนุมานวิจิตรเกษตร มีทหารเอกอยู่ 2 คน คนหนึ่งชื่อ สมบุญ อีกคนหนึ่งชื่อศรี  แต่ทว่าศรี ไปขึ้นกับฝ่ายกรุงศรีอยุธยา เพื่อหวังจะได้เป็นใหญ่ในพระบาง ทางด้านเมืองหน้าด่านของเมืองพระบางทั้งสาม (เว้นนครจำปาซึ่งถูกกรุงศรีอยุธยายึดไปแล้ว) จึงได้ยกทัพมาช่วยอยุธยาล้อมเมืองพระบางอยู่ถึง 5 เดือนเต็มแล้ว ศรี ผู้ทรยศ ก็สามารถนำกองทัพอยุธยาเข้าตีเมืองพระบางไว้ได้ เจ้าพระยาทั้งสี่พร้อมด้วยสมบุญ ทหารเอกถูกจับได้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ให้ทหารนำตัวเจ้าพระยาทั้งสี่และสมบุญเข้าเฝ้าพระองค์ตรัสว่า “เราได้ทราบว่าพวกท่านกล้าหาญและเข้มแข็งนัก เรายินดีที่ได้พบและรู้จักพวกท่าน เราต้องขอโทษที่ต้องเข้าตีเมืองพระบางเพราะเราเห็นว่าสุโขทัยนับวันจะเสื่อมโทรมลงเป็นช่องทางให้ข้าศึกศัตรูจู่โจมเข้ามาแย่งยื้อถือปกครอง เราจึงคิดรวบรวมไทยไว้ให้เป็นปึกแผ่นเราเห็นว่าพวกท่านทั้งห้าคนนี้เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญู มั่นอยู่ต่อพระเจ้าอยู่หัวของท่านยิ่งนัก ยากที่จะหาคนอย่างพวกท่านได้อีก เราจะขอให้ท่านรับราชการกับเราสืบไป” 
           พระยาอัษฎานุภาพ เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงกราบทูลว่า "นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แต่เสียใจ ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งห้านี้ ได้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงศ์สุโขทัยเสียแล้ว มิอาจอยู่ตากหน้า รับความสุขและลาภยศของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวของข้าพระพุทธเจ้ากำลังตกอับซ้ำ ข้าทั้งห้ากลับมาช่วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ชิงราชบัลลังก์" สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสตอบว่า "ท่านเข้าใจผิด เราตั้งใจไว้ว่าหากได้กรุงสุโขทัย เราจะไม่ทำให้กรุงสุโขทัยต้องเดือดร้อน คงให้ดำรงพระยศเป็นกษัตริย์ฝ่ายเหนือตามเดิมแต่รวมอยู่กับอยุธยา" พระยาราชมณฑป จึงกราบทูลต่อไปอีกว่า
          "จะมีประโยชน์อะไรที่จะต้องอยู่อย่างผู้แพ้ อยู่อย่างประเทศราช ข้าพระพุทธเจ้ารู้พระทัยของพระเจ้ากรุงสุโขทัยดีว่า พระองค์ไม่พึงปรารถนาที่จะให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยง ข้าพระพุทธเจ้าขอยืนยันว่าแม้แผ่นดินยัง ไม่กลบหน้าตราบใดแล้ว ก็ต้องหาทางกอบกู้กรุงสุโขทัยกลับคืนมาจนได้ และเมื่อนั้นเลือดไทยก็ต้องหลั่งกันอีก"          
           พระยาวิเศษสรไกร กล่าวเสริมว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอยืนยันว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่ปู่ย่าตายายมาถึงเจ็ดชั่วโคตร เคยแต่เป็นข้าของพระเจ้ากรุงสุโขทัยที่จะกลับมาเป็นข้าของอยุธยานั้นอย่าหมาย ชาวเหนือถือเป็นคติประจ้าสันดานว่าอยู่อย่างผู้แพ้ เมื่อแพ้แล้วอยู่ไปประเสริฐอย่างไรขอให้ประหารข้าพระพุทธเจ้าเสียเถิด "
           "อ้ายบุญก็เหมือนกัน อย่าต้องให้เป็นหมาสองรางอย่างอ้ายศรีเลย ขอให้พระองค์ชุบเลี้ยงอ้ายหมาหัวเน่าไว้เป็นข้าแต่ตัวเดียวเถิด" สมบุญ ทหารเอกพูดด้วยความโกรธแค้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้ฟังสมบุญพูดดังนั้นจึงตรัส ปลอบว่า
           "เจ้าสมบุญเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เราไทยด้วยกัน ค่อยพูดค่อยจากัน ออมชอมกันไว้ไม่ดีกว่า หรือ เป็นข้าคนไทยด้วยกันยังดีกว่าเป็นข้าของคนต่างด้าวท้าวต่างแดน แล้วเจ้าจะเอาอย่างไรต่อไป"                  
           " ไม่ยาก ข้าพระพุทธเจ้าขออย่างเดียว คือฆ่าพวกข้าพระพุทธเจ้าเสียให้หมด" สมบุญพูดด้วยใจเด็ดเดี่ยว สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสต่อไปว่า “เราจนใจเมื่อพวกท่านทั้งห้าต้องการเช่นนั้น แต่เราให้พวกท่านเลือกตายตามสมัครใจ"              
          สมบุญ กราบทูลว่า "สำหรับข้าพระพุทธเจ้าสมบุญทหารเอกเมืองพระบางเกิดที่หนองสาหร่าย เกิดที่ไหนก็อยากตายที่นั่น เอาร่างถมแผ่นดินมาตุภูมิ ขอให้เอาข้าพระพุทธเจ้าไปฆ่าเสียที่หนองสาหร่ายเถิดจะเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง"     
          สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสกับทหารทั้งหลายว่า "ทหารจงดูไว้เป็นเยี่ยงย่างจะหาคนที่ประเสริฐอย่างนี้ได้ยากมาก เพื่อให้ชาวพระบางมีใจระลึกถึงความดีงาม และวีรกรรมของเจ้าสมบุญ เราขอประกาศเปลี่ยนชื่อหนองสาหร่ายเสียใหม่ว่า "หนองสมบุญ " เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความกล้าหาญของสมบุญทหารเอกแห่งเมืองพระบางทหารพาสมบุญไปได้ "
          เจ้าพระยาอนุมานฯ จึงกราบทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่เป็นศิษย์สำนักเดียวกันต่างอยู่ยงคงกระพันไม่มีทางฆ่าพวกข้าพระพุทธเจ้า ได้ขอได้โปรดน้าพวกข้าพระพุทธเจ้าไปกดให้จมน้ำตายที่แม่น้ำหน้าเมืองนี้เถิด" สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เมื่อได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า "เราเสียดายท่านทั้งสี่ แต่เราก็จนใจในความตั้งใจของท่าน" แล้วจึงสั่งทหารให้น้าพระยาทั้งสี่ไปกดน้ำให้จมน้ำตายที่หน้าเมืองพระบางตามความประสงค์ก่อนตาย เจ้าพระยาทั้งสี่ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "ข้าแต่พระคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ ณ วังน้ำอันเยือกเย็นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่ได้เกิดมาในลุ่มอกแม่น้ำนี้ ลูกได้อาศัยดื่มกินมาชั่วลูกชั่วหลาน แม่มิได้เคยเหือดแห้ง บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่สิ้นวาสนา ขอฝากดวงวิญญาณแห่งชายชาติทหารกรุงสุโขทัยไว้กับพระแม่คงคา ด้วยเดชะความซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวทีของข้าฯ ขอให้แม่น้ำสายนี้จงอย่ามีวันใดเหือดแห้งจงเป็นสายธารชีวิตของชาวไทย ได้หล่อเลี้ยงพืชผลแห่งไร่นา พาเอาง้วนดินเหนืออันเกิดจากซากของผู้กล้าหาญที่ข้าหลั่งเลือดเนื้อปกป้องปฐพี ไปเป็นอาหารแห่งพืชที่แม่พระคงคาไหลผ่านไปขอให้ชาวไทยในลุ่มแม่น้ำสายนี้จงวัฒนาสถาพรตลอดชั่วฟ้าดินสลาย" แล้วแม่น้ำสายนี้ก็ปรากฏชื่อเรียกขานเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งวีรกรรมในความกล้าหาญและซื่อสัตย์ของเจ้าพระยาทั้งสี่ผู้ครองเมืองหน้าด่านตอนใต้ของสุโขทัยว่า "แม่น้ำเจ้าสี่พระยา " ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่บัดนี้กาลเวลาได้ผ่านมา 600 ปีเศษ ค้าว่า "สี่" ได้จางหายไป เหลือเพียงแต่ "เจ้าพระยา" เท่านั้น
           เรื่องราวเหล่านี้แม้จะเป็นต้านานหรือนิยายก็จริง แต่ส่วนหนึ่งได้บ่งบอกให้เห็นถึงร่องรอยตามความทรงจำเก่า ๆ ที่เล่าถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ซึ่งทำให้มีเค้าแห่งการตามรอยเข้าไปศึกษาได้อย่างไม่หลงทาง

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์, แม่น้ำเจ้าพระยา

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา. สืบค้น 16 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1324&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1324&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,429

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,089

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,845

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,319

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 637

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,413

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 706

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,246

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,563

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,610