พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 2,647

[16.3951069, 98.9529353, พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร]

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
            ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระราชทานไปประดิษฐาน ณ จังหวัดต่าง ๆ แทนธรรมเนียมการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา
            พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ
            ผงศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวมานี้ เป็นผงศักดิ์สิทธิ์ส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นวัตถุจากปูชนียสถาน หรือพระพุทธรูปที่ประชาชนเคารพบูชาแต่ละจังหวัด อันได้แก่ ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถาน ทองคำเปลวปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา น้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงพระมูรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
            ในเดือน มกราคมปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหล่อพระปางมารวิชัย ด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ขึ้นองค์หนึ่ง ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว มีฐานแบบฐานเขียง ซึ่งต่อมาโปรดให้ปรับฐานใหม่ เป็นฐานกลีบบัว และมีช่องพอสำหรับที่จะบรรจุพระพิมพ์ส่วนพระองค์ ได้ โดยวันที่ ๒๘ เมษายน ศกเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ช่างหล่อ หล่อพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย ตามต้นแบบที่สร้างด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ ทรงบรรจุพระพิมพ์ส่วนพระองค์ ไว้ที่ฐานบัวหงายด้านหน้า ขององค์พระพุทธรูป ที่หล่อโปรดให้หล่อขึ้น ๑๐๐ องค์ พระราชทานนามว่า พระพุทธนวราชบพิตร พระราชทานไปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด ทั่วพระราชอาณาจักรไทย เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญแก่ปวงชนชาวไทยยิ่ง
            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรแก่จังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นมงคล อย่างหาที่สุดมิได้ต่อชาวจังหวัดกำแพงเพชร
           ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธนวราชบพิตร ดังนี้
           ๑. เมื่อจังหวัดใดได้รับพระราชทานไปแล้ว ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นไว้ ณ ที่อันควรในศาลากลางจังหวัด
           ๒. เมื่อทางจังหวัดมีงานพิธีใด ๆ ซึ่งต้องตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานเป็นพระบูชาในพิธีนั้น ๆ ทั้งนี้ยกเว้นพิธีที่กระทำในโบสถ์ วิหาร หรือปูชนียสถานใด ๆ ซึ่งมีพระประธานหรือมีปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว และยกเว้นพิธีซึ่งต้องใช้พระพุทธรูปอื่นเป็นประธานโดยเฉพาะ เช่น พระพุทธคันธารราษฎร์
           ๓. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเพื่อทรงเป็นประธานพระราชพิธีหรือพิธีทางจังหวัดก็ดี ก็ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระราชพิธีและพิธีนั้น ๆ ทุกครั้ง หากพระราชพิธีหรือพิธีนั้น ๆ กระทำในพระอาราม หรือในปูชนียสถาน ซึ่งมีพระประธานหรือปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐาน ณ ที่บูชาเป็นต่างหากอีกที่หนึ่ง เพื่อทรงนมัสการ
           ๔. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัด ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา เพื่อทรงนมัสการในพลับพลาหรือที่ประทับซึ่งได้จัดไว้ ในกรณีนี้ หากท้องที่ที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นห่างไกลจากศาลากลางจังหวัด และเป็นที่ทุรกันดารไม่สะดวกแก่การคมนาคม หรือการเสด็จพระราชดำเนินนั้นเป็นการรีบด่วน หรือเพียงเป็นการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทางจังหวัดจะพิจารณาให้งดเสียก็ได้ ตามแต่จะเห็นควร
           ๕. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ จังหวัด ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา ในพลับพลาหรือในที่ประทับตลอดเวลาที่ประทับแรมอยู่ และให้อัญเชิญกลับไปยังศาลากลางจังหวัดเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ในการนี้ ให้กองมหาดเล็กปฏิบัติเช่นเดียวกับระเบียบแบบแผนที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับพระชัยนวโลหะประจำรัชกาล
           ๖. หากทางจังหวัดเห็นสมควรจะอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรออกให้ประชาชนได้นมัสการบูชาในงานเทศกาลใด ๆ ก็ให้กระทำได้ตามแต่จะเห็นควร อนึ่ง การปิดทองที่องค์พระพุทธรูปนั้น อาจทำให้พระพุทธรูปเสียความงามไปบ้าง ถ้าหากทางจังหวัดจะประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตรบนฐานซึ่งทำด้วยวัตถุอันอาจปิดทองได้อีกชั้นหนึ่งให้ประชาชนได้ปิดทองได้ ก็จะเป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น
           ปัจจุบัน พระพุทธนวราชบพิตรประจำจังหวัดกำแพงเพชร ประดิษฐานบนแท่นบูชา เหนือพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ภายในห้องนิรภัย ในความดูแลของสำนักงานคลังจังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญ ทรงคุณค่ายิ่ง เป็นที่เคารพสักการะ แก่ชาวกำแพงเพชรถ้วนทุกคน

คำสำคัญ : พระพุทธนวราชบพิตร

ที่มา : จดหมายเหตุกำแพงเพชร. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=470998570125679&id=305461816679356&__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1185&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1185&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,351

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,225

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,332

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,760

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,122

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 5,766

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,666

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,172

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,415

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,016