ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้ชม 3,284

[16.4258401, 99.2157273, ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร]

      อำเภอเมืองกำแพงเพชร จะเป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนนักสันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโซทัย เพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่า "พระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ. 1464 พอพระชนมได้ 16 พรรษา ก็ยกทัพขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญ มาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ" ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปะโบราณวัดถุที่เป็นศิลปะเชียงแสนยุคต้นให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ คือ สถูปทางด้านทิศใต้ของวัดพระแก้ว เป็นสถูปที่มีช้างล้อมมีช้างครึ่งตัวโผล่ออกมาเป็นช้างที่ไม่ทรงเครื่อง มีลักษณะเก่าแก่กว่าที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารวัดพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาก่อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย
      ในสมัยสุโขทัย เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอกหรือเมืองหน้าด่าน ซึ่งในสมัยนั้นเรียกเมืองชากังราว ยังมีเมืองนครชุมและเมืองซากังราว เป็นเมืองหลักหรือเป็นศูนย์กลาง มีเมืองบริวารโดยรอบทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือมีเมืองสุพรรณการะ (เชียงทอง) ปัจจุบันคือ ต.ลานดอกไม้ ทิศใต้มีเมืองเทพนครและคณที ปัจจุบันคือ ต.เทพนคร และ ต.คณที ทิศตะวันออกมีเมืองพาน (อยู่ในเขต ต.เขาคีริส อ.พร้านกระต่าย) ทิศตะวันตก เมืองโนนม่วง ปัจจุบันคือ บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 10 ต.นครชุม นอกจากนี้ยังมีเมืองบริวารอันประกอบไปด้วย เมืองแปป ตั้งอยู่เขต ตำบลนครชุม เมืองพังคา ตั้งอยู่เขตตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล เมืองโกสัมพี ตั้งอยู่เขตตำบลโกสัมพี และเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่เขตตำบลไตรตรึงษ์ ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า เดิมที่ตั้งของเมืองนี้ก็คือ "เมืองนครชุม" และ "เมืองชากังราว" จากศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 4 และจารึกเขาสุมนกูฎ หลักที่ 8 กล่าวไว้ว่า "เมืองกำแพงเพชร" มี ปรากฏเป็นครั้งแรกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอู่ทอง และคงใช้ชื่อ "กำแพงเพชร" เรียกชื่อบ้านเมืองนี้ตลอดมา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยนั้นยังมีพระยศเป็นพระยาตากได้รับการแด่งตั้งให้เป็นพระยาวชิรปราการให้มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งและอาณาเขต :
     
อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
             ทิศเหนือ        ติดต่อกับ อำเภอโกสัมพีนคร และ อำเภอพรานกระต่าย
             ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ อำเภอไทรงาม
             ทิศใต้           ติดต่อกับ อำเภอคลองขลุง และ อำเภอขาณุวรลักษบุรี
             ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ อำเภอคลองลาน
      พื้นที่ :  1,348.536 ตารางกิโลเมตร
      ประชากร :  213,181 คน (พ.ศ.2557)
      ความหนาแน่น :  158.08 คน / ตารางกิโลเมตร
      การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอเมืองกำแพงเพชร แบ่งพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ออกเป็น 16 ตำบล 215 หมู่บ้าน

สถานที่ที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร
     
วัดสว่างอารมณ์ (Sawang Arom Temple)
      ตั้งอยู่ 126 บ้านนครชุม หมู่ที่ 6 ถนนทางหลวงชนบท กพ.1015 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพง เพชร จากตัวอำเภอเมืองไปยังเส้นทางสู่ ต.นครชุม ขับเลยสถานีขนส่งไปเล็กน้อย จะมีทางแยกขวาเข้าวัดสว่างอารมณ์ บริเวณปากคลองสวนหมาก ห่างจากบ้านห้าง ร.5 (บ้านพะโป้) ประมาณ 500เมตร   วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบพม่าผสมไทย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยพ่อค้าชาวพม่า มีพื้นที่ 26 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินของเอกชน ทำไร่ ทิศใต้ ติดต่อกับคลองสวนหมาก ทิศตะวันออก ติดต่อกับคลองแยกมาจากแม่น้ำปิง ทิศตะวันตก ติดต่อกับคลองแม่ค้อ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่  พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มทีคลองล้อมรอบบริเวณวัด อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถ กว้าง 8.40 เมตร ยาว 14.64 เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน มีกำแพงวัดโดยรอบ ศาลาการเปรียญกว้าง 20.50 เมตร ยาว 48 เมตร สร้าง พ.ศ. 2526 สร้างด้วยคอนกรีต 2 ชั้น กุฎิสงฆ์ จำนวน 21 หลัง และอาคารเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับปูชนียวัตถุ พระประธานในอุโบสถ นอกจากนี้มีพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปหลวงพ่ออุโมงค์ และพระพุทธรูปหลายขนาดและปางต่างๆ ในวิหาร  ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร นามว่า “หลวงพ่ออุโมงค์” เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ จากการบอกเล่า พบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพง เพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นทางวัดยังมีเจดีย์ และวิหารที่ได้รับอิทธิพลจากทางเหนือตั้งอยู่ภายในวัด รวมถึงส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น ศาลาเก่าของวัดท่าหมัน ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อมหามงคลนิมิต พระพุทธรูปศิลปะพม่า และมณฑปแบบพม่าภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ
       บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป)(Phra Ruang Hot Spring (Bungsab ))
       ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก ถนนสายกำแพงเพชร - สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101) ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร (ช่วงระยะกม.ที่ 375-376) และแยกซ้ายมือไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือถนนสายบ้านหนองปลิงบ้านท่าไม้แดง โดยทางแยกเข้าบ่อน้ำพุห่าง จากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร และแยกขวามือไปอีก 5 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ 15 ไร่เศษ ลักษณะทั่วไป เป็นน้ำพุร้อนผุดขึ้นมาจากใต้ดินจำนวน 5 จุด มีความร้อนประมาณ 40 - 65 องศาเซลเซียส เป็นที่โจษขานว่าสามารถนำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล จากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่า ไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐานแต่อย่างใด   
       ในวโรกาส รัฐพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ในมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ได้มีการนำน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงไปร่วมพิธี ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ ถือเป็นการยืนยันความสำคัญของน้ำพุร้อนพระร่วงได้เป็นอย่างดี             
       การดำเนินการโครงการ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อแผนงานพัฒนาปรับปรุงบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ได้พิจารณาเห็นว่าบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงมีศักยภาพพอที่จะพัฒนา และปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดได้ กล่าวคือเป็นบ่อน้ำพุร้อนจากใต้ดินที่เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ปวดเมื่อยโรคผิวหนัง ฯลฯ ได้ ลักษณะเป็นบ่อโคลนสีดำขนาดรัศมี 50 เซนติเมตร อยู่ด้วยกัน 3 จุด ในบริเวณที่ไม่ ห่างไกลกันนัก ซึ่งจากคุณสมบัติและความเชื่อดังกล่าวสามารถจะดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และ ก่อสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวก เช่น สร้างบ่อน้ำห้องอาบน้ำ ห้องอบไอน้ำ ห้องน้ำ - ห้องสุขา ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้แก่ประชาชน และ นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มรายได้ ให้แก่ประชาชน และท้องถิ่นบริเวณโดยรอบในการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอาหาร และบริเวณต่างๆ แก่นักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการโครงการปรับปรุงพัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็น 2 ระยะ รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 14,477,177,70 บาท
       หอไตรวัดคูยาง (Ho Trai Wat Khu Yang)
       ตั้งอยู่ที่ถนนวิจิตร เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หอไตรนี้สร้างไว้กลางน้ำและมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันปลวกแมลงสาบและหนู เข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎก หนังสือ และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
       บ้านห้าง ร.5 (Papo House)หรือ บ้านพะโป้ ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 1078 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร ใกล้วัดสว่างอารมณ์ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก บริเวณเชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เสารับชายคาและลูกกรงกันตก กลึงให้ดูอ่อนช้อย เป็นบ้านของพะโป้ คหบดีชาวพม่าผู้ศรัทธาพระศาสนา ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5  ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงปี พ.ศ.2418 ได้ถึงแก่กรรม ต่อมา ปี พ.ศ.2429 พะโป้ได้เริ่มทำการค้าไม้ โดยตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นทำเลในการชักลากลำเลียงซุงไม้จากป่า ส่งลงไปยังเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ ที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนล่าง ด้วยความมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา พะโป้ และ พระยาตะก่า (พี่ชาย) ได้ร่วมกัน บูรณะองค์พระเจดีย์และยกยอดฉัตร วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ที่นครชุมแห่งนี้
       สิริจิตอุทยาน (Sirichit Park)
       เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย
       ตลาดกล้วยไข่ (Banana Market or Talat Kluai Khai)
       ตั้งอยู่ริมทางสายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ตรงกิโลเมตรที่ 343 มีเพิงขายกล้วยไข่ทั้งดิบและสุก กล้วยฉาบ+สินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=10&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=10&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,373

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,447

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 5,757

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,486

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,582

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,858

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,019

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,969

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 856

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,986