ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้ชม 2,554

[16.4737853, 99.6996718, ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า]

        พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น ตอนนี้โดนขโมยต้นไป 1 ต้น ลูกหลานพ่อมาอยู่ก็ได้บูชา กราบไหว้ บวงสรวงทุกบุญเดือน 6 ก่อนที่จะลงมือทำไร่นาทำการเกษตรกรรม เพราะว่าเป็นขวัญ เป็นกำลังใจ ให้พ่อปู่วังหว้าได้ดูแลพืชพรรณ ธัญหาร ให้พี่น้องชาวบ้านประชาชนอยู่ดีก่ินดี มีขวัญและกำลังใจ จึงมีการบวงสรวงในวันพุธ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ศาลพ่อปู่วังหว้าเรียกกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แตก่อนนี้คือวังหว้า เป็นหนองน้ำ (คลองวังหว้า หรือคลองวังกัน) เรียกตามชื่อคลอง ปัจจุบันได้มีการบูรณะหลังใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ให้กับสถานที่ทีคนไปบวงสรวง แต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นที่ของผู้ใหญ่แหลม ผู้ใหญ่ทา สีเห็ม ได้อุทิศให้เป็นที่สถิติ เป็นที่ส่วมรวม หมู่ 4 ศาลพ่อปู่วังหว้าเกิดก่อนประเพณีบุญบั้งไฟ แต่ก่อนสถานที่ตรงนี้ พม่าเคยมาตั้งทัพ รวบรวมเสบียงเพื่อจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

คำสำคัญ : ศาลพ่อปู่วังหว้า พ่อปู่วังหว้า

ที่มา : เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล. (2560). เส้นทางวัฒนธรรมไทยอีสาน. กำแพงเพชร: เทศบาลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1265&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1265&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,192

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,742

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

เรื่อง “ท้าวแสนปม” เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในระยะแรก ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรื่องมาจากหลายแหล่ง ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,525

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,617

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,425

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,265

ตำนานท้าวแสนปม

ตำนานท้าวแสนปม

ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา  ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 18,188

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,043

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

"พระร่วง" เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม มีนิสัยคะนองชอบเล่นเบี้ยเล่นว่าว เล่นไก่ เจ้าชู้ โดยไม่ถือ พระองค์ชอบเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารและเมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็มักจะเกิดเป็นตำนาน ขึ้นมากมาย กล่าวกันว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญญาธิการรู้ทั้ง บังเหลื่อมรู้จบไตรเทพวิทยาคม อีก ทั้งมีวาจาสิทธิ์ จากตำนานโบราณกล่าวว่า พระร่วงได้เดินทางมาถึงบริเวณเขาไก่เขี่ย พระองค์ ได้ไก่ป่าวตัวหนึ่งเมื่อเดินมาถึงบริเวณสถานที่ร่มรื่นพระองค์เกิดหิวจึงตั้งใจจะกินไก่ตัวนี้เสีย จึงได้สาป บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำพุร้อนเพื่อที่จะได้นำน้ำร้อนมาลวดไก่และถอนขนเมื่อถอนขน เสร็จไม่มี น้ำเย็น จึงสาปน้ำเย็นขึ้น จึงเกิดมีบ่อน้ำร้อน และน้ำเย็นขึ้นบริเวณใจ กลางบึงสาปนั้น หรือจากข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระองค์คงสาปน้ำร้อนน้ำเย็นเพื่อทำความสะอาดไก่หรือที่เรียกว่าให้น้ำไก่ แล้วพระองค์ก็ได้เดินทางต่อไปกลายเป็น "บ่อน้ำร้อนบึงสาป" เขาไก่เขี่ย ดังได้กล่าวแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 6,575

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

พระรังกับพระคงเป็นเพื่อนรักกัน พระรังบวชมานานแล้วแต่พระคงเพิ่งบวชยังไม่สามารถสวดมนต์ได้มากนัก วันหนึ่งเป็นวันพระ ญาติโยมมาทำบุญตามปกติ หลังฉันเสร็จเหลือส้มอยู่ 2 ลูก ลูกเล็กกับลูกใหญ่ พระรังให้พระคงหยิบก่อน พระคงหยิบลูกใหญ่ พระรังจึงต่อว่าว่า “แหม!! ไม่มีมารยาทเลย เอาลูกใหญ่ไปก่อน” พระคงถามว่า แล้วถ้าเป็นพระรังจะหยิบลูกไหน พระรังบอกว่า “ก็หยิบลูกเล็กซิ” พระคงตอบว่า “เห็นไหมละจะก่อนหลัง ฉันก็ได้ลูกใหญ่อยู่ดี” พอถึงตอนสวดให้พร พระรังนำสวดก่อนลงท้ายว่า “อายุ วรรโณ สุขัง พลัง” พระคงได้ยินดังนั้นก็สวดบ้าง “อายุ วรรโณ สุขัง พระคง” พระคงฟังไม่ถนัด ได้ยินคำว่าพลัง นึกว่าต้องเอาชื่อต่อท้าย (พระรัง) ก็เลยเอาชื่อตัวเองต่อท้ายบ้าง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,118